กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำและอาหารปลอดภัยในชุมชน ปี 67

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1.นางดวงดาว พรหมเจียม
2.พยอมคงชำนิ
3.นางสาวธุมวดี ทองคุปต์
4.นางสาวนิยดา สุขสำราญ
5.นางอัมพรวิลันดา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง หมู่ที่ 2 ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน รวมถึงเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง ร่วมกับคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย

ร้อยละ 80 ของร้านขายของชำ ปลอดจากการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่สามารถจำหน่ายในร้านชำได้ ร้อยละ 80 ของแผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่น

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอยในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย

ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอย มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย หลังเข้าร่วมโครงการ

0.00
3 3.เพื่อเฝ้าระวังการขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพในร้านขายของชำ และเฝ้าระวัง แผงลอยจำหน่ายอาหาร

ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้รับการตรวจสอบ/ประเมินติดตาม และเฝ้าระวัง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุม อสม.และคณะกรรมการฯในการดำเนินงานโครงการฯและมาตรฐานในการตรวจร้านชำและร้านแผงลอย

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุม อสม.และคณะกรรมการฯในการดำเนินงานโครงการฯและมาตรฐานในการตรวจร้านชำและร้านแผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1ประชุม อสม.และคณะกรรมการฯในการดำเนินงานโครงการฯและมาตรฐานในการตรวจร้านชำและร้านแผง รายละเอียด -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 1 มื้อๆละ30 บาทเป็นเงิน750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.และคณะกรรมการมีความรู้ในการตรวจร้านค้า/ร้านอาหารได้ตามมาตรฐานของร้านค้า ร้านอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 2. ประชุมพัฒนาศักยภาพ อสม. ประชาชน แกนนำหมู่บ้าน ผู้ประกอบการร้านค้าและแผงลอย

ชื่อกิจกรรม
2. ประชุมพัฒนาศักยภาพ อสม. ประชาชน แกนนำหมู่บ้าน ผู้ประกอบการร้านค้าและแผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมพัฒนาศักยภาพ อสม. ประชาชน แกนนำหมู่บ้าน ผู้ประกอบการร้านค้าและแผงลอย

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 1 มื้อๆ 30 บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 คนๆละ 1 มื้อๆ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงิน 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการเลือกซื้อสินค้าและร้านค้าจำหน่ายสินค้าที่ได้มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 3 3.สำรวจและแนะนำร้านค้า ร้านแผงลอยใรชุมชนเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
3.สำรวจและแนะนำร้านค้า ร้านแผงลอยใรชุมชนเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่พร้อม อสม.ตรวจร้านค้า แผงลอย ในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้า ร้านแผงลอยได้รับการตรวจทุกร้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 .ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพ และอาหารปลอดภัย
2. ผู้ประกอบการร้านขายของชำ / แผงลอย สามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
3. ร้านขายของชำ/แผงลอย ในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ประเมินติดตาม/ตรวจสอบตามกฎหมาย


>