กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะการว่ายน้ำเพื่อลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำแก่เด็กและเยาวชน
- การพัฒนาทักษะการดูแลส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กร่วมกับผู้ปกครองตามประเภทของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
- การพัฒนาทักษะการดูแลรักษาฟันอย่างถูกวิธีร่วมกับผู้ปกครอง
- การให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง วัคซีนตามหลักศาสนา
stars
แนวทางดำเนินงาน : การจัดระบบริการแบบใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การคัดกรองพัฒนาการเด็กเชิงรุก
- การส่งเสริมและแก้ปัญหาทุพโภชนาการด้วยอาหารเสริมและการจัดอาหารที่ถูกหลักโภชนาการกับเด็ก
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาระบบและกลไกด้านการดูแลแม่และเด็ก
label_important
วิธีการสำคัญ
- อสม.เฝ้าระวังและติดตามเด็กและเยาวชนที่ไม่รับวัคซีนตามกำหนด
- การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์แก่กลุ่มเยาวชนเพื่อเพิ่มภาวะความฉลาดทางอารมณ์(EQ)
- การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน
- การพัฒนาครอบครัวอบอุ่นต้นแบบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
- การจัดทำข้อมูลสถานการณ์เด็กและเยาวชน
- การร่วมกับชุมชนในการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะสำหรับเด็ก
label_important
วิธีการสำคัญ
- กำหนดกติกาหมู่บ้านหรือโรงเรียนเกี่ยวกับการจำหน่ายขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม เป็นต้น
- การกำหนดนโยบายหรือแผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาเพือแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- ให้ความรู้และแนะนำการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก และในศูนย์เด็กเล็ก
- ปรับสภาพแวดล้อมที่ลดปัญหาการระบาด เช่น การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้แก้วน้ำดื่มร่วมกัน เป็นต้น
- ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ปรับปรุงทำความสะอาดโรงเรียนเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป้องกันการระบาด
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นนักสูบรายใหม่ในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
โดยการ:
- คัดกรองและปรับพฤติกรรม
- พัฒนาศักยภาพแกนนำ
- จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังในชุมชน

วิธีการสำคัญ
1. ระบุกลุ่มเป้าหมายที่อาจกลายเป็นผู้สูบรายใหม่ของชุมชน เช่น เด็ก เยาวชน และสตรี ฯลฯ พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน เช่น บ้าน ชุมชน โรงเรียน
2. จัดตั้งทีมปฏิบัติการชุมชน เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน หรือ เสี่ยงที่จะเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้โดยง่าย
3. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
4. พัฒนาแกนนำ และเครือข่ายป้องกันระดับเยาวชน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมยาสูบ
5. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
6. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
7. ส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาของชุมชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยให้มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องการควบคุมยาสูบและการเลิกยาสูบ และสนับสนุนให้มีโครงการสร้างผู้นำนักศึกษาในด้านการควบคุมยาสูบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อส่งเสริมกลไกในการลดการเข้าถึงยาสูบ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการกลไกในการลดการเข้าถึงยาสูบ เช่น ร้านค้าชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียน และตัวแทนชุมชนที่จะร่วมมือกันควบคุมยาสูบในชุมชน
2. ส่งเสริมร้านค้าชุมชนให้มีการจดทะเบียนและปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ คือ
- กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
- ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่ ได้แก่
(1) วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
(2) สถานพยาบาลและร้านขายยา
(3) สถานศึกษาทุกระดับ
(4) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
- กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต
- ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรมซีเอสอาร์ อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองยาสูบ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น
- ห้ามแบ่งซองขายยาสูบเป็นรายมวน
- ให้เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบเป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท
- กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดยาสูบ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบ หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อจัดบริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ
label_important
วิธีการสำคัญ
บริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ เช่น
- กิจกรรมช่วยเลิกเชิงรุก
- คลินิกเคลื่อนที่
- คลินิกชุมชน
- และการติดตามอย่างต่อเนื่อง

โดยระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น
- ในกลุ่มสูบ
- กลุ่มต้องการเลิกสูบ
- และกลุ่มที่พยายามเลิกและยังเลิกไม่สำเร็จ

วิธีการ

1. การค้นหาและทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชน ผู้สูบที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
2. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน และการค้นหาผู้สูบที่ต้องการเลิกและการให้บริการช่วยเลิกยาสูบในชุมชน
3. การพัฒนาบุคลากรในชุมชนมาเป็นเครือข่ายช่วยเลิกยาสูบ หรือ การให้คำปรึกษา เช่น บุคลากรสาธารณสุข อสม. ครู ฯลฯ
4. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงานด้านการติดตามเยี่ยมเยียน ต่อผู้มารับบริการเลิกยาสูบให้สามารถเลิกได้สำเร็จ
5. การพัฒนากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเลิกยาสูบในชุมชน
6. การจัดบริการส่งต่อผู้สูบที่ไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
7. การจัดกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การหลีกเลี่ยงการทดลองสูบยาสูบ และการลดและเลิก การสูบยาสูบ และไม่ควรสูบยาสูบในที่สาธารณะ
8. การกำหนดระยะเวลาในการติดตามความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ชัดเจน เช่น 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน เพื่อประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสถานะของผู้สูบ เช่น ยังสูบอยู่ ลดปริมาณการสูบลง หรือ สามารถเลิกสูบได้แล้ว เป็นต้น
9. กำหนดวิธีการติดตามความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ชัดเจน เช่น เยี่ยมบ้าน โทรศัพท์ การส่งข้อความทางไลน์ หรือ เฟสบุ๊ค รวมทั้ง การใช้บริการผ่านอสม.เป็นต้น
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อพัฒนาทางเลือกในการช่วยเลิกยาสูบตามบริบทชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
(ระบุวิธีช่วยเลิกและกลุ่มเป้าหมาย)
- การเพิ่มจำนวนผู้เลิกสูบ
- การลดจำนวนผู้กลับมาสูบซ้ำ
- การลดปริมาณการสูบสำหรับผู้ที่สูบอยู่

วิธีการ

1. การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือกเพื่อช่วยเลิกยาสูบแบบอื่นๆ ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. สนับสนุนการสร้างกลุ่มอาชีพเสริมรายได้ครัวเรือนในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกยาสูบในชุมชน
3. ส่งเสริมการแพทย์แผนไทยให้มีบทบาทในการเลิกสูบยาสูบ เช่น
- การใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาว ทีถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติปี 2555 โดยมีฤทธิ์ทำให้ลิ้นฝาดและไม่อยากสูบยาสูบ
- การนวดกดจุดสะท้อนเท้า เน้นกดที่ตำแหน่งจุดสะท้อนไปยังส่วนของสมองเพื่อกระตุ้นให้หลั่งสารเคมีออกมา ทำให้ร่างกายอยากสูบยาสูบลดน้อยลงซึ่งเป็นการช่วยเลิกยาสูบโดยไม่ใช้ยา
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายโดยการสร้างและพัฒนามาตรการควบคุมยาสูบในระดับชุมชน สำหรับควบคุมการสูบและการจำหน่าย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. กำหนดนโยบายการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดการสูบยาสูบในชุมชน เช่น วัด มัสยิด สถานที่สาธารณะ
2. มีคณะกรรมการชุมชน ที่ทำหน้าที่กำหนดกฎ กติกา และมาตรการควบคุมยาสูบในชุมชน
3. การประกาศและการบังคับใช้ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมยาสูบในชุมชน ที่มีเงื่อนไขจากการได้ประโยชน์จากการปฏิบัติตามกฎ และ เสียประโยชน์จากการไม่ปฏิบัติตาม (การให้คุณให้โทษทางสังคม)
4. การสอดแทรกเรื่องยาสูบในทุกกิจกรรมของชุมชน เช่น การบรรยายทางศาสนา ธรรมเทศนา หรือ การอ่านคุตบะห์ในการละหมาดวันศุกร์
5. การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมยาสูบของชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบยาสูบโดยลดการสัมผัสควันยาสูบมือสอง
label_important
วิธีการสำคัญ
โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบในชุมชน
- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น มีนโยบายห้ามสูบยาสูบในอาคาร สถานที่ทำงาน และยานพาหนะสาธารณะ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคม เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เช่น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมต่อการสูบยาสูบ

วิธีการ

1. การประกาศนโยบายขยายเขตปลอดยาสูบในชุมชนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบยาสูบในทุกสถานที่ที่มีผู้คนชุมนุมกัน เช่น
- ตลาดนัดถนนคนเดินปลอดยาสูบ และ ร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ
- งานบุญงานประเพณีปลอดยาสูบ
- นโยบายครัวเรือนปลอดควันยาสูบ (smoke free home)
- การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของที่ทำงานให้ปราศจากการสูบยาสูบในอาคาร
2. กำหนดให้สถานที่สาธารณะที่ประกาศงดสูบยาสูบตามกฎหมายจะต้องปลอดการสูบยาสูบ 100% โดยการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดยาสูบ และแสดงอัตราโทษกรณีที่มีการละเมิด ได้แก่
2.1 สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพทุกประเภท
• คลินิก โรงพยาบาล รวมถึงสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
• คลินิก โรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงสถานพยาบาลสัตว์
• สถานีอนามัย สถานบริการสุขภาพทุกประเภท
• ร้านขายยา
• สถานประกอบกิจการนวดแผนไทย หรือแผนโบราณ
• สถานที่ให้บริการอบความร้อน อบไอน้ำ อบสมุนไพร
• สถานประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือกิจการนวดเพื่อความงาม
2.2 สถานศึกษา
• สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน
• โรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาระดับที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา
• สถานกวดวิชา สถานที่สอนกีฬา ดนตรี ขับร้อง การแสดง ศิลปะป้องกันตัว ศิลปะ ภาษาและอื่นๆ ศิลปะ ภาษาและอื่นๆ
• สถานฝึกอบรมอาชีพ
• อุทยานการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ หรือศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
• หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์สถาน หรือสถานที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรม
2.3 สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
• อัฒจันทร์หรือสถานที่ดูกีฬาทุกประเภท
• สถานที่ออกกำลังกาย ซ้อมกีฬา เล่นกีฬา หรือสนามแข่งขันกีฬาทุกประเภท ทั้งในร่มและกลางแจ้ง
• สระว่ายน้ำ
2.4 ร้านค้า สถานบริการ และสถานบันเทิง
• โรงมหรสพ โรงละคร โรงภาพยนตร์
• สถานที่จัดเลี้ยงทั้งหมด
• สถานบริการตามพระราชบัญญัติสถานบริการ
• สถานที่ให้บริการคาราโอเกะหรือสถานบันเทิงอื่นๆ
• สถานที่บริการคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หรือเกมส์
• สถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารและเครื่องดื่มที่มีระบบปรับอากาศ
• อาคารร้านค้าประเภทห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า
• สถานที่จำหน่าย แสดง จัดนิทรรศการสินค้าหรือบริการ
2.5 บริเวณโถงพักคอย และบริเวณทางเดินทั้งหมดภายในอาคาร
• โรงแรม รีสอร์ท หรือสถานที่พักตากอากาศ
• ห้องเช่า หอพัก อพาร์ทเมนต์ คอร์ท หรือสถานที่ที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน
• อาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม
2.6 สถานบริการทั่วไป
• อาคารหรือสถานที่ที่ใช้ในการจัดประชุม อบรม สัมมนาหรือ สันทนาการ
• ร้านตัดผม สถานเสริมความงาม ร้านตัดเสื้อผ้า
• ธนาคารหรือสถาบันการเงิน
2.7 สถานที่สาธารณะทั่วไป
• ห้องสมุด
• สุขา
• ตู้โทรศัพท์สาธารณะ หรือบริเวณที่ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
• ลิฟต์โดยสาร
• สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก
• สนามเด็กเล่น
• ตลาด
2.8 ยานพาหนะสาธารณะ ในขณะให้บริการไม่ว่าจะมีผู้โดยสารหรือไม่ก็ตาม
• รถโดยสารประจำทาง
• รถแท็กซี่
• รถไฟ รถราง
• รถตู้โดยสาร
• รถรับส่งนักเรียนหรือนิสิตนักศึกษาทุกประเภท
• ยานพาหนะโดยสารที่ใช้ในภารกิจที่เป็นลักษณะส่วนกลางของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งของเอกชน
• กระเช้าโดยสาร/เรือโดยสาร/เครื่องบิน
• ยานพาหนะโดยสารอื่นๆ ทั้งประเภทประจำทางและไม่ประจำทา
• สถานีขนส่งสาธารณะ และที่พักผู้โดยสาร
• ป้ายรถโดยสารประจำทาง และบริเวณที่ใช้รอก่อนหรือหลังการใช้บริการยานพาหนะโดยสารทุกประเภท
2.9 ศาสนสถาน /สถานปฏิบัติธรรมในศาสนาและนิกายต่างๆ
เช่น วัด มัสยิด โบสถ์ เป็นต้น
3. การประเมินติดตามผล และกำหนดมาตรการให้คุณให้โทษแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม หรือต่อผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารข้อมูลยาสูบในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
เน้นการตื่นรู้ของชุมชนให้รู้เท่าทันพิษภัยยาสูบและกลยุทธ์อุตสาหกรรมยาสูบ (ระบุ รูปแบบการสร้างกระแส/พัฒนารูปแบบการสื่อสาร/ชุดทดลองอันตรายจากยาสูบ ฯลฯ)

วิธีการ

1. กิจกรรมการสร้างกระแสรณรงค์ตามช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสาย รายการวิทยุชุมชน
2. พัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับการรณรงค์ทางสังคมให้เกิดการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมการไม่สูบยาสูบ
3. การสร้างสื่อเชิงประจักษ์ เช่น ชุดทดลอง/อุปกรณ์สาธิตอันตรายจากยาสูบ
4. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านยาสูบและสุขภาพของชุมชน เช่น สถิติการป่วย-การตายของประชากรในชุมชน สถิติอุบัติการณ์ความชุกโรคไม่ติดต่อและพิการ และจัดให้มีการสะท้อนข้อมูลเหล่านี้สู่ชุมชน เพื่อร่วมกันควบคุมแก้ไขปัญหา
5. ส่งเสริมการผลิตสื่อหรือการละเล่นในชุมชน เช่น หนังตะลุง มโนราห์ ที่เน้นการให้ความรู้ การชี้แนะ (Advocate) ของพิษภัยยาสูบต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อเพิ่มผู้ขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบในระดับพื้นที่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านท้องถิ่น ในระดับตำบล หมู่บ้าน เช่น ในรูปของกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้ไม่สูบยาสูบ ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมปอดสะอาด
2. ส่งเสริมให้กลุ่ม / ชมรม เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน และกลุ่มอาสาเฝ้าระวังยาสูบในชุมชน
3. จัดประชุมกลุ่มเพื่อนำเสนอปัญหาและหาทางแก้ไข ประจำสัปดาห์ /เดือน
4. การเสวนาระดับท้องถิ่น / ชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกัน
5. จัดโปรแกรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเลิกสูบยาสูบ หรือค่ายเลิกยาสูบโดยชุมชน
6. ส่งเสริมให้กลุ่ม / ชมรม / สมาคม องค์กรเอกชนต่างๆ ในชุมชน มีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ เช่น เวทีสมัชชาสุขภาพของจังหวัด
7. ส่งเสริมการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของกลุ่มคนทำงานด้านการควบคุมยาสูบที่ทำงานในระดับพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยการสร้างพื้นที่และบุคคลต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชนแบบครบวงจร
label_important
วิธีการสำคัญ
• ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
• หอชุมชนแสดงรางวัลเชิดชูเกียรติ (บุคคลต้นแบบ และพื้นที่ต้นแบบ)
• กลุ่มเยาวชนแกนนำในการขับเคลื่อน
• ทำเนียบบุคคลต้นแบบด้านการ ลด ละ เลิกยาสูบ
• แหล่งรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ

วิธีการ

1. การกำหนดความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมร่วมกันของชุมชน (mindset) ว่า ยาสูบในชุมชนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้
2. การสร้างทีมปฏิบัติการชุมชนแบบบูรณาการ ที่ประกอบด้วย ผู้บังคับใช้กฎหมาย เช่น ตำรวจ ผู้นำศาสนา ผู้นำทางศรัทธา เช่น เจ้าอาวาส พระ ปราชญ์ในหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ผู้แทนในระดับท้องถิ่น หน่วยบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการด้านสุขภาพในท้องถิ่น และ ตัวแทนสมาคม ชมรม ต่างๆ ในชุมชน เป็นต้น
3. การสำรวจทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบในชุมชน เช่น
• ด้านการบริหารงานโครงการ โดยเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถในการขับเคลื่อนบริหารจัดการโครงการ
• ด้านแกนนำชุมชน เป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและเป็นผู้ที่มีความสามารถกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนได้
• ด้านผู้นำด้านสุขภาพ เป็นแกนนำในการหาข้อมูลเชิงลึก การลงพื้นที่ การประสานงานโดยตรงกับประชาชน
• ด้านศาสนาเป็นบุคคลที่มีเป็นผู้นำการสั่งสอน ให้รู้ถึงศีลธรรม วัฒนธรรมอันดี เพื่อโน้นน้าวจิตใจของประชาชน โดยมีศาสนาเป็นสื่อนำ
• ด้านการศึกษา โดยเป็นแกนนำที่คอยสนับสนุนและส่งเสริมด้านการศึกษา ให้ความรู้แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไปได้
• กลุ่มทางสังคม องค์กรชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ สภาเด็กและเยาวชน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชมรมคนพิการ
4. การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้ม สภาพปัญหาและความต้องการควบคุมการบริโภคยาสูบของพื้นที่ เพื่อประเมินสภาพชุมชนร่วมกันว่ามีกิจกรรมดำเนินงานเพื่อการจัดการและควบคุมยาสูบในชุมชนหรือไม่ เช่น
• ในชุมชนมีหน่วยบริการสุขภาพที่มีระบบบริการช่วยเลิกยาสูบหรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีการประเมินการบริโภคยาสูบของประชาชนหรือไม่
• ในชุมชนมีการคัดกรอง การประเมินการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่
• ในชุมชนมีการให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับโทษของการบริโภคยาสูบและการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่
• ในชุมชนมีระบบส่งต่อผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรหรือการบริการของชุมชนสำหรับการหยุดบริโภคยาสูบหรือไม่
• ในชุมชนมีบุคคลหรือพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบหรือไม่
5. กำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการปัญหาการบริโภคยาสูบในเขตของพื้นที่รับผิดชอบ เช่น
• การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน
• เน้นการศึกษาให้รู้ข้อมูล/ความจริง
• การทำงานเชิงรุกแทนการตั้งรับ
• คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องรอบด้าน
• มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและเป็นระบบ
• ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันดำเนินงาน
6. การต่อยอดให้เป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบของชุมชน ที่อาศัยทั้ง
(1) นักบริหาร
(2) นักวิชาการชุมชนท้องถิ่น
(3) นักจัดการและนักจัดกระบวนการชุมชน
(4) นักจัดการข้อมูล และ
(5) นักสื่อสารสุขภาพในชุมชน
7. ติดตามอย่างต่อเนื่องและเสริมพลังอำนาจของทุกฝ่าย
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 1 การป้องกัน การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่
1.1 เผยแพร่สื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ ให้เข้าถึงประชาชนในชุมชน เช่น สื่อเอกสารจากเว็บไซต์ หนังสั้น คลิป ที่เป็นสื่อเข้าใจง่าย เป็นภาษาท้องถิ่น และคนทั่วไปเข้าใจง่ายนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
1.2 ประชาสัมพันธ์ดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ ผ่านการจัดรายการวิทยุชุมชน การใช้เสียงตามสาย เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้คนทั่วไปได้ตระหนักในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่ออุบัติใหม่
1.3 เผยแพร่คู่มือคำแนะนำในการจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่ แจกจ่ายตามสถานที่ ได้แก่ คู่มือการป้องกันและจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่ ในที่สาธารณะ ในศาสนสถาน ในบ้าน ในชุมชน และในกรณีการจัดงานพิธีต่างๆ เช่น งานศพ
1.4 เผยแพร่สื่อคู่มือ โปสเตอร์ สำหรับประชาชน โดยใช้ภาษาท้องถิ่น เข้าใจง่าย ในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น การล้างมือ 7 ท่า นานอย่างน้อย 20 วินาที การใส่-ถอดหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การผลิตหน้ากากผ้า การสังเกตอาการเบื้องต้นและการตัดสินใจไปพบแพทย์ การปฏิบัติตนเมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง การจัดการขยะอุปกรณ์ปนเปื้อน เช่น หน้ากากอนามัย สำหรับชุมชน
1.5 เผยแพร่คู่มือ สื่อ การป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ตามหลักศาสนา การเยียวยาจิตใจในผู้ป่วยผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
1.6 สร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิดการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ให้รับประทานอาหารครบห้าหมู่ มีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ เข้มงวดในการสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ ทุกครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง รวมทั้งการงดเหล้าและบุหรี่
1.7 รณรงค์ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในบ้านที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มวัย การลดเหล้าหรือบุหรี่ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิต้านทาน ผ่านสื่อออนไลน์
1.8 เตรียมความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเมื่อมีการเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ป่วย
1.9 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคทั้งระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน การจัดทำหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ รวมทั้งการทำความสะอาดบ้านและพื้นที่ที่มีคนใช้บ่อย ด้วยน้ำยาซักผ้าขาว ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เท่ากับแอลกอฮอล์ 70%
1.10 พัฒนาระบบแอพลิเคชัน เว็ปเพจการซื้อขายสินค้าออนไลน์ การควบคุมราคา และมาตรฐานคุณภาพสินค้าด้านโภชนาการ
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่
2.1 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ทีม อสม. ชรบ. อปพร. ให้มีทักษะที่จำเป็น เช่น การวัดไข้ การสังเกตอาการป่วยเบื้องต้น การให้คำปรึกษาแนะนำคนในชุมชนต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และการสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ เพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยโดยไม่แบ่งแยก
2.2 จัดทำระบบการส่งต่อผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ให้ถึงมือแพทย์เร็วที่สุด โดยเริ่มจากผู้ป่วยเริ่มสงสัยตัวเองและไปพบแพทย์ การจัดการรถรับส่งในกรณีผู้ป่วยที่เดินทางลำบากไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือไม่มีญาติพี่น้อง
2.3 พัฒนาศักยภาพเยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไปจัดทำสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น การทำคลิปวิดีโอ การจัดการประชุมออนไลน์ เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้
2.4 อบรมเชิงปฏิบัติการให้เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเตรียมการเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในช่วงโรคติดต่ออุบัติใหม่ เรื่องการเพาะพันธุ์พืชผักเพื่อปลูกไว้รับประทานเอง การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การแปรรูปสินค้าและอาหารสด การถนอมอาหาร และการเตรียมให้มีอาหารไว้ในครัวเรือน การทำอาชีพเสริม รวมทั้งการจัดการด้านการเงินในระดับครัวเรือนและชุมชน
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 การจัดเตรียมสถานที่กลางในหมู่บ้านหรือตำบล หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะเป็นห้องพัก เช่น โรงแรม รีสอร์ท ที่สมัครใจเข้าร่วม เพื่อกักตัวกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด
3.2 การจัดตั้งครัวกลางในการช่วยเหลือด้านอาหารในช่วงการกักตัวอยู่บ้าน
3.3 การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ห้องน้ำสาธารณะ ศาสนสถาน เพื่อฆ่าเชื้อโรค และจัดตั้งเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรืออ่างล้างมือและสบู่ไว้ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง
3.4 การปรับรูปแบบตลาด แหล่งจำหน่ายสินค้า ให้มีระยะห่างของร้านค้า ผู้ขาย-ผู้ซื้อ อย่างน้อย 1-2 เมตร สร้างวินัยการมีระยะห่างเข้าแถวซื้อสินค้า วัดไข้ก่อนเข้าตลาด หรือจัดทำตลาดออนไลน์
3.5 สร้างความมั่นคงทางอาหาร จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชและข้าว เพื่อรักษาพันธุกรรมพืชท้องถิ่น จัดตั้งธนาคารปู ธนาคารปลา เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ
3.5 การหาจิตอาสา ที่สมัครใจในการช่วยเหลืองานโรคติดต่ออุบัติใหม่ และการบริจาคอาหาร อุปกรณ์ สิ่งของที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนคนทำงาน กลุ่มเปราะบาง ผู้ยากจน
3.6 จัดทำโครงการ matching model (การพัฒนาระบบตลาดครบวงจร) จับคู่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค ช่วยพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพ การจำหน่ายที่ได้ราคา จัดทำตลาดกลางในหมู่บ้านเป็นแหล่งกระจายสินค้า
3.7 พัฒนาศักยภาพแกนนำ คณะกรรมการกองทุนฯ ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร การประชุมออนไลน์
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่
4.1 จัดทำข้อตกลง ธรรมนูญ มาตรการชุมชน ที่คนในชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมทั้งมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด ในช่วงโรคติดต่ออุบัติใหม่
4.2 จัดทำแผนฟื้นฟูชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
4.3 ทบทวนกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือในช่วงที่ไม่มีรายได้ และพักชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนในชุมชน
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่
5.1 สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงาน ผู้นำชุมชน อสม. อาสาสมัครจิตอาสา จัดตั้งเป็นคณะกรรมการเฝ้าระวัง คัดกรอง และติดตามค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน
5.2 สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย และผู้สัมผัสเพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่
5.3 จัดทำแผนชุมชนในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่
5.4 สร้างหรือพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน ทั้งด้านการเฝ้าระวังการระบาด การสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน เช่น ระบบแอพฯ NIEMS-Care เพื่อเฝ้าระวังการระบาดระดับครัวเรือน โดยประชาชนรายงานสถานะสุขภาพประจำวัน ทีมตำบลสามารถเห็นข้อมูลครัวเรือนว่าอยู่ในสถานะเขียว เหลือง ส้ม แดง ระบบแอพฯ greens mile เพื่อใช้เป็นข้อมูลกลางของเกษตรกรที่ทำเรื่องอาหารปลอดภัย เก็บข้อมูลร่วมกัน ดูข้อมูลร่วมกัน วางแผนการผลิตร่วมกัน รวมทั้งใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนผลผลิตกับพื้นที่ที่อยู่ในโซนใกล้เคียงกัน
5.5 สนับสนุนกลไกทางศาสนา เช่น ชมรมอิหม่ามระดับอำเภอ ในการตีความและสื่อสารนโยบายต่างๆ มาตรการใช้หลักศาสนา คำสั่งจากทางจังหวัด และสำนักจุฬาราชมนตรี สำนักอิสลามประจำจังหวัด ในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ ลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ เช่น การประกาศขอความร่วมมือในการงดละหมาดวันศุกร์ งดการละหมาดในช่วงรอมฏอน
5.6. การสร้างเครือข่าย อสม.เพื่อจัดส่งยารักษาต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
5.7 การสร้างระบบบริการส่งต่อผู้ป่วยโรคไตเพื่อการเข้าถึงการฟอกไต
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 2 การแก้ ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
1.1 เผยแพร่ข้อมูลโรคติดต่ออุบัติใหม่ เกี่ยวกับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อาการ กลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการคัดกรอง การปฏิบัติตนขณะป่วย พฤติกรรมที่ควรเลี่ยง พฤติกรรมที่ต้องปฏิบัติ การกักตัว การรักษา เพื่อให้คนในชุมชนรับรู้ ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก อาจเผยแพร่โดยกลุ่ม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์ชุมชน/รถแห่
1.2 เผยแพร่ความรู้แก่คนที่ไม่เป็นโรค ในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายแล้ว (ไม่ตื่นตระหนก และไม่แสดงออกถึงการรังเกียจ) โดยทีม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์/รถแห่
1.3 สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน ต่อการเข้ามาของคนที่มาจากพื้นที่เสี่ยงสูงแล้วต้องมากักตัวในพื้นที่ ไม่ให้รังเกียจหรือต่อต้านการเข้าพื้นที่ อาจใช้การประชุมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้และรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของคนในชุมชนด้วย
1.4 สร้างความเข้าใจกับครอบครัวที่มีสมาชิกเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง ต่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เช่น การให้คนที่เดินทางมาได้กักตัว การเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับใช้ส่วนตัว โดยทีม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์
1.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศพแก่ญาติ กรณีมีการเสียชีวิตด้วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ กลุ่มอสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
2.1 จัดกระบวนการให้กลุ่ม หน่วยงานต่างๆ มีแผนมีโครงการควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมทั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด ในช่วงโรคติดต่ออุบัติใหม่
2.2 ในการทำโครงการให้มีกระบวนการเก็บข้อมูล วางแผนโดยใช้ข้อมูล นำแผนสู่การปฏิบัติ มีการติดตามประเมินผล (PDCA)
2.3 ให้ความรู้และสนับสนุนต่อแกนนำ/กลุ่ม ให้มีทักษะในการเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 ใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นผ่านการโทรศัพท์ การสื่อสารทางไลน์ แทนการติดต่อแบบเผชิญหน้า เพื่อสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่
3.2 การทำกิจกรรมร่วมกันผ่านสื่อต่างๆ เช่น ออกกำลังกายร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ รับประทานอาหารร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ (Zoom, facebook live, Line, chat)
3.3 ระดมทุนในชุมชนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงที่ถูกกักตัวและผู้ป่วยขณะถูกกักโรค
3.4 ชุมชนให้การช่วยเหลือ ดูแล และเอาใจใส่ครอบครัวที่พบผู้ติดเชื้อโรคติดต่ออุบัติใหม่ ตามความเหมาะสม
3.5 จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยเพื่อลดความเครียดขณะรักษาตัว เช่น การมีกิจกรรมทางกายที่เอื้อต่อผู้ป่วยที่ถูกกักตัวพร้อมๆ กันผ่านการวิดีโอคอล การเปิดกลุ่มสนทนา การประสานให้ญาติที่ไม่เก่งด้านเทคโนโลยีได้คุยกับผู้ป่วย ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อลดความเครียดและสร้างกำลังใจ
3.6 ชุมชนช่วยกันจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ แจกจ่ายคนในพื้นที่ให้เพียงพอ เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ
3.9 รับสมัครจิตอาสาในการดูแลผู้ถูกกักตัว รวมทั้งการระดมทุน รับบริจาคอาหารเพื่อคนยากลำบากที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหาร จากผลกระทบจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ ในรูปการตั้งโรงทาน ตู้ปันสุข ในชุมชน
3.10 การทำความสะอาดสถานที่เสี่ยงต่อการมีโรคติดต่ออุบัติใหม่ ในชุมชน เช่น ตลาดนัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล รวมทั้งการกำจัดขยะที่อาจปนเปื้อนโรคติดต่ออุบัติใหม่
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
4.1 สร้างข้อตกลง ความร่วมมือในการงดกิจกรรมการรวมตัว
4.2 สร้างมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ในกรณีงานชุมชน งานประเพณีตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่ (New normal)
4.3 สร้างข้อตกลงกับโรงเรียน/ที่ทำงานในชุมชน หยุดเรียน/หยุดงาน/อนุญาตให้กลุ่มเสี่ยง Work form Home ได้
4.4 สร้างข้อตกลงในการรวมกลุ่ม ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกคน และจัดสถานที่นั่งให้ห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร และมีเจลล้างมือบริการ
4.5 มาตรการให้การช่วยเหลือ ดูแล และเอาใจใส่ครอบครัวที่พบผู้ติดเชื้อโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น ผู้ป่วยอยู่กับหลาน ชุมชนควรให้การช่วยเหลือดูแลหลานขณะที่ผู้ป่วยต้องรักษาตัวให้หายจากโรค
4.6 ชุมชนมีมาตรการต้อนรับผู้ป่วยที่หายจากโรคติดต่ออุบัติใหม่กลับสู่ชุมชน (ไม่ตีตราผู้ป่วย)
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
5.1 การทำระบบข้อมูลรายชื่อและจำนวนสถิติผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ป่วยสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยที่กลับบ้านได้ รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงรอการยืนยัน ของแต่ละวัน แยกตามพื้นที่
5.2 นำข้อมูลที่ได้มาวางแผนแก้ไขโรคติดต่ออุบัติใหม่ ทำแผนชุมชนในการป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟู ชุมชนในการจัดทำโมเดลชุมชนจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทั้งนี้อาจใช้การประชุมออนไลน์
5.3 มีการแบ่งบทบาทการทำงานในลักษณะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปทำงานเพื่อลดความเครียด เช่น ฝ่ายจัดซื้อของ ฝ่ายสถานที่ การอยู่เวรกลางวัน กลางคืน ฝ่ายสาธารณสุข
5.4 ถอดบทเรียนผลที่เกิดขึ้น ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค เพื่อปรับปรุงแก้ไข และสร้างโมเดลต้นแบบชุมชนจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 3 การฟื้นฟูและเยียวยาภายหลัง การระบาดของโควิด -19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่
1.1 พัฒนาระบบการสื่อสารกับสาธารณชนอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต้องรู้ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้โรคติดต่ออุบัติใหม่กลับมาแพร่ซ้ำ เผยแพร่โดยกลุ่ม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์ชุมชน/รถแห่
1.2 สื่อสารแนวคิด ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ให้กับชุมชน ในการสร้างการพึ่งพาตนเองให้อยู่ได้เมื่อมีโรคระบาด การใช้การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
1.3 สื่อสารความรู้เกี่ยวกับมีพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การเพิ่มกิจกรรมทางกายภายในบ้าน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สารเสพติด
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่
2.1 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน อสม. ชรบ. อปพร. ให้มีทักษะที่จำเป็นในการฟื้นฟู และเยียวยา เช่น การให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และการสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ เพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยโดยไม่แบ่งแยก
2.2 พัฒนาศักยภาพเยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไปจัดทำสื่อสารสนเทศเพื่อลดความเครียด สร้างขวัญกำลังใจ ลดปัญหาสุขภาพจิตแก่ประชาชน
2.3 พัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำด้านสุขภาพในการถอดบทเรียน เพื่อใช้ในการพัฒนาการทำแผนการจัดการโรคระบาดของชุมชนที่ครอบคลุมทั้งการป้องกัน การแก้ปัญหา และการฟื้นฟู
2.5 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน กลุ่มต่างๆ ในชุมชน ในการวางแผน ดำเนินการ ติดตามประเมินผลในการจัดการฟื้นฟูชุมชนหลังโรคระบาด รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยบรรเทาทุกข์เพื่อปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มูลนิธิการกุศลอย่างต่อเนื่อง
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 การปรับรูปแบบตลาด แหล่งจำหน่ายสินค้า พื้นที่สาธารณะ ในชุมชน ให้ถูกสุขอนามัย ไม่มีการปนเปื้อนโรคติดต่ออุบัติใหม่
3.2 จัดกิจกรรมในชุมชน ช่วยลดความเครียดให้กับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาโรคเรื้อรัง และคนทั่วไปในชุมชน เช่น กิจกรรมการเดิน แรลลี่ การทำแปลงรวมผักปลอดภัยสำหรับชุมชน
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่
4.1 กำหนดข้อตกลงชุมชน ธรรมนูญ ให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน เพื่อสุขภาพ เหลือเพิ่มรายได้
4.2 จัดทำข้อตกลง ธรรมนูญ มาตรการชุมชน ที่คนในชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อการฟื้นฟู เยียวยาหลังโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมทั้งมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่
5.1 จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยา
5.2 พัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมของประชาชนเพื่อระบุความเสี่ยง และควบคุมโรคระบาดในอนาคต เช่น การเดินทาง การดื่มเหล้า/สูบบุหรี่ การออกกำลังกาย
5.3 พัฒนาฐานข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อให้คนในชุมชนสามารถรักษาสุขภาพ
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน การปรับพฤติกรรม รวมทั้งการส่งต่อไปยังสถานบำบัด
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดความรุนแรงและลดผลกระทบของการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างและพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายการเฝ้าระวัง ให้มีองค์ความรู้และมีทักษะในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน
2. มีคณะทำงานติดตามประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน ที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกพื้นที่
3. มีแผนการดำเนินงานการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
4. การให้รางวัลเชิดชูเกียรติแก่บุคคลต้นแบบในชุมชนที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
5. การตั้งรางวัลสำหรับผู้ที่ชี้เบาะแสของผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน
6. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่สามารถนำมาใช้เพื่อการวางแผนควบคุมต่อไป
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติดและลดอัตราการเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาเครือข่ายชุมชนที่เฝ้าระวังและสอดส่องปัญหายาเสพติดในชุมชนให้เชื่อมต่อกับหน่วยบริการสุขภาพภาครัฐให้สามารถส่งต่อผู้ติดยาไปบำบัดรักษาได้อย่างทั่วถึง
2. การสร้างระบบรองรับต่อผู้ที่ผ่านการบำบัดจากสถานบำบัดเมื่อกลับมาอยู่ในชุมชน ให้ได้รับการฝึกอาชีพ การสร้างการยอมรับในการจ้างงาน และให้โอกาสในการกลับมาเป็นสมาชิกของชุมชน
3. การพัฒนาระบบการดูแลผู้การบำบัดโดยการบูรณาการวิถีชุมชน ที่ทำให้ผู้ผ่านการบำบัดไม่กลับไปเสพยาซ้ำ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างมาตรการทางสังคมเพื่อควบคุมปัญหายาเสพติดในระดับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้าน เช่น การมีฮูกมปากัตในชุมชนมุสลิมที่มีบทให้คุณให้โทษต่อครอบครัวที่มีสมาชิกไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2. มีคณะทำงานประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว และมีการประชุมสมาชิกในชุมชนชี้แจงผลการตอบสนองต่อมาตรการ
3. มีระบบบันทึกการทำความผิด การตักเตือน การทำโทษขั้นต่างๆ ตามมาตรการที่กำหนด
4. มีรายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จำนวนและร้อยละของครัวเรือนที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว