กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านขาว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว

ตำบลบ้านขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีอัตราสูงขึ้นโดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ้งพบได้ประมาณ 5-10 % ของคนทั่วไป แต่จะพบมากในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมหรือพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสม
จากผลการปฏิบัติงานรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลบ้านขาว ในช่วง 3 ปี ย้อนหลังและจากการเยี่ยมบ้านและสำรวจชุมชน ใช้เครื่องมือประเมินภาวะเสี่ยงการเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวานของประชาชนตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลามีความสอดคล้องกันในเรื่องกลุ่มโรค กล่าวคือพบว่าโรคที่เป็นปัญหาอันดับต้นๆของประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านขาว คือโรคระบบไหลเวียนเลือด เบาหวาน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีความรู้และไม่เคยได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรค
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาวได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อจะช่วยลดอัตราการป่วยและการตายด้วยโรคเรื้อรังจึงได้จัดทำโครงการโครการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงขึ้นเพื่อเฝ้าระวังในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัตตน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม เพื่อป้องกันโรคและเมื่อคัดกรองพบผู้ป่วยจะได้ทำการส่งต่อเพื่อรับการรักษาตามระบบต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อการรักษาพยาบาลโดยเร็วที่สุด
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการจัดกิจกรรมเสริมทักษะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 70
0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยกับการปฏิบัติตนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้อย่างถูกต้อง
  • ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตน ในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 80
0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง (โดยแพทย์) และเหมาะสมตามระบบต่อไป
  • ผู้ที่พบความผิดปกติจากการคัดกรองได้รับการส่งต่อ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ร้อยละ 100
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่อง 3 อ 2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่อง 3 อ 2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ที่พบความผิดปกติจากการคัดกรองได้รับการส่งต่อ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
3. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตน ในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง


>