กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างสุขภาพเปี่ยมสุขห่างไกลภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างสุขภาพเปี่ยมสุขห่างไกลภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

หมู่ 2,3 และ 4 (เขตเทศบาลบูเก๊ะตา) ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญและถือว่าเป็น ''ภัยเงียบ'' เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการและเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต เท้า หลอดเลือดและหัวใจ ในประเทศไทยนั้นอุบัติการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและบางรายที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานจึงไม่ได้ดูแลตนเองให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานยิ่งส่งผลให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนต่อเท้า ไต ตา ระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือดสมอง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจและยังทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร
สถานการณ์โรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดพบว่าปี พ.ศ.2566 ผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดมีทั้งหมด 164 ราย ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 128 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.61 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้มีจำนวนมาก ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเกิดภวะแทรกซ้อนสูง การให้ความรู้และสร้างความตระหนักเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้กลุ่มดังกล่าวปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด จึงเห็นความสำคัญของการให้ความรู้และเฝ้าระวังภาวะน้ำตาลในเลือด และเห็นว่าการจะป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยการทำงานเชิงรุก การมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วนและใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน ดังนั้น และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด จึงจัดทำโครงการสร้างสุขภาพเปี่ยมสุขห่างไกลภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี 2567 ขึ้น เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเเทรกซ้อนของโรคเบาหวานร้อยละ 80

65.00 80.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน ทาง ตา ไต เท้าและหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้าและหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคเบาหวานลดลง มากกว่าร้อยละ 10

12.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย
- วัดความดันโลหิต

  • เจาะระดับน้ำตาลในเลือด (DTX)

  • ตรวจเท้า

1.2 กิจกรรมย่อย
อบรมให้ความรู้ เรื่องภาวะเเทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคนละ 25 บาท ต่อมื้อ จำนวน 2 มื้อต่อวัน จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500.-บาท

  • ค่าอาหารกลางวันคนละ 50 บาท ต่อมื้อ จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500.-บาท

  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 4 ชั่วโมงๆ ละ 600.- บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 2,400.- บาท

    • ค่าวัสดุในการจัดอบรม เป็นเงิน 1,475.-บาท
  • ไวนิลจัดอบรมขนาด 1.5 x 3 เมตรเป็นเงิน 1,125.-บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานมีศักยภาพและองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเเทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเบาหวานมีศักยภาพและองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเเทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
2.ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3.ผู้ป่วยเบาหวานสามารถปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อนของโรค
4.ลดอัตราการเกิดภาวะเเทรกซ้อนของโรคเบาหวาน


>