กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเปียะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย. น้อย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเปียะ

กองสาธารณสุขและสิ่่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะ

โรงเรียนชุมชนวัดควนมีด โรงเรียนวัดช่องเขา และโรงเรียนบ้านควนหัวช้าง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หลักการณ์และเหตุผลเด็กที่อยู่ในวัยเรียนส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัยสักเท่าไรพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ

 

0.00

หลักการและเหตุผล
เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัย พฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจาก หลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบรีบเร่ง และเอาตัวรอดมากขึ้น มีสื่อประเภทต่างๆ เข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นผู้บริโภคอาจหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งต่างจากในอดีต ประชากรมักดำรงชีวิตแบบเอื้ออาทรอีกทั้งด้านการผลิต ยังคงใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่า รวมถึงมีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่างๆ ของผู้ผลิตยังไม่มากเช่นปัจจุบัน นอกจากนี้กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนโดยเฉพาะผู้เรียน อายุระหว่าง 12 – 18 ปีถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ หากกลุ่มเยาวชนดังกล่าวไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลายมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด แต่ก็ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณมีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตราย ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านดูข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปด้วย หากเยาวชนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนสามารถทำให้ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ลดน้อยลงได้พร้อมทั้งให้ความรู้ให้คำปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลทั่วไปได้อย่าง องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะจึงเกิดความสนใจที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรม อย.น้อย พร้อมทั้งขยายการจัดกิจกรรมต่างๆ ไปยังเครือข่ายผู้ปกครอง และชุมชนด้วย เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น โครงการอย.น้อย ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และเกิดทักษะ ในการเลือกซื้อเลือกใช้อาหารยา และเครื่องสำอางที่เป็นประโยชน์ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแกนนำ อย.น้อย ได้รู้จักการทำงานเป็นทีมการวางแผนในการปฏิบัติงานกล้าแสดงออกในการเผยแพร่ความรู้แก่ นักเรียนเครือข่าย อย.น้อย ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง และประชาชน ทั่วไปอย่างมั่นใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 280
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง 70

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 900 บาท
  2. ค่าไวนิล ขนาด 1.2X2.0 เมตร360 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1260.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดช่องเขา โรงเรียนชุมชนวัดควนมีด และโรงเรียนบ้านควนหัวช้าง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดช่องเขา โรงเรียนชุมชนวัดควนมีด และโรงเรียนบ้านควนหัวช้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากรกลุ่มโรงเรียนวัดช่องเขา 4 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200บาท
  2. ค่าวิทยากรกลุ่มโรงเรียนชุมชนวัดควนมีด 4 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200บาท
  3. ค่าวิทยากรกลุ่มโรงเรียนบ้านควนหัวช้าง 2 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  4. ค่าวัสดุสาธิต เช่น ปากกา สี กระดาษ เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่า ปากกา 100 แท่งๆ ละ 6 บาท เป็นเงิน600 บาท
    • ค่ากระดาษA4 2 ลังๆ ละ 900บาทเป็นเงิน 1800 บาท
    • ค่าสีเมจิก 10 กล่องๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  5. ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 คนๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหาร ยา และเครื่องสำอางได้อย่างถูกต้อง
  2. มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี โดยยึดหลัก บริโภคถูกหลักโภชนาการ ปราศจากสารปนเปื้อน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21600.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชุดตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถพิจารณาสังเกตสารปนเปื้อนหรือสารอันตรายโดยสังเกตจากลักษณะภายนอกทางกายภาพของอาหารและยาได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามสุ่มร้านอาหารในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามสุ่มร้านอาหารในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,860.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน อย. น้อยมีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้ัอง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว
2. นักเรียน อย. น้อย สามารถดำเนินกิจกรรม อย. น้อย ทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>