กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการนักเรียนโรงเรียนร่วมจิตต์ประชา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

โรงเรียนร่วมจิตต์ประชา

โรงเรียนร่วมจิตต์ประชา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ระบุความหมายของการจัดการศึกษาว่าต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ดังนั้น การดูแลสุขภาพของเด็กในวัยเรียน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนต้องดำเนินการทั้งในแง่การให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติ การเสริมสร้างและการแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เรียน จากการประเมินภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ผลปรากฏว่านักเรียน มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 10.11 ภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 3.72 ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาที่มักก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆมากมาย จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเล็งเห็นถึงความสำคัญด้านโภชนาการสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ มีนํ้าหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย มีสขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง โรงเรียนร่วมจิตต์ประชา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ6 - 12 ปี

นักเรียนนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 6 - 12 ปี ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่า และเกินเกณฑ์

นักเรียนมีความตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์และเกินเกณฑ์ ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน

นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนและเพียงพอ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 52
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 29/02/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับกาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับกาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับกาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน จำนวน 6,810 รายละเอียด ดังนี้ - ค่าไวนิล ขนาด 100 ซม. x 250 ซม. x 300 บ.     เป็นเงิน 750 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 x 3 ชม.       เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อละ 25 บาท จำนวน 52 คน    เป็นเงิน 1,300 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 52 คน       เป็นเงิน 2,600 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์      - ปากกาเคมีสีน้ำเงิน ราคา 12 บาท จำนวน 6 แห่ง  ราคา 60 บาท      - ปากกาเคมีสีแดง ราคา 12 บาท จำนวน 6 แท่ง  ราคา 60 บาท      - กระดาษชาร์ทปกแข็ง ราคา 15 บาท จำนวน 6 แผ่น  ราคา 90 บาท      - การดาษ A4 Double A จำนวน 1 รีม   ราคา 150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6810.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอาหารเช้าเสริมสร้างโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอาหารเช้าเสริมสร้างโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอาหารเช้าเสริมสร้างโภชนาการ จำนวน 3,720 บาท รายละเอียด ดังนี้   - ค่าอาหารเช้า 8 มื้อ ๆ ละ 15 บาท จำนวน 31 คน เป็นเงิน 3,720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,530.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 6-12 ปี
2.นักเรียนมีความตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาภาวะโภชนาการตํ่ากว่าเกณฑ์และเกินเกณฑ์
3.นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนและเพียงพอ


>