กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเชิงรุกในชุมชน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์

หน่วยงานราชการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอำภร รอดบัวทองเจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

ตำบลลำสินธุ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

17.71
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

28.65

ภัยเงียบของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน รวมทั้งโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้คุกคามชีวิตของคนไทยจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการ และเสียชีวิต ตลอดจนเป็นภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตดังจะเห็นได้จากสถานบริการสาธารณสุขทั้งของภาครัฐ เอกชน และสถานบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สำหรับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามรายหัวประชากรจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายด้านยา บุคลากร การจัดสถานที่และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ในขณะที่งบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด
กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคดังกล่าวโดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ทั้งแบบสอบถามด้วยวาจา วัดความดันโลหิต การวัดรอบเอว และการเจาะเลือดหาน้ำตาลในเลือดโดยมีเป้าหมายประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกราย ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการโรคเพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นเพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง โดยมีเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 รวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย อันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้วลดลง
จากการดำเนินงานเมื่อปี งบประมาณ 2566 พบว่ากลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,645 คน ได้รับการคัดกรอง จำนวน 2,473 คน คิดเป็น 93.49 % และพบว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน 438 คน คิดเป็นร้อยละ 17.71นัดเจาะเลือดซ้ำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์ ทุก 1 เดือน จำนวน 205 คน ทุก 3 เดือน จำนวน 117 คน ทุก 6 เดือน จำนวน98 คน โดยได้ส่งต่อพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและตรวจชันสูตรต่อ จำนวน35 คน แพทย์ระบุว่าป่วยเป็นโรค เบาหวานจำนวน23คน และนัดคัดกรองซ้ำทุก 1 เดือนที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 39 คนจำนวนผู้ได้รับการคัดกรองมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 745คน นัดวัดความดันโลหิตซ้ำทุก 1 เดือน จำนวน 533 คน ส่งต่อพบแพทย์ จำนวน219 คนโดยแพทย์วินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 45 คน นัดซ้ำทุก 1 เดือน98 ราย นัดทุก 3 เดือน จำนวน42 ราย นัดทุก 6 เดือน จำนวน68 ราย และยังมีผู้ที่ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองในพื้นที่ แต่ไปตรวจคัดกรองที่คลินิกและโรงพยาบาลเอกชน 68 ราย จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อค้นหาโรคดังกล่าว ให้พบโรคและส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

17.71 15.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

28.65 25.12

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,856
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมของโครงการ

-ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะทำงานเข้าร่วมประชุม จำนวน 17 คน

2.มีแผนการดำเนินงานโครงการที่ชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยวาจาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยวาจาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่ อสม. สำรวจ และออกคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยวาจาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
1.ค่าจ้างสำเนาเอกสาร หนังสือเชิญตรวจ จำนวน 2,400 ใบๆละ 0.50 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

2.ค่าจ้างสำเนาเอกสาร แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด(หน้า-หลัง) จำนวน1,940 ใบๆละ 1 บาท เป็นเงิน1,940 บาท
3.ค่าจ้างสำเนาแบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงอายุ 20 – 34 ปี (หน้า-หลัง) จำนวน 1,080 ใบๆละ 1 บาท เป็นเงิน 1,080 บาท
4.ชุดตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 97 กล่องๆละ 200 บาท เป็นเงิน 19,400 บาท
5.ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุถ่านไฟฉายขนาด AA แพ็คละ 50 บาท จำนวน 90 แพ็ค เป็นเงิน 4,500 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 28,120 บาท ( สองหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยยี่สิบบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองด้วยวาจา จำนวน 3,856 คน

2.อสม.ปฎิบัติงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยวาจาจำนวน146คน

3.จนท.ปฏิบัติงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยวาจาจำนวน7คน

4.กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองได้อย่า่งทันท่วงที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28120.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง รุ่นที่ 1

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง รุ่นที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงรุ่นที่ 1 ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 70 คนค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรมและคณะทำงาน จำนวน77 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน3,850 บาท

2.ค่าอาหารกลางวันของผู้รับการอบรมและคณะทำงานจำนวน77 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาทรวมเป็นเงิน5,390บาท

3.ค่าจ้างจัดทำคู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน70เล่มๆละ 20 บาท รวมเป็นเงิน1,400บาท

4.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 วันๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน1,800 บาท

รวมเป็นเงินจำนวน12,440 บาท ( หนึ่งหมื่นสองพันสี่ร้อยสี่สิบบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 พฤษภาคม 2567 ถึง 7 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 70 คน

2.กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12440.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง รุ่นที่ 2

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง รุ่นที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงรุ่นที่ 2 ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 70 คนค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรมและคณะทำงาน จำนวน 77 คนๆละ2มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน3,850 บาท

2.ค่าอาการกลางวันผู้เข้ารับการอบรมและคณะทำงาน จำนวน 77 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาทเป็นเงิน 5,390 บาท

3.ค่าจ้างจัดทำคู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 70 เล่มๆละ 20 บาท เป็นเงิน1,400 บาท

4.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 วันๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

รวมเป็นเงินจำนวน 12,440บาท(หนึ่งหมื่นสองพันสี่ร้อนสี่สิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2567 ถึง 8 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 70 คน

2.กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12440.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข

-ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2567 ถึง 2 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้ารับการสรุปผลโครงการ จำนวน 17 คน
2.ได้รับผลการสรุปโครงการ แนวทาง แก้ไข ปัญหา เพื่อดำเนินการในปีต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการรักษา 100%
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 90
3. ประชาชนได้รับการเฝ้าระวังและคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ลดลงร้อยละ 40


>