กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยชมรม อสม.รพ.สต.บ้านสะพานข่อย ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยชมรม อสม.รพ.สต.บ้านสะพานข่อย ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านสะพานข่อย

1 นางประกอบ ทองมาก
2 นางเพ็ญศรี ร่มหมุน
3 นางสาวผ่องศรี เพชรน้อย
4 นายสิทธิชัย ไชยสุวรรณ
5 นางผกามาศ ทองสา

หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11 และหมู่ที่ 12 ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเกษตรที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดระดับเสี่ยง

 

26.20
2 ร้อยละเกษตรที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดระดับไม่ปลอดภัย

 

9.87
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร

 

80.00

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรมการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท เพื่อป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม การฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
ตำบลนาขยาด เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม ซึ่งประกอบด้วย การทำนาทำสวนยางพารา พืชล้มลุกทางการเกษตรอีกหลายชนิด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง จากการตรวจเลือดหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานข่อย ในปี 2564 จำนวน 157 คน พบว่า มีความเสี่ยง78ราย คิดเป็นร้อยละ 49.68ไม่ปลอดภัย จำนวน19 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.10ในปี 2565 จำนวน 275 คน พบว่า มีความเสี่ยง33ราย คิดเป็นร้อยละ 12.00ไม่ปลอดภัย จำนวน7 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.55ในปี 2566 จำนวน 275 คน พบว่า มีความเสี่ยง33ราย คิดเป็นร้อยละ 12.00ไม่ปลอดภัย จำนวน7 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.55
ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านสะพานข่อย ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยชมรม อสม.รพ.สต.บ้านสะพานข่อย ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับความรู้และได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะสารเคมีตกค้างในเกษตรกรในระดับเสี่ยงลดลง

เกษตรที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดระดับเสี่ยงลดลง

26.20 20.00
2 เพื่อลดภาวะสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดระดับไม่ปลอดภัย

เกษตรที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดระดับไม่ปลอดภัยลดลง

9.87 5.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร

กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองสารเคมีในเลือดมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการใช้สารเคมี

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง ครั้งที่ 1 และจ่ายยาสมุนไพรรางจืด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง ครั้งที่ 1 และจ่ายยาสมุนไพรรางจืด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง
- เก็บข้อมูลภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน
- รับสมัครกลุ่มเป้าหมายในการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
- ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมี
- ตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกระแสเลือดของกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 1
1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300.- บาท
2. ค่าเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่อง การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (หน้า-หลัง) แผ่นละ 1 บาท จำนวน 250 ชุด เป็นเงิน 250.- บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 250 คน เป็นเงิน 6,250.-บาท
4. ค่าแถบตรวจสารเคมีในเลือด(100 ชิ้น) กล่องละ 1,000 บาท จำนวน 4 กล่อง เป็นเงิน 4,000.- บาท
5. ค่าเข็มเจาะเลือด(200อัน) กล่องละ 650 บาท จำนวน 2 กล่อง เป็นเงิน 1,300.- บาท
6. ค่าหลอดสำหรับใส่เลือด(100 อัน)กล่องละ 350 บาท จำนวน 4 กล่อง เป็นเงิน 1,400.- บาท
7.ค่าสำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์ 70% (10 ก้อน)แผงละ 12 บาท จำนวน 40 แผง เป็นเงิน 480.- บาท
8.จ่ายสมุนไพรรางจืดให้กลุ่มเป้าหมายที่พบผลเลือดในระดับ เสี่ยงและไม่ปลอดภัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ผู้เข้าร่วมได้รับการคัดกรองตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด และได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากสารเคมีตกค้าง
ผลลัพธ์ -ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้่ไปปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้างได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13980.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักกินเองในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักกินเองในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีการปลูกผักไว้กินเองที่บ้านโดยใช้ปุ๋ยหรือวัสดุพื้นบ้านเป็นหลัก หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืช

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่สมัครเข้าร่วมโครงการ มีการปลูกผักไว้กินเองที่บ้าน ร้อยละ70
ผลลัพธ์ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่สมัครเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการปลูกผักกินเองที่บ้านร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2เฉพาะที่ผลการเจาะครั้งที่ 1 พบว่ามีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2เฉพาะที่ผลการเจาะครั้งที่ 1 พบว่ามีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2 เฉพาะที่ผลการเจาะครั้งที่ 1

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงที่พบมีความเสี่ยงผิดปกติจากการตรวจครั้งที่ 1 ได้รับการตรวจคัดกรองครั้งที่ 2 ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,980.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรในพื้นที่
2. เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกร
3. ประชาชนมีความรู่ในการป้องกันการสัมผัสสารเคมี มีทักษะและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคจากสารเคมี


>