กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คนโตนดด้วนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการจัดการขยะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลโตนดด้วน

1. นายสมชาย ขุนทอง
2. นายสมศักดิ์นุ่นยัง
3. นางจำเพ็ญคงรอด
4. นางจำรัส ปานอินทร์
5. นายอนนท์ดวงจันทร์

ตำบลโตนดด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

40.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

30.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

30.00

ข้อมูลทั่วไปของตำบลโตนดด้วน มีพื้นที่ประมาณ35.32ตารางกิโลเมตร มี 11 หมู่บ้าน 2,475 ครัวเรือน มีประชากรประมาณ 6,200 คน สถานการณ์ขยะในพื้นที่ตำบลโตนดด้วน จากการสำรวจข้อมูลขยะในครัวเรือนพบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 4 - 5ตัน/วัน ซึ่งครัวเรือนมีการจัดการขยะกันเอง เนื่องจากประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะไม่เพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาขยะที่มีปริมาณมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่น กลิ่นรบกวน และน้ำเน่าเสียจากอินทรีย์สารในขยะเกิดการเน่าเปื่อยเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เป็นต้น ซึ่งปัญหาขยะส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก การขาดความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง พฤติกรรมการบริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น ความสะดวกซื้อสะดวกใช้ ชาวบ้านยังไม่นิยมนำถุงผ้าหรือตะกร้ามาจากบ้านในการจ่ายตลาด ครัวเรือนจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นเองด้วยวิธีการต่างกัน เช่น การฝังกลบ การเผา การกองทิ้งไว้กลางแจ้ง เป็นต้น แต่ละวิธีเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและไม่ยั่งยืน มีโอกาสในการก่อมลพิษเกิดขึ้นได้ ดังนั้น แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาขยะมูลฝอย คือ การจัดการขยะมูลฝอยจากต้นทาง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อลดปริมาณของขยะและสามารถนำขยะที่ยังมีประโยชน์อยู่กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง เทศบาลตำบลโตนดด้วน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการขยะ จึงได้จัดทำโครงการคนโตนดด้วนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการจัดการขยะเพื่อให้ประชาชนสามารถคัดแยกขยะได้ถูกต้อง และสามารถนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้ ขยะรีไซเคิลสามารถขายได้ ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะ ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

40.00 50.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

30.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 33
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ป้ายโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 518บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ  ผู้เข้าอบรม จำนวน 33 คน จำนวน  2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท 4.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 33 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท 5.ค่าจัดซื้อถังขยะตัวอย่าง 4 ประเภท จำนวน 2,640 บาท 6.ค่าจัดทำป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้การคัดแยกขยะ จำนวน 1,000 บาท เป็นเงิน 11,058 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2567 ถึง 15 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีการจัดการขยะที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11058.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ครั้งๆ 3 ชั่วโมงๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ  ผู้เข้าอบรม จำนวน 100 คน จำนวน  1 มื้อ/วัน มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 3.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ จำนวน 2,500 บาท
เป็นเงิน 6,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มิถุนายน 2567 ถึง 21 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำขยะมาใช้ประโยชน์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 3 เก็บรวบรวมขยะอันตราย 11 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
เก็บรวบรวมขยะอันตราย 11 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจัดทำป้ายจุดพักขยะอันตราย ขนาด 20 x 30 ซม. จำนวน 11 ป้ายๆ ละ 150 บาท
เป็นเงิน 1,650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดแหล่งนำโรคในตำบลโตนดด้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,508.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>