กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

1.นายสมศักดิ์ ปุรินทราภิบาล ประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร
2.นางสุกัญญา ขำยา รองประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร
3.นางหทัยพร ดำผ้าย เลขานุการชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร
4.นางจุไร นาคมิตร ประชาสัมพันธ์ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร
5.นางสุรีรัตน์ คงชู เหรัญญิก ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร

ห้องประชุมรพ.สต.บ้านต้นไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด จำนวน 93 คน ติดตามตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ก่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและก่อนรับประทานยาชงรางจืด(ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือด) รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 72 คน พบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 100
ครั้งที่ 2 หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและก่อนรับประทานยาชงรางจืด(ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือด)รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 53 คน พบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 83.02
ครั้งที่ 3 หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกหลังรับประทานยาชงรางจืด(ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือด)รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 50 คน พบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 66.00

66.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัยลดลง

66.00 61.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 77
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การป้องกันตนเองจากสารเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน และตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดกับประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การป้องกันตนเองจากสารเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน และตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดกับประชาชนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการรับประทานอาหารและสัมผัสสารเคมี การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองจากสารเคมีในกลุ่มเกษตรกร จำนวน 7 หมู่บ้าน หมู่ละ 11 คน รวมทั้งหมด 77 คน จัดอบรมจำนวน 1 รุ่น ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.30-16.00 น. และตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ตรวจโดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านต้นไทร ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.00-08.30 น. ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านต้นไทร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 2 x1.2 เมตร x 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ x 50 บาท x 77 คนเป็นเงิน 3,850 บาท
3.ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อ x 25 บาท x 77 คน เป็นเงิน 3,850 บาท
4.ค่าวิทยาการ จำนวน 6 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
5.ค่ากระดาษทดสอบสารเคมีในเลือด (กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส) และเข็มเจาะปลายนิ้ว ได้รับการสนับสนุนจาก รพ.สต.บ้านต้นไทร
6.ค่ายารางจืด (แคปซูล) จ่ายยารับประทานเพื่อลดสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 77 คน คนละ 14 แคปซูล กล่องละ 100 แคปซูล x 10 กล่อง x 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
รวมเงิน 13,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2567 ถึง 24 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรม จำนวน 77 คน ผลลัพธ์
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการการป้องกันตนเองจากสารเคมี ได้อย่้างถูกต้อง ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการใช้สารเคมี และบริโภคอาหารที่ปลอดภัย เพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น


>