กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการคัดกรองโรคซึมเศร้า โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
กลุ่มคน
๑. นายบาฮารูดิน ยาโงะ ผู้ประสานงานคนที่ ๑โทร.๐๖๖-๐๗๔-๔๙๔๖
๒. นางสาววิละยา เหมราผู้ประสานงานคนที่ ๒โทร.๐๘๙-๒๙๓-๙๘๔๙
๓. นางสาวฟารีดา หวันสู
๔. นางปาณิตา ปังหลีเส็น
๕. นายธีรพงศ์ นาคสง่า
3.
หลักการและเหตุผล

เด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพของสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการคิด การตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของวัยรุ่นในประเทศไทย หลายครั้งวัยรุ่นที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ จากสถิติพบว่าโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยอายุต่ำกว่า 20 ปีกว่า 1.8 แสนราย ผ่านแอปพลิเคชัน Mental Health Check-in ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563-30 กันยายน 2564 พบว่าวัยรุ่นมีความเครียดสูง 28% เสี่ยงซึมเศร้า 32% เสี่ยงฆ่าตัวตาย 22% ข้อมูลปี 2564 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยระบุว่าปัจจุบัน 1 ใน 7 คนของประชากรโลกได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ ในขณะที่เด็กอีกมากกว่า 1,600 ล้านคนต้องเผชิญกับการเรียนรู้ที่หยุดชะงักลง และอาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตต่อไปอีกหลายปีและจากการประเมินพบว่า เด็กอายุ 10-19 ปี กว่า 1 ใน 7 คนทั่วโลกมีความป่วยทางจิตที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และวัยรุ่นเกือบ 46,000 คนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็น 1 ใน 5 สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในวัยรุ่นในประเทศไทยและที่น่าเป็นห่วงคือเป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น

จากข้อมูลงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูมีจำนวนเด็กและวัยรุ่นในที่เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า ที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย รวมถึงพยายามฆ่าตัวตายซ้ำจากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง พบว่าในปี 2563 จำนวน 33 รายปี 2564 จำนวน 41 รายและในปี 2565 จำนวน 72 ราย ตามลำดับ ในจำนวนดังกล่าวที่มีภูมิลำเนาในตำบลกำแพง มีจำนวน 15, 11และ 19 รายตามลำดับ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มเสี่ยงคือเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงวัยเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 9-20 ปีปัจจัยกระตุ้นสำคัญให้ลงมือทำร้ายตนเอง ได้แก่ปัญหาเรื่องสัมพันธ์ภาพในภายในครอบครัว ปัญหาเรื่องเพื่อน เรื่องการเรียน ได้แก่ กินยาเกินขนาด ,ใช้ของมีคม ของแข็ง ซึ่งโรงพยาบาลละงูมีจำนวนเด็กและวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และมีกลุ่มเสี่ยงต่อการจะเป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้เข้าถึงบริการมากขึ้นทุก ๆ ปี แต่เรากลับมีความรู้ความเข้าใจต่อวิธีการรับมือ การให้คำแนะนำและการให้คำปรึกษาที่น้อยมาก

ภาวะซึมเศร้าเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่นการเปลี่ยนงานความเจ็บป่วยการหย่าร้างภาวะว่างงานความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนกับเพื่อนครอบครัวหรืออาจเกิดจากภายในผู้ป่วยเองความเจ็บป่วยภัยธรรมชาติ เช่น ผลจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบในการบริหารจัดการเศรษฐกิจโลกทั้งด้าน การค้า การลงทุน การเงิน สิ่งแวดล้อม และสังคมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน มาตรการสุขภาพอนามัย มาตรการสิ่งแวดล้อม ระเบียบทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้น ความเครียด/ภาวะซึมเศร้าเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งในสิ่งหนึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียด/ภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อหัวใจเต้นเร็วแน่นท้องมือเท้าเย็นในด้านผลเสียต่อสุขภาพหากความเครียด ดังนั้น โรงเรียนบ้านตูแตหรำ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองภาวะโรคซึมเศร้า เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิต

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ความรู้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการคัดกรองโรคซึมเศร้า
    ตัวชี้วัด : ผู้เข้ารับการอบรม ร้อยละ 70 มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้า
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. นักเรียนแกนนำและบุคลากรทางการศึกษา สามารถคัดกรองโรคซึมเศร้าได้
    ตัวชี้วัด : 1. นักเรียนแกนนำบุคลากรทางการศึกษาร้อย 100 มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้าสามารถคัดกรองโรคซึมเศร้าได้ 2. ร้อยละ 80 สามารถส่งต่อรายชื่อผลกลุ่มเสี่ยงเข้าระบบโรงพยาบาลได้
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดตั้งคณะทำงาน กิจกรรมโครงการประจำโรงเรียน
    รายละเอียด
    1. จัดตั้งคณะทำงานโครงการ โดยคณะทำงานประกอบด้วย
    • บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 12 คน

    • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลละงู และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 คน

    • สมาชิกสภา อบต. 1 คน

    • ผู้ใหญ่บ้านจำนวน1 คน

    • ผู้นำศาสนา จำนวน 1 คน

    • ประธานอสมและอสม.จำนวน 2 คน

    2.ประชุมชี้แจงคณะทำงานโครงการ รายละเอียดการดำเนินโครงการ

    กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน ประกอบด้วย

    • บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 12 คน

    • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลละงู และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 คน

    • สมาชิกสภา อบต. 1 คน

    • ผู้ใหญ่บ้านจำนวน1 คน

    • ผู้นำศาสนา จำนวน 1 คน

    • ประธานอสมและอสม.จำนวน 2 คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
    งบประมาณ 500.00 บาท
  • 2. สร้างแกนนำ ค้นหาโรคซึมเศร้า
    รายละเอียด
    1. จัดตั้งกลุ่มแกนนำ อสม.น้อยในโรงเรียน โดยใช้นักเรียนชั้น ป.5 - ป.6
    2. อบรมให้ความรู้ แกนนำอสม.น้อยในโรงเรียนหลักสูตรการคัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้าเบื้องต้น

    กลุ่มเป้าหมาย

    • นักเรียนชั้น ป.5 - ป.6 จำนวน 21 คน
    • บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 12 คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 33 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 825 บาท

    • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

    • ค่าวัสดุการอบรม 2,000 บาท

    กำหนดการ

    12.00 น. – 13.00 น. ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบ

    13.00 น. – 14.30 น.ให้ความรู้เรื่อง การคัดกรองและประเมินภาวะซึมเศร้าเบื้องต้น

    14.30 น. – 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง

    14.45 น. – 16.15 น. ให้ความรู้เรื่อง การคัดกรองและประเมินภาวะซึมเศร้าเบื้องต้น (ต่อ)
    16.15 น. – 16.30 น. ซักถามข้อสงสัย

    งบประมาณ 4,625.00 บาท
  • 3. เสริมสร้างความรู้แก่นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง ในเรื่องโรคซึมเศร้า
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    • จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง ในเรื่องโรคซึมเศร้า

    เป้าหมาย

    • นักเรียน จำนวน 49 คน
    • บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 12 คน
    • ผู้ปกครอง จำนวน 87 คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 148 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน7,400 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 148 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 9,620 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 วัน จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.5 X 3 ตารางเมตร เป็นเงิน 675 บาท
    • ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองจำนวน 592 แผ่นๆละ 1 บาท เป็นเงิน 592 บาท
    • คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจำนวน 99 เล่ม ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,950 บาท
    • ชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ (ปากกา แฟ้มใส กระดาษ A4) จำนวน 148 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,700 บาท

    กำหนดการ

    08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน

    09.00 น. – 09.30 น. พิธีเปิด กล่าวรายงานโดย......................... (ประธานกองทุนฯ)

    09.30 น. – 10.30 น. กิจกรรมการอบรมภาวะโรคซึมเศร้า (วิทยากร) 10.30 น. – 10.50 น. รับประทานอาหารว่าง
    10.50 น. – 12.00 น. กิจกรรมการอบรมภาวะโรคซึมเศร้า (ต่อ)
    12.00 น. – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
    13.00 น. – 14.20 น.กิจกรรมการอบรมภาวะโรคซึมเศร้า (ต่อ)
    14.20 น. – 14.40 น. รับประทานอาหารว่าง
    14.40 น. – 15.10 น. กิจกรรมการอบรมภาวะโรคซึมเศร้า (ต่อ)
    15.10 น. – 16.30 น. คัดกรองโรคซึมเศร้า (วิทยากร, บุคลากรทางการศึกษา)

    งบประมาณ 28,937.00 บาท
  • 4. คัดกรองค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยง
    รายละเอียด
    1. ดำเนินการคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลละงู และกลุ่มแกนนำ

    2. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียน ทำการประเมินคัดกรองโรคซึมเบื้องต้นหากเคสไหนมีปัญหาจะทำการส่งต่อรายชื่อให้กับเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลละงู

    กลุ่มเป้าหมาย

    • นักเรียน จำนวน 49 คน

    • บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 12 คน

    • ผู้ปกครอง จำนวน 87 คน

    งบประมาณ

    • เอกสารแบบคัดกรอง 148 ชุดๆ 5 บาท เป็นเงิน 740 บาท
    งบประมาณ 740.00 บาท
  • 5. ส่งต่อรายชื่อผู้ที่เสี่ยงให้กับทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    • ส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลต่อไป

    เป้าหมาย

    • สามารถช่วยเหลือนักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีภาวะซึมเศร้าให้หายจากโรคซึมเศร้า

    งบประมาณ

    • ไม่ขอใช้งบประมาณ (ขอความร่วมมือจาก รพ.)
    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 6. ติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1.ติดตามนักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาที่มีภาวะเสี่ยง โดยไปเยี่ยมที่บ้าน

    • ทำการคัดกรองอีก 1 ครั้ง

    • บันทึกผลประเมินผลการคัดกรองภาวะโรคซึมเศร้า

    2.ค้นหาสาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้า ในกรณีที่พบ โดยการติดตามเยี่ยมบ้านสอบถามอาการปัญหาต่างๆ ประมวลผลและสรุปจากการเก็บข้อมูลในชุมชน

    เป้าหมาย

    • นักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาที่มีภาวะเสี่ยง

    งบประมาณ

    ไม่ใช้งบประมาณ (ใช้งบประมาณ การเยี่ยมบ้านนักเรียน)

    กำหนดการ

    • 08.00 น- 16.00 น.เดินทางคัดกรองตามบ้านนักเรียนและผู้ปกครอง
    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 7. ประเมินผลและถอดบทเรียนจากกิจกรรม
    รายละเอียด

    ประเมินผลและ ถอดบทเรียน ร่วมกัน ขยายผลโครงการนำไปสู่การป้องกันโรคซึมเศร้าในชุมชน บ้านตูแตหรำ

    กลุ่มเป้าหมาย

    • บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 12 คน

    • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลละงู และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 คน

    • สมาชิกสภา อบต. 1 คน

    • ผู้ใหญ่บ้านจำนวน1 คน

    • ผู้นำศาสนา จำนวน 1 คน

    • ประธานอสมและอสม.จำนวน 2 คน

    งบประมาณ

    • กระดาษบรู๊ฟ จำนวน 50 แผ่น คิดเป็นเงิน 300 บาท

    • ปากกาเมจิก จำนวน 2 แพ็ค แพ็คละ 120 บาท คิดเป็นเงิน 240 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

    งบประมาณ 1,040.00 บาท
  • 8. รายงานผลโครงการ
    รายละเอียด
    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่ม ๆ 250 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท
    งบประมาณ 1,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนบ้านตูแตหรำและชุมชนบ้านตูแตหรำ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 36,842.00 บาท

หมายเหตุ : งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการตามความเป็นจริง

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครอง มีความรู้เรื่อง เรื่องการคัดกรองโรคซึมเศร้า
  2. บุคลากรทางการศึกษา สามารถคัดกรองโรคซึมเศร้า
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 36,842.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................