กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสายใยจากแม่สู่ลูก ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

0.00

หลักการและเหตุผล
การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรก ซึ่งการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับ การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้นซึ่งเป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบีรับผิดชอบ 4 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1 บ้านกะลูบี หมู่ที่ 2 บ้านยาเด๊ะ หมู่ที่ 5 บ้านไอร์จือเราะหมู่ที่ 7 บ้านไอปูลง จากการวิเคราะห์ข้อมูลการอนามัยของแม่และเด็ก 3 ปีย้อนหลังพบว่าการอนามัยแม่และเด็กอยู่ในเกณฑ์ต่ำจากข้อมูลสถิติย้อนหลัง 4 ปี ในปี ๒๕๖๒ ฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ ร้อยละ 77 ปี ๒๕๖๓ ฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ ร้อยละ 82 และปี ๒๕๖4 ฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ ร้อยละ 79.39 ปี ๒๕๖5 ฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ ร้อยละ 93.02ทั้งนี้เนื่องจากมารดามีพฤติกรรมอย่างเดิมๆ ประกอบกับแม่ขาดความรู้ความเข้าใจและประสบกับปัญหาในเรื่องต่าง ๆ เช่น การคลอดก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ภาวะเสี่ยงต่างๆและ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคจึงจำเป็นต้องเร่งรัดการพัฒนากลยุทธ์การอนามัยแม่และเด็กเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคและลดอัตราป่วยของแม่และลูก ในการดำเนินการเมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) เป้าหมายการพัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ซึ่งมีเป้าหมายร้อยละ 90 หญิงมีครรภ์ได้รับบริการดูแลก่อนคลอดและคลอดตามเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบีจึงจัดทำโครงการส่งเสริมอนามัยสายใยจากแม่สู่ลูกเพื่อจะก่อให้เกิดคุณภาพการบริการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ดำเนินชีวิตได้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ปรับวิถีชีวิตและดูแลตนเองให้ดำเนินไปได้ภายใต้ความผันแปรของช่วงพัฒนาการเพื่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คู่สมรสตระหนักถึงการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์ทันที

ในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้หญิงมีครรภ์ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน

อาสาสมัครสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
หญิงตั้งครรภ์/สามี 50 คู่ 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขั้นเตรียมการ 1.1  เขียนโครงการ ฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.2  ประชุมปรึกษาหารือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลมาโมงและโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพ ตำบลกะลูบี เพื่อหารูปแบบดำเนินการ 1.3 ประชาสัมพันธ์ให้หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของตำบลมาโมงและอาสาสมัครสาธารณสุข เข้าร่วมโครงการ 1.4 จัดเตรียมวัสดุเเละสิ่งของตามโครงการ
2. ขั้นตอนการดำเนินการ 2.1 ดำเนินการอบรมหญิงตั้งครรภ์และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ที่โรงพยาบาลส่งเสริม 2.1.1 สุขภาพตำบลกะลูบี จำนวน 100 คน 2.2 บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการอนามัยแม่และเด็กในเรื่อง 2.2.1 ความหมาย สาเหตุ อาการของการตั้งครรภ์ 2.2.2 วิธีการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์ 2.2.3 การเตรียมตัวสำหรับการคลอดและการดูแลตนเองหลังคลอด 2.2.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝากครรภ์ 2.2.5 ชมวีดิทัศน์เรื่องการดูแลให้นมบุตร 3. ขั้นตอนการประเมินผลโครงการ ประเมินผลจากผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อนและหลังการอบรม 4. สรุปผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 งบประมาณ

ชื่อกิจกรรม
งบประมาณ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหาร คนละ 60 บาท x 1 มื้อ x 100 คน เป็นจำนวนเงิน 6,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่าง คนละ 35 บาท x 1มื้อ x 100 คน เป็นจำนวนเงิน 3,500 บาท
  3. ค่าจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นจำนวนเงิน750 บาท 4.ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียนสำหรับการจัดอบรม 4.1.ได้แก่ สมุด ปากกา แฟ้ม ชุดละ 30 บาท x 100 คน เป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 หญิงมีครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบีได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
2 ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยและหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์
3 อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ช่วยกันค้นหา ติดตามและกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์
4 คู่สมรสตระหนักถึงการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์ทันที


>