กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสุคิริน

โรงพยาบาลสุคิริน

นางนวอร นรานุกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลสุคิริน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
จากการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ อีกทั้งสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ที่มีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต วิตกกังวล เครียดซึมเศร้า และอาจนำมาซึ่งการใช้สารเสพติด และอาจก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นป่วยทั้งทางกายและทางจิตบางรายใช้ความรุนแรง มีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตนเองและผู้อื่น จากการดำเนินงานพบปัญหาผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าที่มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ พบได้ในทุกวัน ทั้งในวัยเรียน ,วันรุ่น ,วัยทำงานตลอดจนผู้สูงอายุ ซึ่งได้ดำเนินการในการคัดกรองในทุกกลุ่มวัย แต่พบว่าผู้ป่วยปฏิเสธการเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้า และเมื่ออาการรุนแรงขึ้นจึงเข้าระบบการรักษา ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ช้า นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชมีแนวโน้มสูงขึ้นอันด้วยปัจจัยหลายประการ จากการดำเนินงานพบว่า ผู้ป่วยขาดความต่อเนื่องในการรักษา ส่งผลให้ผู้ป่วยเหล้านี้กลับมารักษาซ้ำและบางรายอาจก่อความรุนแรงทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน ก่อให้เกิดความหวาดกลัวในชุมชน ซึ่งในการให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินและผู้ป่วยวิกฤติ หรือมีลักษณะเสี่ยงต่อการก่อพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นซึ่งควรมีการให้การพยาบาลดูแลอย่างเร่งด่วน เพื่อลดอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย หรือบุคคลรอบข้าง(ปราโมทย์ และมนัส, ๒๕๕๒) ภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช เป็นสถานการณ์รุนแรงทางจิตเวชที่พบได้บ่อยขึ้น ในอำเภอสุคิรินในสถานการณ์ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสุคิรินด้วยความผิดปกติทางจิต จำนวน ๖๗๑ รายที่มีอาการป่วยด้วยโรคทางจิตเวชที่เข้ามารับบริการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ย80 รายต่อเดือนโดยเป็นรายใหม่ 1- 2 รายต่อเดือน และบางรายประสงค์รับยาที่โรงพยาบาลแม่ข่ายบางรายไม่เข้าถึงการบริการอีกเป็นจำนวนมากอันด้วยเหตุผลหลายประการ
ด้วยเหตุนี้กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลสุคิริน จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อ พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในเครือข่ายในการคัดกรอง ค้นหา เฝ้าระวัง ติดตาม ตลอดจนแนวทางในการให้การดูแลเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดำเนินชีวิตในสังคม ชุมชน ได้อย่างปกติสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์1. เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการ รักษา เฝ้าระวัง ค้นหาและติดตามผู้ป่วยซึมเศร้า และผู้ป่วยจิตเวช ในเขตเทศบาล อำเภอสุคิริน และเขตโรงพยาบาล 2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตเทศบาลและโรงพยาบาล มีความรู้เฝ้าระวัง คัดกรอง ค้นหา ผู้ป่วยซึมเศร้า และผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต รายใหม่และการติดตามดูแลต่อเนื่องที่บ้าน3.เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางสุขภาพจิตได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพจิตและการกำเริบของอาการทางจิต

ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย/ระดับความสำเร็จ 1.ร้อยละความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโครงการ
มากกว่าร้อยละ80 2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม
มากกว่าร้อยละ20 3. ร้อยละผู้ป่วยที่คัดกรองพบ 2Q =2คะแนนเข้าระบบการดูแล ติดตาม มากกว่าร้อยละ80 ๒.ร้อยละของผู้ป่วยโรคจิตเข้าถึงสถานบริการ มากกว่าร้อยละ72 ๓.ร้อยละของผู้ป่วยโรคจิตเรื้อรังเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 6เดือน
มากกว่าร้อยละ80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลและผู้ป่วยซึมเศร้าจิตเวชในเขตเทศบาลตำบลสุคิ 50
อสม.เขตเทศบาลตำบลสุคิริน 77

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้ เรื่องการคัดกรอง การดูแล การติดตามการประสานเพื่อการส่งต่อในผู้ป่วยซึมเศร้า และจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้ เรื่องการคัดกรอง การดูแล การติดตามการประสานเพื่อการส่งต่อในผู้ป่วยซึมเศร้า และจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ระยะเตรียมการ ( มกราคม - กุมภาพันธ์ ) 1.จัดตั้งคณะทำงาน 2. ประชุมทีมงานในวางแผนหาแนวทางการดำเนินงาน3.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 4.ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่14.1 จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขตเทศบาลตำบลสุคิริน เรื่องอาการการคัดกรอง ซึมเศร้าอาการผิดปกติทางจิต โรคทางจิตเวช แนวทางการค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตรายใหม่ในชุมชน แนวทางการดูแลผู้ป่วย แนวทางการประสานเพื่อการส่งต่อ 4.1 กิจกรรมภาคปฏิบัติการลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยตามกลุ่มเป้าหมาย 4.3 อสม. ลงพื้นที่เพื่อคัดกรองเชิงรุก และการติดตามผู้ป่วย 1 ครั้ง/ เดือน 4.4 ส่งผลการติดตามผู้ป่วยให้กับโรงพยาบาล 4.5 สรุปผลการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยของอสม. 4.6 มอบเกียรติบัตร อสม.ทุกท่านที่เข้าร่วมโครงการ
งบประมาณ ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน77คนเป็นเงิน 3,850บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 77 คน เป็นเงิน 3,850บาท - ค่าวัสดุ สำนักงาน( ปากกา ,กระดาษ,ค่าถ่ายเอกสาร,กระเป๋าเอกสาร) เป็นเงิน 8,000 บาท - ค่าป้ายไวนิลเป็นเงิน 2,000บาท รวมเป็นเงิน17,700บาท หมายเหตุ สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมโครงการพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม 2.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องการการคัดกรอง ประเมินอาการซึมเศร้า การให้คำปรึกษาเบื้องต้น ตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยเข้าระบบการรักษาในสถานบริการสาธารณสุข 3.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการคัดกรองประเมินผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต การให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแล ครอบครัว ตลอดจนการประสานตามระบบในการส่งต่อผู้ป่วยเข้าระบบการรักษาในสถานบริการสาธารณสุข 4.ผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองพบความผิดปกติเข้าสู่ระบบการรักษา
5.ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยพบความผิดเปกติได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง ตามระบบ1

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17700.00

กิจกรรมที่ 2 การให้ความรู้ เรื่องการคัดกรอง การดูแล การติดตาม การประสานเพื่อการส่งต่อในผู้ป่วยซึมเศร้า และจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้ เรื่องการคัดกรอง การดูแล การติดตาม การประสานเพื่อการส่งต่อในผู้ป่วยซึมเศร้า และจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ระยะเตรียมการ ( มกราคม - กุมภาพันธ์ ) 1.จัดตั้งคณะทำงาน 2. ประชุมทีมงานในวางแผนหาแนวทางการดำเนินงาน3.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 4.ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่14.1 จัดอบรมผู้ป่วยและผู้ดูแล( ผู้ป่วยซึมเศร้า และผู้ป่วยจิตเวช ) เรื่องอาการ อาการแสดง การประเมินอาการขั้นต้นแนวทางการดูแลผู้ป่วย อาการผิดปกติที่ต้องเข้ารับการดูแลโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 50บาท จำนวน50คนเป็นเงิน 2,500บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2มื้อ ๆ ละ 25 บาทจำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500บาท
รวมเป็นเงิน5,000บาท หมายเหตุ สามาารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องอาการ อาการแสดง อาการผิดปกติที่ต้องเข้ารับการรักษา
  3. ผู้ป่วยเข้ารับการดูแลเมื่อมีความผิดปกติ ในแต่ละโรค ( ซึมเศร้า ,จิตเวช )
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยซึมเศร้า อาการดีขึ้นหลังการเข้ารับการรักษา 6 เดือน
2.ความครอบคลุมในการคัดกรองซึมเศร้าในผู้ป่วยอายุ 15 ปีขึ้นไป
3.อัตราการเข้าถึงบริการในผู้ป่วยจิตเวช
4.ร้อยละการกำเริบของอาการทางจิตในผู้ป่วยที่รับการรีกษาอย่างต่อเนื่อง


>