กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้ประกอบการปลอดโทษ ผู้บริโภคปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

นางสาวลลิตา บุหลาด ตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ตรวจพบสารปนเปื้อนอันตรายและแบคทีเรียในอาหารและน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ

 

0.00
2 ตรวจพบว่ายังมีผู้ประกอบกิจการดำเนินกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

 

0.00
3 ตรวจพบการร้องเรียนเสียงดัง กลิ่น ควัน และน้ำเสีย จากการประกอบกิจการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

 

0.00

ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนําของคณะกรรมการสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเทศบาลเมืองคอหงส์ได้ตราเป็นเทศบัญญัติเทศบาลเมืองคอหงส์ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2566 เทศบัญญัติเทศบาลเมืองคอหงส์ เรื่อง การควบคุมตลาด พ.ศ. 2566 และ เรื่อง การควบคุมกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2566 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้ลงนามเห็นชอบโดยความเห็นของนายกเทศมนตรีและได้มีการประกาศใช้ ประกอบกับจากการดำเนินงานโครงการเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม พบว่า ยังมีการตรวจพบสารปนเปื้อนและแบคทีเรียในอาหารและน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ โดยสาเหตุของการปนเปื้อนในอาหารมาจากการปนเปื้อนทางเคมี (มักเกิดจากการใช้สารเคมี) การปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ (มักเกิดจากสุขลักษณะการผลิตที่ไม่ดี) และการปนเปื้อนทางกายภาพ ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้
มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์มในน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ มาจากความไม่สะอาดของอุปกรณ์กรองน้ำ ภาชนะที่เก็บน้ำ และการเก็บน้ำที่กรองออกมาจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนี้มักพบตะไคร่ในบริเวณหัวจ่ายน้ำอีกด้วย รวมทั้งจากข้อมูลการสำรวจสถานประกอบกิจการที่ผ่านมาพบว่าสถานประกอบกิจการส่วนใหญ่มักดำเนินกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และสถานประกอบกิจการมีสุขลักษณะไม่ถูกต้องตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวง ดังนั้นจึงมีความจำเป็น ต้องดำเนินโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดให้ประชาชนชาวคอหงส์ โดยดำเนินการไปพร้อมๆ กับการควบคุมให้ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบการไม่ให้มีความผิดตามกฎหมายสาธารณสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ผู้ประกอบกิจการต้องปฏิบัติในการประกอบกิจการ

ผู้เข้าอบรมต้องทดสอบความรู้หลังการอบรม โดยต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มและคุณภาพอาหาร ให้มีความปลอดภัย

สุ่มตรวจคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญในพื้นที่ ร้อยละ 100 และสุ่มตรวจสารปนเปื้อนอันตรายในอาหารครบจำนวน 100 ตัวอย่าง

0.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการกลุ่มเป้าหมาย ประกอบกิจการถูกต้องตามเทศบัญญัติเทศบาลเมืองคอหงส์

ผู้ประกอบกิจการที่เข้าร่วมอบรมดำเนินการยื่นขอรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งถูกต้อง รวมทั้งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

0.00
4 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด

ไม่มีการร้องเรียนจากผู้บริโภค

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการแก่ผู้ประกอบกิจการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการแก่ผู้ประกอบกิจการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการแก่ผู้ประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ผู้ประกอบกิจการ และผู้ประกอบกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 100 คน ซึ่งจะเน้นพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและเทศบัญญัติเทศบาลเมืองคอหงส์เรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจการตามกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ผลการทดสอบหลังอบรมต้องผ่านร้อยละ 50 จึงจะได้รับเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรม

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 35 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 100 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 10,000 บาท
3. ค่าวัสดุในการจัดทำเกียรติบัตร จำนวน 100 ใบ x 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท
4. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 แผ่น ขนาด 3 x 1.5 เมตร x 180 บาท เป็นเงิน 810 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14810.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังสารปนเปื้อนอันตรายในอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังสารปนเปื้อนอันตรายในอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เฝ้าระวังสารปนเปื้อนอันตรายในอาหาร โดยสุ่มตรวจสารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน สารโพลาร์ ในน้ำมันทอดซ้ำ และยาฆ่าแมลง จำนวน 100 ตัวอย่าง ในตลาดพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

ค่าใช้จ่าย
ค่าชุดทดสอบ
1. ค่าสารบอแรกซ์ จำนวน 1 กล่อง x 150 บาท เป็นเงิน 150 บาท
2. ค่าสารฟอกขาว จำนวน 2 กล่อง x 90 บาท เป็นเงิน 180 บาท
3. ค่าสารกันรา (ซาลิซิลิก) จำนวน 1 กล่อง x 150 บาท เป็นเงิน 150 บาท
4. ค่าฟอร์มาลิน จำนวน 20 กล่อง x 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
5. ค่าสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 1 กล่อง x 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท
6. ยาฆ่าแมลงพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 2 กล่อง x 700 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3280.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย อ.11 จำนวน 78 ตู้ (ฐานข้อมูลการสำรวจปีงบประมาณ 2565) โดยดำเนินการด้วยเจ้าหน้าที่งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม 1 ครั้ง และดำเนินการโดยเครือข่ายเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ ที่ได้แต่งตั้งไปแล้วนั้น (คำสั่งที่ 599/2566) 1 ครั้ง ซึ่งจะมีการประชุมเตรียมความพร้อมก่อนลงมือปฏิบัติ 1 ครั้ง

ค่าใช้จ่าย
1.ค่าชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่มและน้ำแข็ง (อ.11) จำนวน 250 ขวด x 15 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
2. อุปกรณ์อื่นที่ใช้ร่วมกัน เช่น สำลี แอลกอฮอล์ เป็นต้น เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน / เครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงาน / เครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินกิจกรรมและแนะนำวิธีการใช้ชุดทดสอบอย่างง่ายก่อนลงตรวจภาคสนาม

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 26 คน x 35 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 910 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
910.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ เพื่อจะได้มีข้อมูลในการแจ้งให้ผู้ประกอบกิจการยื่นขอรับใบอนุญาตและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดให้ถูกต้อง ตามที่กำหนดในเทศบัญญัติเทศบาลเมืองคอหงส์ เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2566 โดยจัดทำใบปลิวแจกผู้ประกอบกิจการและติดตามบริเวณตู้น้ำดื่มฯ ร้อยละ 100

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าจ้างจัดทำใบปลิว จำนวน 100 ใบ x 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,750.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบกิจการกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติในการประกอบกิจการ
2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด
3. ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. ลดจำนวนเหตุเดือดร้อนรำคาญจากการประกอบกิจการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ


>