กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคลอง ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ

รพ.สต.บ้านปากคลอง

หมู่ที่ 1 ชุมชนตลาดใหม่,ชุมชนเขาทอง.ชุมชนประดู่เรียง,ชุมชนเขาทอง,ชุมชนหน้าตลาด ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน.จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

70.00
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

90.00
3 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

90.00
4 ร้อยละเด็กอายุ 0-5 ปีสูงดีสมส่วน

 

70.00
5 ร้อยละเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

 

80.00
6 ร้อยละเด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ

 

80.00

“1,000 วันแรกของชีวิต”ถือเป็นต้นน้ำของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญและคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและ การเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาท ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็วปัจจุบันกรมอนามัยได้มุ่งเน้นให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย ต่อเนื่องจนถึง เด็กอายุ 5 ปีโดยขับเคลื่อนงานผ่านกลไก “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน”
โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน จึงเป็นการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมเด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน และท้องถิ่นระดับตำบล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กปฐมวัยไทย มีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพพัฒนาการสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมส่งต่อทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ สำหรับประเทศไทยในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์คุณภาพอย่างน้อย 5 ครั้ง ร้อยละ 100

80.00 100.00
2 มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 100

90.00 100.00
3 เพื่อให้เด็กแรกคลอด - ต่ำกว่า 6 เดือนได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

เด็กแรกคลอด - ต่ำกว่า 6 เดือนได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 90

70.00 90.00
4 เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ตามวัย

เด็กอายุ 0-5 ปีสูงดีสมส่วน ร้อยละ 80

70.00 80.00
5 เพื่อให้เด็กอายุ 0 - 5 ปี มีพัฒนาการตามวัย

เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ80

75.00 80.00
6 เด็กอายุ 0 - 3 ปี ปราศจากฟันผุ

เด็กอายุ 0 - 3 ปี ปราศจากฟันผุ ร้อยละ 80

76.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ดูแลเด็ก/ผู้ปกครอง 45

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานตามแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานตามแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านปากคลอง ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ ผู้นำชุมชน และประธานอสม.5 ชุมชน ในเขตพื้นที่เพื่อเตรียมดำเนินการตามแผนงานของโครงการ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน

งบประมาณ

-ค่าอาหารว่างผู้เข้าอบรม 20 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาทเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
–มีกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.สำรวจหญิงตั้งครรภ์ และลงเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้คำแนะนำเบื้องต้น พร้อมกับค้นหาปัญหาส่งต่อข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านปากคลองจนท.ลงเยี่ยมบ้าน ติดตามการฝากครรภ์ การรับประทานยาบำรุงเลือด ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 100

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์คุณภาพตามเกณฑ์ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมหญิงหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมหญิงหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ลงเยี่ยมหญิงหลังคลอด อย่างน้อย 1 ครั้ง และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านปากคลอง ลงเยี่ยมหญิงหลังคลอด อย่างน้อย 3 ครั้ง หลังคลอดเพื่อติดตามสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 100

เด็กแรกคลอด - ต่ำกว่า 6 เดือนได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้ผู้ปกคลอง/ผู้ดูแลเด็ก 0 - 5 ปี เกี่ยวกับโภชนาการและพัฒนาการสมวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ปกคลอง/ผู้ดูแลเด็ก 0 - 5 ปี เกี่ยวกับโภชนาการและพัฒนาการสมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ผู้ปกคลอง/ผู้ดูแลเด็ก 0 - 5 ปี เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการให้เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ตามวัย และการส่งเสริมการมีพัฒนาการตามวัย โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและพัฒนาการเด็ก

งบประมาณ

--ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง,วิทยากรจำนวน 50 คน คนละ 1 มื้อๆละ 25 บาทต่อคน เป็นเงิน 1,250 บาท

-ค่าสมนาคุณวิทยากร อบรม ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1800 บาท

-ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร ตารางเมตรละ 180 บาท เป็นเงิน 520 บาท

-เครื่องชั่งน้ำหนักทารกแบบดิจิทัล เครื่องละ 5,800 บาท จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 5,800 บาท

-เครื่องวัดส่วนสูงแบบยืน มีฐาน อันละ 3,500 บาท จำนวน 1 อัน เป็นเงิน 3,500 บาท

-เตียงวัดความยาวเด็กแบบนอน พร้อมเบาะ อันละ 5,000 บาท จำนวน 1 อัน เป็นเงิน 5,000 บาท

รวมงบประมาณ 17,870 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2567 ถึง 7 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกคลอง/ผู้ดูแลเด็ก 0 - 5 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

เด็กอายุ 0-5 ปีสูงดีสมส่วน ร้อยละ 80

เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17870.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย

ชื่อกิจกรรม
ประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยโดยจนท.รพ.สต.บ้านปากคลอง โดยจะมีการประเมินตามช่วงวัย 9,18,30,42 และ 60 เดือน และมีการติดตามประเมินพัฒนาการซ่้ำกรณี พัฒนาการล่าช้าภายใน 1 เดือน ถ้าย้งพบปัญหา มีการส่งต่อรพ.ควนขนุน เพื่อพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัมนาการเด็กตามระบบ

  • สนับสนุนผู้ปกคลอง/ผู้ดูแลเด็ก และครูปฐมวัยให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการบุตรหลานให้ไปเป็นตามวัย

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการตามวัย ร้อยละ 100
เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 80

เด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์เฉพาะทาง รพ.ควนขนุน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ตรวจสุขภาพช่องปากและป้ายฟลูออไรด์วานิชอายุ 0 - 3 ปี

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพช่องปากและป้ายฟลูออไรด์วานิชอายุ 0 - 3 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • นัดตรวจสุขภาพช่องปากในเด็ก 0 - 3 ปี จำนวน 45 คน มีกิจกรรมป้ายฟลูออไรด์วานิชและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลฟันซี่แรก การทำความสะอาดลิ้นหลังดืมนม การแปรงฟัน ให้กับผู้ปกคลอง/ผู้ดูแลเด็กโดยทันตะบุคลากร

  • สาธิตการแปรงฟันในเด็กเป็นรายบุคคล

งบประมาณ

แปรงสีฟันเด็ก ราคาด้ามละ 30 บาท จำนวน 45 ด้าม รวมเงิน1,350 บาท

ยาสีฟันเด็ก ราคาหลอดละ 30 บาท จำนวน 45 หลอด รวมเงิน 1,350 บาท

รวมงบประมาณ 2,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2567 ถึง 5 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 0 - 3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและป้ายฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 100

เด็กอายุ 0 - 3 ปี ปราศจากฟันผุ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการดำเนินโครงการและถอดบทเรียนคืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการและถอดบทเรียนคืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-สรุปและรายงานผลโครงการและจัดทำรูปเล่มโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่2,500วันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคลอง ประจำปี 2567

งบประมาณ

ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน สปสช 1 เล่ม ค่าวัสดุอุปกรณเป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์คุณภาพอย่างน้อย 5 ครั้ง ร้อยละ 100

-มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 100

-เด็กแรกคลอด - ต่ำกว่า 6 เดือนได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 90

-เด็กอายุ 0-5 ปีสูงดีสมส่วน ร้อยละ 80

-เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ80

-เด็กอายุ 0 - 3 ปี ปราศจากฟันผุ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,270.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ มีโภชนาการที่ดี มีพัฒนาการสมวัย และฟันผุลดลง


>