กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยตำบลมะนังยง ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลมะนังยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 3 ปี มีปัญหาฟันน้ำนมผุ

 

50.00

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ ๑-๓ ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก หรือต้องมีการรักษาที่ยุ่งยากตามมาในอนาคตในปัจจุบัน การดูแลสุขภาพช่องปาก จะเน้นการให้ความร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายสหวิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสสังคม และสร้างนวัตกรรมให้ผู้ปกครองดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัยร่วมกับให้มีพื้นที่ต้นแบบรำร่องในเรื่องดังกล่าว ภายใต้เด็กเล็กฟันดี โดยวิธี SELF CARE จากเหตุผลดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง ซึ่งมีหน้าที่ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในช่องปากของกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงให้เกิดประสิทธิภาพที่ยั่งยืนเพื่อให้ สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่การสร้างเสริมทันตสุขภาพในระดับชุมชนเป็นมาตรการที่สามารถพัฒนาสุขภาพช่องปากของประชาชนที่ยั่งยืนที่สุดแต่ต้องอาศัยระยะเวลาและกระบวนการในการผลักดันและขับเคลื่อนสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมด้านทันตสุขภาพ อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพช่องปากของคนในชุมชนและสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างยั่งยืน จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง

ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้ลูกถูกวิธีร้อยละ 80 ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันโรคฟันในเด็กปฐมวัย ่ร้อยละ 75

50.00 80.00
2 เพื่อให้ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง

ร้อยละของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยได้ถูกต้องร้อยละ 100

70.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูผู้ดูแลเด็ก 5
ผู้ปกครองเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/01/2024

กำหนดเสร็จ 01/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมและวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมและวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเตรียมพร้อมการดำเนินงานตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มกราคม 2567 ถึง 22 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินงานของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมบรรยายให้ความรู้พร้อมปฏิบัติวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมบรรยายให้ความรู้พร้อมปฏิบัติวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย 1.ผู้ปกครอง 50 คน 2.เด็กนักเรียน 50 คน 3.ครูผู้ดูแลเด็ก 5 คน
4.วิทยากร 2 คน

กิจกรรม
1.จัดกิจกรรมแยกเป็น 2 ครั้ง
-ครั้งที่ 1 ณ ศุนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านดาล -ครั้งที่ 2 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชะเอาะ
2.บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ
-1.การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้ปกครอง
-2.บทบาทหน้าที่ของครูผู้ดูแลเด็กสำหรับส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
-3.หลักโภชนาการที่เหมาะสมต่อเด็กปฐมวัย

รายละเอียดค่าใช้จ่าย มีดังนี้
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการ(2 มื้อ) จำนวน 107 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,350 บาท
-ค่าป้ายไวนิล 1.2x2.5x250 จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท
-ป้ายไวนิลเพื่อเป็นสื่อการสอนจำนวน 2 ผื่น เป็นเงิน 720 บาท (เรื่องการแปรงฟัน และสาธิตการแปรงฟัน)
-ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายให้ความรู้ 2 ชั่วโมงๆละ 600 จำนวน 1 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท

รวม 9,220บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 12 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการทดสอบความรู้หลังอบรม 1.ร้อยละของผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้ลูกถูกวิ 2.ร้อยละของผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันโรคฟันในเด็กปฐมวัย 3.ร้อยละของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9220.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูผู้ดูแลเด็กสังเกตความสะอาดของฟันเด็กนักเรียนว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
2.ติดตามการดำเนินงานหลังโครงการเกี่ยวกับสุขภาพฟันเด็ก 2 เดือน ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 3 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการตรวจสุขภาพฟันหลังดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,220.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพฟันที่แข็งแรง
2.ผู้ปกครองมีความตระหนักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในวัยเด็ก


>