กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมโรคเบาหวาน ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

พื้นที่หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

41.03
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

8.34

องค์การอนามัยโลก สำรวจพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 171 ล้านคน และทำนายว่า อีก 30 ปี จะมีผู้ป่วยเบาหวาน 366 ล้านคน เวลาผ่านไปไม่ถึง 30 ปี กลับพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน 171 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของประชากรทั่วโลก ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน 4 ล้านคนต่อปี หรือเฉลี่ย 8 วินาทีต่อ 1 คน หรืออาจพูดได้ว่าทุกๆ 8 วินาทีจะมีผู้ป่วยเบาหวานตาย 1 คน
สถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้มีผู้ป่วยเบาหวานอยู่ราว 5 ล้านคน หรือเปรียบเทียบ ได้ว่า 1 ใน 11 คนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไป กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวาน และมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งแสนคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ มีถึง 40% ที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ขณะที่ผู้ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษามีเพียง 54.1% หรือเพียง 2.6 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเพียง 1 ใน 3 คน ที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการรักษา ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในเมืองไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน ที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับ ประเทศไทย คือ ความชุกของเบาหวานที่เกิดจากปัญหาโรคอ้วนและพฤติกรรมการใช้ชีวิตในเด็กวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้เป็นคนวัยทำงานและเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และมีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2560–2566ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 30,19024,69923,331 22,52 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากสถิติการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป รพ.สต.ปันแตตำบลปันแตอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุงปี ๒๕66คัดกรองโรคเบาหวานกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปดำเนินการคัดกรอง จำนวน 2,214 คน คิดเป็นร้อยละ 94.07พบปกติ จำนวน 1,657 คน คิดเป็นร้อยละ 76.29 พบว่า กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 443 คน คิดเป็น ร้อยละ 20.40และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 70คน คิดเป็นร้อยละ3.22 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในปี 2562-2566จำนวน 71.09,325.04,356.97, 567.26,507.10 อัตราต่อแสน
ซึ่งจากการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานในแต่ละปีพบผู้ป่วยรายใหม่ทุกปีการที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน

41.03 90.00
2 เพื่อติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามผล FPG ลดลง

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมารับการเจาะ FBSหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม FBG ลดลงประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC On Cloud สสจ.พัทลุง

60.00
3 เพื่อติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม

ผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกรายไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่ ประมวลผลจากฐานข้อมูลHDC On Cloudสสจ.พัทลุง

100.00
4 เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการตรวจตา ไต เท้า

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้า ไต เท้า ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,500
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 804
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ
  2. จัดทำและเสนอโครงการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในประชาชน กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป
  3. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการโดยตรวจ DTX วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดส่วนสูง
  4. ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาล ในเลือดพร้อมเข็มเจาะ จำนวน30 กล่อง ๆ ละ 960 บาท เป็นเงิน 28,800 บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะโรคกลุ่ม Metabotic จำนวน 2,500 แผ่น x
    0.50 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
  6. สำลีก้อนชุปแอลกอฮอล์สำเร็จรูปแผงละ 8 ก้อน กล่องละ 100 แผง ๆ ละ 1,350 x 3 กล่อง
    เป็นเงิน4,050 บาท
    1. หนังสือเชิญเข้าร่วมคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 2,500 แผ่น x 0.50 บาท
      เป็นเงิน 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  ประชาชนได้รับการคัดกรองร้อยละ  90 ผลลัพธ์  กลุ่มเป้าหมายรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเข้ารับการเจาะน้ำในเลือดซ้ำ (FPG)
  2. ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการเจาะน้ำตาลในเลือดซ้ำในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลตั้งแต่100-125 มก./ดล. และระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป ทุกราย
  3. กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจน้ำตาลในเลือด เจาะข้อพับ ที่ รพ.สต.ปันแต
  4. แจ้งผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 126 มก./ดล. ขึ้นไปได้รับการพบแพทย์ทุกราย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผลผลิต  กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40 ได้รับการติดตาม -ผลลัพธ์   ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังที่รับยา รพ.สต.ปันแต และรับยาที่อื่น
  2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม. ติดตามเยี่ยมบ่้านผู้ป่วยเรื้อรังในรายที่ขาดยา และไม่พบแพทย์ทุกราย
  3. ส่งต่อผู้ป่วยที่ขาดยา ไม่พบแพทย์ตามนัด ให้ได้รับยาทุกราย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม ผลลัพธ์ 1.ผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกราย    2.ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมกิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการตรวจตา ไต เท้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการตรวจตา ไต เท้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน ที่ยังไม่ได้รับการตรวจตา เท้า ไต
  2. ทำหนังสือเชิญให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน เข้ารับการตรวจภาะแทรกซ้อน ตรวจ ตา ไต เท้า ทุกราย
  3. ผู้ป่วยเบาหวานทุกราย เข้ารับการเฝ้าระวังแทรกซ้อน โดยการตรวจตา ไต เท้า ที่ รพ.สต.ปันแต
  4. ในรายที่ผลผิดปกติ ได้รับการส่งต่อทุกราย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต  ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางเท้า
  • ผลลัพธ์  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่
2. ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
3. ลดอัตราการตายด้วยโรคเบาหวาน


>