กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามดูแลรักษาต่อเนื่องในผู้ป่วยเบาหวานที่มี Hba1c มากกว่าหรือเท่ากับ 7 %

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามดูแลรักษาต่อเนื่องในผู้ป่วยเบาหวานที่มี Hba1c มากกว่าหรือเท่ากับ 7 %

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม

ชมรม อสม. รพสต บ้านพูด

1.นางสาวกรรณิกา ราป้อม
2.นางจรัส สะแหละ
3.นางอารี ถารีโกด
4.นายอับดลเลาะ เหล็มปาน
5.นายอ่าซาน หมัดอาดัม
6.นางก้อติหยะ ยาชะรัด

คนไข้เบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในเขต หมู่ที่ 1, 2, 8, 11, 12 และหมู่ที่13 ตำบลคลองเฉลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการตรวจ HbA1c อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

 

20.00
2 ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี (Hba1c น้อยกว่า 7 %

 

60.00

ปัจจุบันเบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาหายได้ แต่สามารถอยู่โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ โดยแพทย์จะจ่ายยาลดระดับน้ำตาล และยาควบคุมเบาหวาน ประกอบกับแนะนำการเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ จะต้องสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ได้ คือจะต้องมีค่า HbA1c น้อยกว่า 7% ผลจากการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้น ส่งผลโดยตรงต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มักจะมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในจำนวนที่สูงกว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านพูด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุงปีงบประมาณ ๒๕๖๖พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 300 คน ได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 120 คน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 115 คน คิดเป็นร้อยละ 38.33 จากข้อมูลเบื้อต้น ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จำนวน 185คน หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มทีจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ การได้รับการรักษาโรคเบาหวาน โดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคทีสมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ และการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะต้น จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการติดเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามดูแลรักษาต่อเนื่องในผู้ป่วยเบาหวานที่มี Hba1c มากกว่าหรือเท่ากับ 7 % เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงพฤติกรรมการดูแลเองที่ถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดการดูแลตนเองแบบยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (Hba1c น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 %) และได้รับความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยหลัก 3 อ 2 ส

60.00 10.00
2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการตรวจ HbA1c มากขึ้น

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการตรวจ HbA1c เพิ่มขึ้น

20.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย ในการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย ในการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฎิบัติการแก่หมอคนที่ 1 ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้องรัง จำนวน 100 คน
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 100 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 20 บาท = 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได (Hba1c มากกว่าหรือเท่ากับ 7 %) ได้รับการสำรวจครอบคลุมทุกหมู่บ้าน100%
  2. หมอคนที่1 ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังผ่านการอบรม 100 %
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ 2 ส แก่ผู้ป่วยเบาหวานที่ Hba1c มากกว่าหรือเท่ากับ 7 %

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ 2 ส แก่ผู้ป่วยเบาหวานที่ Hba1c มากกว่าหรือเท่ากับ 7 %
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ 2 ส และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานที่ Hba1c มากกว่าหรือเท่ากับ 7 % จำนวน 120 คนแบ่งการอบรมเป็น 6 รุ่นรุ่นละ 1 วัน
- ค่าอาหารว่างกลุ่มเป้าหมาย 120 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 20 บาท= 2,400 บาท
- ค่าวัสดุในการจัดอบรมจำนวน120ชุดๆละ 25 บาท= 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมาย เข้ารับการอบรม 100 %
2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมเพิ่มขึ้น 90 %

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 3 หมอคนที่ 1 ออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ( Hba1c มากกว่าหรือเท่ากับ 7)

ชื่อกิจกรรม
หมอคนที่ 1 ออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ( Hba1c มากกว่าหรือเท่ากับ 7)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเยี่ยมติดตาม เสริมพลังบวก เพื่อสร้างความมั่นใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 120 คน โดยหมอคนที่ 1
- ค่าตอบในการเยี่ยมติดตามผู้ป่วย ของหมอคนที่ 1 จำนวนผู้ป่วยจำนวน 120 คน เหมาจ่ายให้กับหมอคนที่1 100 บาทโดยต้องติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย 1 คน ต้องติดตามเยี่ยม 3 ครั้ง เป็นเงิน 12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (Hba1c น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 %)ได้รับการเยี่ยมบ้าน100%
  2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
  3. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการเยี่ยมบ้านสามารถควบคุมระดับน้ำตาลดีขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 4 เจาะเลือดผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือด โดยหมอคนที่ 2 ในกลุ่มเป้าหมาย ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 120 คน หลังจากการดำเนินกิจกรรม ให้ความรู้ และเยี่ยมบ้าน
- ค่าอาหารว่างกลุ่มเป้าหมาย 120 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 20 บาท = 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดเจาะเลือดดูค่า Hba1c ร้อยละ 90
  2. กลุ่มเป้าหมายมีค่า Hba1c น้อยกว่า 7 ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรค และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานและสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานและสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลงานตามกิจกรรมที่ได้ดำเนินงานเป็นระยะๆ ในแต่ละกิจกรรม และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. โครงการมีการประเมินผลงานตามกิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน
  2. โครงการมีการสรุปผลโครงการ
  3. นำผลการการประเมินในแต่ละกิจกรรม และผลจากการประเมินโครงการ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ร้อยละ 50
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมองแลโรคหลอดเลือดหัวใจ ตา ไต เท้า ลดลง


>