กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนปลอดบุหรี่ : ตำบลสะเตงนอก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสูบบุหรี่ นับเป็นพฤติกรรมเสี่ยงส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดภาระโรคที่เพิ่มสูงขึ้นในประชากรไทยจากการวิเคราะห์สถานการณ์การบริโภคยาสูบในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2550–2559) พบว่า ความชุกของผู้สูบบุหรี่มีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ แม้ว่าประเทศไทยจะมีการดำเนินการมาตรการเพื่อร่วมมือกันในหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคีเครือข่าย ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ยังพบว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังคงสูบบุหรี่แล้วไม่สามารถเลิกสูบได้ เด็กและเยาวชนที่กำลังก้าวสู่การเป็นนักสูบหน้าใหม่ยังคงมีอยู่ทุกพื้นที่
ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีประชากรทั้งหมด 37,034 คน 15,719 ครัวเรือน จากสถานการณ์การสูบบุหรี่ในพื้นที่ เทศบาลเมืองสะเตงนอก พบว่าจำนวนสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ได้รับ การสังเกตในปี 2565 จำนวน 26 ร้าน พบว่าปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ครบตามเกณฑ์(4 ข้อ) (ไม่แสดงยี่ห้อ / ไม่แสดงราคาบุหรี่, ไม่เปิดตู้ / ไม่วางโชว์ซองบุหรี่,ไม่วาง/ไม่แขวนซองยาเส้น และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการสูบบุหรี่)จำนวน 14 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 53.8 และไม่ปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ครบตามเกณฑ์ฯ 12 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 46.2 สถานที่สาธารณะที่ได้รับการสังเกตในปี 2565 จำนวน 40 แห่ง พบว่าจัดสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ครบตามเกณฑ์(3 ข้อ) (มีป้ายห้ามสูบบุหรี่นอกอาคาร, ในอาคารและไม่พบการสูบบุหรี่ในบริเวณใดๆ) 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 30.0 ไม่ครบตามเกณฑ์(3 ข้อ) 28 แห่งคิดเป็นร้อยละ 70.0 (ข้อมูลจากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ วันที่ 5 เมษายน 2566) ซึ่งแสดงถึงการมีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทั้งที่เกิดกับผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง การเฝ้าระวัง การป้องกันการรณรงค์ การให้ความรู้ การบำบัดฟื้นฟูและการบังคับใช้กฎหมาย จึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินงานในการขับเคลื่อนที่จะทำให้ชุมชนตำบลสะเตงนอกเป็นชุมชนปลอดบุหรี่ ประกอบกับการที่มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการดำเนินงานต่างๆ ในพื้นที่ อาทิเช่น โรงพยาบาลส่งเสริมเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ฯลฯ จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบในพื้นที่ตำบลสะเตงนอกมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการชุมชนปลอดบุหรี่ : ตำบลสะเตงนอก เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ต้นแบบ สอดคล้องตามนโยบาย มาตรการ และแผนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 อันจะส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในตำบลสะเตงนอกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนตามนโยบายในการดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ

 

0.00
2 2. เพื่อสร้างกลไกล พัฒนาทีมงาน บูรณาการการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายการบริโภคยาสูบ

 

0.00
3 3. เพื่อสร้างความตระหนัก เพิ่มองค์ความรู้ในการป้องกันนักสูบหน้าใหม่

 

0.00
4 4. เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ และป้องกันการเกิดโรคจากบุหรี่

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 360
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน × 1 มื้อ × 75 บาท  เป็นเงิน  4,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน × 2 มื้อ × 35 บาท           เป็นเงิน  4,200 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน × 5 ชั่วโมงๆละ 500 บาท                     เป็นเงิน  2,500 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 ม.× 3ม.× ตร.ม.ละ 300 บาท                 เป็นเงิน  1,350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสื่อสารความเสี่ยงในสถานศึกษา จำนวน 12 แห่งๆละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสื่อสารความเสี่ยงในสถานศึกษา จำนวน 12 แห่งๆละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน
- ค่าสมุดจำนวน 360 เล่ม × 10 บาท                    เป็นเงิน    3,600  บาท - ค่าปากกาจำนวน 360 เล่ม × 10 บาท                         เป็นเงิน    3,600  บาท - แฟ้มใส่เอกสาร 360 อันๆละ 15 บาท                  เป็นเงิน    5,400  บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน × 3 ชั่วโมงๆละ 500 บาท × 12 แห่ง             เป็นเงิน  18,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คน ×1 มื้อ × 35 บาท× 12 แห่ง  เป็นเงิน  12,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีคณะทำงาน และนโยบายในการดำเนินงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ
2. ทีมงานและภาคีเครือข่ายด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบในพื้นที่มีศักยภาพ สามารถดำเนินงาน และขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่
3. ประชาชน ร้านค้า และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบจากการบริโภคยาสูบ
4. พื้นที่เป้าหมายปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
5. มีระบบในการดูแลและช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่


>