กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เด็กกำแพงวิทยาไร้พุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนกำแพงวิทยา

นางสาวจารี วุฒิมานพ โทร.089-977-3794
นางปณิตา สฤษฎีพีรพันธุ์ โทร.095-080-3648
นางจุฬัมพา หลงเก็ม โทร.062-087-0423 ผู้ประสานงานคนที่ 1
นายวรรณศักดิ์ สำเร โทร.061-021-8954 ผู้ประสานงานคนที่ 2
นางสาวภัสริน ล่องสว่าง โทร.095-453-6864

โรงเรียนกำแพงวิทยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเด็กอ้วนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยพฤติกรรมสุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พบว่า ในปีพ.ศ. 2559-2563 มีเด็กอ้วนเพิ่มขึ้นปีละ 4 ล้านคนสอดคล้องกับสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กไทยในฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560-2564 พบเด็กอ้วนสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเด็กสูงสมส่วน ยังต่ำกว่าค่าเป้าหมายและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และเด็กเตี้ยสูงกว่าค่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเป็นภัยคุกคามภาวะสุขภาพอนามัยของเด็กไทย ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนสู่ความเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อการบริโภคอาหารของครอบครัวและเด็กในวัยเรียนเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในเรื่องการบริโรคอาหารประเภทอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรรูป เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทันสมัย ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกฝ่ายควรใส่ใจและแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันอย่าง
จริงจัง จากการสํารวจข้อมูลสถานการณ์ปัญหาโรคอ้วนในเด็กไทยพบว่าเด็กไทยทุก ๆ ๕ คน ที่เป็นโรคอ้วน กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหืดหอบ โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งและโรคหัวใจ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นเด็กหญิงที่มีภาวะอ้วนจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ ประจำเดือนจะมาเร็วและกระดูกปิดเร็ว ทําให้สูงได้ไม่เต็มศักยภาพ จึงน่าเป็นห่วงว่าเด็กไทยรุ่นใหม่จะเตี้ยลงเรื่อย ๆ นอกจากนี้ภาวะโรคอ้วนยังมีผลกระทบต่อการเรียนของเด็กไทยอีกด้วยโดยพบว่าเด็กอ้วนส่วนมากมักมีปมด้อยจากรูปร่างของตัวเองและมักถูกเพื่อนๆ ล้อ ทําให้ไม่อยากไปโรงเรียนเบื่อหน่ายการเรียน ส่งผลให้การเรียนไม่ดีได้ จากข้อมูลในระบบ DMC (Data Management Center) พบว่านักเรียนชั้น ม.1 - ม.2 ทั้งหมดจำนวน 772 คน มีนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนทั้งหมด 82 คน คิดเป็น 10.62%
ดังนั้น โรงเรียนกำแพงวิทยา จึงดําเนินโครงการเด็กกำแพงวิทยาไร้พุงขึ้น เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนได้ตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพจากโรคอ้วนและร่วมมือแก้ไขปัญหาภาวะอ้วนส่งผลให้ให้นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วน สามารถดูแลป้องกันรักษาสุขภาพ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีเหมาะสมกับวัย เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและคนรอบข้างได้รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคตเพื่อเป็นกําลังสําคัญที่จะพัฒนาประเทศชาติสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ การออกกําลังกาย การบริโภคอาหาร
  1. ร้อยละ 90 นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ การออกกําลังกาย การบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น
  2. ร้อยละ 60 นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีค่าดัชนีมวลกายลดลง
60.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 82
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองนักเรียน 82

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชุมวางแผนคณะทำงาน

1.2 แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงานเพื่อคัดกรองประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2

1.3 คัดกรองประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2
กลุ่มเป้าหมาย

  • เด็กนักเรียนชั้นม.1-ม.2 จำนวน 82 คน

ใช้งบประมาณ

รายละเอียด

  • เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล วัดค่า BMI ได้ เครื่องละ 7,000 บาท จำนวน 1 เครื่อง รวมเป็นเงิน 7,000 บาท

  • จัดทำสมุดคู่มือเด็กกำแพงวิทยาไร้พุง จำนวน 82 เล่ม เล่มละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 4,920.00 บาท

รายการทั้งหมดถัวเฉลี่ยจ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบจำนวนนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11920.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงแนวทางการดําเนินกิจกรรมเด็กกำแพงวิทยาไร้พุงในกลุ่มผู้ปกครองและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะอ้วน และจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงแนวทางการดําเนินกิจกรรมเด็กกำแพงวิทยาไร้พุงในกลุ่มผู้ปกครองและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะอ้วน และจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ประสานงานเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลละงู

2 ดำเนินการประชุมชี้แจงแนวทางการดําเนินกิจกรรมเด็กกำแพงวิทยาไร้พุงในกลุ่มผู้ปกครอง และนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะอ้วน

3 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่และคณะครู จำนวน 200 คน

ใช้งบประมาณ

รายละเอียด

  • ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท คนละ 3 ชั่วโมง 2 คน เป็นเงิน 3,600.00 บาท

  • ค่าอาหารว่างนักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่และคณะครู จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 200 คน รวมเป็นเงิน 10,000.00 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่และคณะครู จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 65 บาท จำนวน 200 คนรวมเป็นเงิน 13,000.00 บาท

ค่าอุปกรณ์ประกอบการอบรม

1.ปากกา จำนวน 200 ด้าม ด้ามละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 2,000.00 บาท

2.กระดาษปรู๊ฟ จำนวน 20 แผ่น แผ่นละ 5 บาท รวมเป็นเงิน 100.00 บาท

3.ปากกาเมจิก จำนวน 20 ชุด ชุดละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 2,000.00 บาท

4.เทปหนังไก่ จำนวน 1 โหล โหลละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 300.00 บาท

5.ค่าไวนิลประกอบการอบรม ขนาด 2X5 เมตร รวมเป็นเงิน 2,000.00 บาท

รายการทั้งหมดถัวเฉลี่ยจ่าย

กำหนดการอบรม

08.00 - 08.30 ลงทะเบียน

08.30 - 10.00 บรรยายหัวข้อการใช้พลังงานของร่างกายในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันและออกกำลังกาย

10.00 - 10.30 พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 - 12.00 บรรยายหัวข้อผลของการออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ เพื่อการควบคุมน้ำหนัก

12.00 - 13.00 พักรับประทานอาหารเที่ยง

13.00 - 14.30 บรรยายหัวข้อโภชนาการเพื่อการควบคุมน้ำหนัก

14.30 - 15.00 พักรับประทานอาหารว่าง

15.00 - 16.30 บรรยายหัวข้อการจัดการอารมณ์แบะความคิดระหว่างการควบคุมน้ำหนัก

16.30 ทำแบบประเมินความพึงพอใจ

หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการร้านค้าและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะอ้วนมีความรู้เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเด็กไทยไร้พุง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเด็กไทยไร้พุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ควบคุมการบริโภคอาหารในแต่ละวันของนักเรียน โดยสมุดคุมการรับประทานอาหารมีลายเซ็นผู้ปกครองรับรองในแต่ละวันในการบริโภคอาหารที่บ้าน โดยใช้ความรู้หลังการอบรมมาเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง

  2. ดูแลกิจกรรมออกกำลังกายในแต่วันของนักเรียนโดยก่อนกลับบ้านนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการต้องออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 - 5 วัน ต้องมีลายเซ็นคุณครูผู้ควบคุมในสมุดคุมกิจกรรมเด็กกำแพงไร้พุง

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลเด็กกำแพงไร้พุง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลเด็กกำแพงไร้พุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ทำการสำรวจค่า BMI ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เด็กกำแพงไร้พุง ทุกๆ 1 เดือน เป็นเวลา 3 เดือน

  2. สรุปข้อมูลจากสมุดบันทึกข้อมูลเพื่อค้นหาเด็กกำแพงไร้พุงที่สามารถลดน้ำหนักได้ตามเวลาที่กำหนด

3.ถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

  • เด็กนักเรียนที่ภาวะโภชนาการเกิน

งบประมาณ

  • ไม่ใช่งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ การออกกําลังกาย การบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลและมอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลและมอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สรุปข้อมูลจากสมุดบันทึกข้อมูลเพื่อค้นหาเด็กกำแพงไร้พุงที่สามารถลดน้ำหนักได้ตามเวลาที่กำหนด

  2. จัดจ้างทำเกียรติบัตรแก่นักเรียนเข้าร่วมการอบรม (ใช้งบประมาณ 1,530.00 บาท)

  3. มอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

รายละเอียด

  • ค่าจ้างทำเกียรติบัตร จำนวน 102 แผ่น แผ่นละ 15 บาท รวมเป็นเงิน 1,530.00 บาท)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและคณะครูที่เข้าร่วมอบรมได้รับเกียรติบัตร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1530.00

กิจกรรมที่ 6 จัดทำรูปเล่มรายงานผล

ชื่อกิจกรรม
จัดทำรูปเล่มรายงานผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 จัดทำรูปเล่มรายงานผล

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เล่มโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,450.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหาร ผักผลไม้ที่มีประโยชน์ และปริมาณเหมาะสมกับร่างกาย
3. นักเรียนโรงเรียนกำแพงวิทยามีภาวะสุขภาพที่เหมาะสมตามวัย


>