กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

เทศบาลตำบลโตนดด้วน

ตำบลโตนดด้วน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลโตนดด้วน มีผู้สูงอายุ 60 ขึ้นไป จำนวน 1,595 คน จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 6,166 คน คิดเป็นร้อยละ 25.88 นับได้ว่ากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัจจุบันผู้สูงอายุในตำบลโตนดด้วนกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิต กล่าวคือ 1.สถานการณ์ความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่สำคัญ เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) โรคเบาหวาน 2)โรคความดันโลหิตสูง 3)โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 4)โรคซึมเศร้า 5)โรคปวดข้อกระดูก ซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารที่มีโทษ/ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอและเหมาะสม ที่น่าเป็นห่วงคือ การพบว่าแนวโน้มการเจ็บป่วยเกิดในวัยที่เร็วขึ้น ก่อนถึงอายุ 60 ปี และเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย
2.การขาดการดูแลด้านสุขภาพจากสมาชิกในครอบครัวและชุมชน พบว่า มีผู้สูงอายุที่ต้องอยู่เพียงลำพัง และอยู่กับคู่สมรสซึ่งเป็นผู้สูงอายุด้วยกัน ผู้สูงอายุต้องอยู่กับบุตรหลานวัยเยาว์ และผู้สูงอายุที่ต้องอยู่ลำพังในช่วงกลางวัน เนื่องจากสมาชิกไปทำงาน/ไปเรียนมากก่วาร้อยละ 70 และจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้การดูแลสุขภาพที่ถูกต้องแก่ผู้สูงอายุ และการขาดการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุในครอบครัว โดยน่าสังเกตว่า วัยรุ่นเป็นกลุ่มที่ขาดการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น ๆ นอกจากนี้ ชุมชนก็ขาดการจัดการด้า่นสิทธิและสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ ขาดการเยี่ยมเยียนและแบ่งปันกันดังเช่นอดีตที่ผ่านมา ซึ่งทำให้การดำเนินชีวิตในวัยสูงอายุเป็นไปยอ่างยากลำบากมากขึ้น ต้องพึ่งพาตนเอง และกลุ่ม อสม.สูง
3.การขาดการยอมรับและการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน ในอดีตผู้สูงอายุจะเป็นแหล่งความรู้แลพภูมิปัญญาของชุมชน เช่นในด้านพืขสมุนไพรท้องถิ่นเป็นประโยชน์มากก่อนที่การสาธารณสุขยังไม่ได้เข้ามาอยู่ในชุมชนปัจจุบันผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขาดการยอมรับจากชุมชนเกี่ยวกับการทำการเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากหันไปพึ่งพาสารเคมีทางการเกษตร โดยปราศจากความรู้ถึงผลกระทบต่อร่างกาย ในขณะที่การขาดภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมของเด็ก เยาวชน หันไปยึดติดกับบริโภคนิยม ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวซึ่งนำไปสู่การเกิดปัญหาหันไปพึ่งพายาเสพติดหรือการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ดังนั้นเทศบาลตำบลโตนดด้วน จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุขขึ้น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโตนดด้วน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลตามความเหมาะสมมีความรู้ มีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกาย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการดูแลสุขภาพ

30.00 30.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายที่เหมาะสม มีสุขภาพกานที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี

ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ

30.00 30.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์

ผู้สูงอายุรู็จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นและอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 30 ตน เจ้าหน้าที่ 5 คน

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นและอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 30 ตน เจ้าหน้าที่ 5 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย ขนาด 1.2x2.4 เมตร เป็นเงิน 518 บาท    1.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 35 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท 3.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 4.สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 300 บาท
รวมเป็นเงิน 7,318 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้คัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7318.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมนันทนากร/ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมนันทนากร/ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจัดซื้อไม้พลอง จำนวน 30 อันๆละ 120 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 150 บาท เป็นเงิน 900 บาท รวมเป็นเงิน 4,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สุงอายุได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพาำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน เจ้าหน้าที่ 5 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพาำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน เจ้าหน้าที่ 5 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท 3.ค่าจัดทำคู่มือการนวดแผนไทย จำนวน 30 ชุดๆละ 5 บาท เป็นเงิน 150 บาท
4.ค่าวัสดุ/อุปกรณ์    -น้ำมันสำหรับนวด จำนวนเงิน 1,050 บาท    -เบาะนวด จำนวน 5 อันๆละ 1,800 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท รวมเป็นเงิน 13,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้ความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการดูแลสุขภาพด้วยการนวดแผนไทย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13750.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 3.ชุดแปรงและยาสีฟัน จำนวน 30 ชุดๆละ 45 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 8,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพในช่องปากที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

กิจกรรมที่ 5 อบรมการบริโภคอาหารปลอดภัย ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
อบรมการบริโภคอาหารปลอดภัย ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 35 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเคร่องดื่ม จำนวน 35 คนๆละ 2 ท้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท 3.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 2,000 บาท
รวมเป็นเงิน 8,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมการ "ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ" และฟังบรรยายธรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการ "ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ" และฟังบรรยายธรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนาด้านจิตใจ สังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,868.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลตามความเหมาะสม มีความรู้ มีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกาย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
2.ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการพัฒนาด้านจิตใจ สุขภาพ สังคม
3.ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายที่เหมาะสม รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีสุขภาพจิตที่ดี


>