กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมและตรวจคัดกรองความเสี่ยงของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีที่ตกค้างในเลือด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมและตรวจคัดกรองความเสี่ยงของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีที่ตกค้างในเลือด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2

1. นายภาณุวัตร แซ่หลู่ ผอ.รพ.บ้านควน ตำบลบ้านควน เบอร์โทรศัพท์ 087-3987875
2. นางสุกัญญา ลัสมาน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 086-0810676 (ผู้รับผิดชอบหลัก)
3. นางอารีนี หมัดสะแหละ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 08-0925942
4. นส.มุณา กฤติยาสกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 081-0995792
5. นส.รอฮานา พลาอาด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 091-9819813

หมู่ที่ 1,4 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอัตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงได้แสดงอาการออกต่างๆขึ้นมาเช่นโรคมะเร็งโรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ตำบลบ้านควนเป็นอีกหนึ่งตำบลที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด และมีผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก และการใช้ที่ไม่ถูกวิธีและขาดความรู้จึงทำให้มีผลกระทบโดยตรง
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตบริการ จึงได้จัดทำโครงการในเขตบริการ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านควน ได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด

ร้อยละ 100 ของ กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด

80.00 100.00
2 เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของประชาชนในการตรวจวัดระดับสารเคมีตกค้างในเลือด ในการจัดกลุ่ม ไม่ปลอดภัย กลุ่มเสี่ยง กลุ่มปกติ

ร้อยละ 100 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีค่าระดับสารเคมีตกค้างในเลือดเพื่อแยกกลุ่มได้

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 98
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม.หมู่ที่ 1,4 ตำบลบ้านควน 49

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
2.จัดทำแผนงานโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุน
3.จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย
4.เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการและเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมเรื่องการใช้สารเคมีและเจาะเลือดหาสารเคมีในเลือด ให้แก่อสม. หมู่ที่ 1,4 ต.บ้านควน จำนวน 49 คน เป็นเงิน 9,450 บาท
กำหนดการ
เวลา 08.30 น.-09.00 น. - ลงทะเบียน
เวลา 09.00 น.-09.30 น. - เปิดโครงการ โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
เวลา 09.30 น.-10.00 น. - ชี้แจงรายละเอียดการอบรม โดยผู้รับผิดชอบโครงการ
เวลา 10.00 น.-11.00 น. - การคัดกรองสุขภาพเกษตรกร และการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีทางการเกษตร
เวลา 11.00 น.-12.00 น. - สถานการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช/อัตราการเจ็บป่วยด้วยพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
เวลา 12.00 น.-13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น.-15.00 น. - การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปลอดภัยและการป้องกันตนเอง
เวลา 15.00 น.- 16.00 น. -สาธิตการล้างผักและผลไม้ที่ถูกวิธี
เวลา 16.00 น.- 16.30 น.- สรุปและปิดการอบรม
หมายเหตุ - พักรับประมานอาหารว่างและครื่องดื่ม เวลา 10.30-10.45 น. และเวลา 14.30-14.45 น.
รายละเอียดงบประมาณ
1.1 ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ อสม.วิทยากร และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 54 คน มื้อละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,240 บาท
1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่อง อสม. จำนวน 54 คน มื้อละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 3,240 บาท
1.3 ค่าตอบแทนวิทยากร วันละ 5 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท
1.4 ค่าคู่มือเรื่องการใช้สารเคมีและบันทึกผลการเจาะเลือดเล่มละ 30 บาท จำนวน 49 เล่ม เป็นเงิน 1,470 บาท

2.จัดอบรมเรื่องการใช้สารเคมีและเจาะเลือดหาสารเคมีในเลือดให้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 98 คน เป็นเงิน 16,200 บาท
กำหนดการ
เวลา 08.30 น.-09.00 น. - ลงทะเบียน
เวลา 09.00 น.-09.30 น. - เปิดโครงการ โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
เวลา 09.30 น.-10.00 น. - คัดกรองสุขภาพเกษตรกรผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตร
เวลา 10.00 น.-11.00 น. - ประเมินความรู้และพฤติกรรมเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีทางการเกษตร
เวลา 11.00 น.-12.00 น. - สถานการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช/อัตราการเจ็บป่วยด้วยพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
เวลา 12.00 น.-13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น.-15.00 น. - การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปลอดภัยและการป้องกันตนเอง
เวลา 15.00 น.- 16.00 น. -สาธิตการล้างผักและผลไม้ที่ถูกวิธี
เวลา 16.00 น.-16.30 น.- สรุปและปิดการอบรม
รายละเอียดงบประมาณ
2.1 ค่าอาหารกลางวัน เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 98 คน มื้อละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,880 บาท
2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เกษตกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 98 คน มื้อละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,880 บาท
2.3 ค่าตอบแทนวิทยากร วันละ 5 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท
2.4 ค่าคู่มือเรื่องการใช้สารเคมีและบันทึกผลการเจาะเลือดเล่มละ 30 บาท จำนวน 98 เล่ม เป็นเงิน 2,940 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,650 บาท (เงินสองหมื่นห้าพันหกร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อสม.หมู่ที่ 1,4 ต.บ้านควน มีความรู้ในเรื่องของการใช้สารเคมีและสามารถทราบค่าสารเคมีในเลือดของตัวเองได้
2.เกษตกรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ในเรื่องของการใช้สารเคมีและสามารถทราบค่าสารเคมีในเลือดของตัวเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,650.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชานชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด
2.ประชาชนรับการประเมินสุขภาวะสุขภาพในการวัดระดับสารเคมีในเลือด
3.ประชาชนได้ตระหนักและเอาใจใส่ในการใช้สารเคมีอย่างถูกวิธี


>