กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด

เขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
ตำบลโละจูด เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรในปี 2564 – 2566 เท่ากับ 193.07,79.18 และ 129.85 ต่อแสนประชากร ตามลำดับไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยเกิน 50 ต่อแสนประชากร การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยตั้งแต่ในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่1และที่ 2 พอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งใน ชุมชน สถานที่ราชการ มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบลมัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่เกินตามตัวชี้วัดกำหนด ไม่เกิน 50/แสนประชากร

128.32 50.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในมัสยิด โรงเรียนและชุมชน

อัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลงค่า HI CI ไม่เกินร้อยละ 5

4.48 5.00
3 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละะ 90

95.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการรณรงค์พ่นหมอกควันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการรณรงค์พ่นหมอกควันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เทศบาล.โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชน มัสยิด และอื่น ๆร่วมกันวางแผนดำเนินการ

2.ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย

3.รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลายโดยวิธี

3.1 ทางกายภาพรณรงค์ให้ชุมชนร่วมกับโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและมัสยิด

3.2 ใช้สารเคมีใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือนของชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและมัสยิดโดย อสม.และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย

3.3 ทางชีวภาพสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุงเช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง ต้นโหระพาการเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง

4.ติดตาม ประเมินผล

  • ค่าตอบแทนจ้างเหมาคนพ่นหมอกควัน

จำนวน 1 คน x 260 หลังคาเรือนxหลังคาเรือนละ 15 บาท

= 3,900บาท

  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง

น้ำมันดีเซล 77.65 ลิตร x 29.94 บาท
= 2,325บาท

น้ำมันเบนซิน 26.22 ลิตร x 37.75 บาท
=990 บาท

  • ค่าน้ำยาพ่นยุง
    ขนาด 1 ลิตร จำนวน 1 ขวด =340 บาท

  • ค่าสเปรย์พ่นยุง
    จำนวน 30 กระป๋อง x 60 บาท = 1,800 บาท

  • ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 129 ซอง x 5 บาท = 645 บาท

หมายเหตุทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน ๕๐ คนต่อแสนประชากร
2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
4.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5.ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย


>