กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัย เทศบาลตำบลนาทวีนอก ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

งานส่งเสริมสุขภาพ เทศบาลตำบลนาทวีนอก

พื้นที่เทศบาลตำบลนาทวีนอกอำเภอนาทวีจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

27 พฤศจิกายน 2566 นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตินิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) ฉบับที่ 9 (306/2566) ระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซียจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอันดามัน ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งตอไปอีก 1 วัน รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบภัยสามารถเขียนโครงการด้านสุขภาพขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมตลอดจนโครงการป้องกันและแก้ปัญหาโรคหรือสุขภาพที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำลดแล้วจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือกองทุนสุขภาพตำบลตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ10(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ นั้น
สำหรับในพื้นที่เทศบาลตำบลนาทวีนอก มีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคน้ำกัดเท้า หรือ บ่อน้ำบริโภคถูกน้ำท่วมส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำดื่ม ตลอดจนการระบาดของโรคฉี่หนู จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัย เทศบาลตำบลนาทวีนอก ปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะ น้ำท่วม

ประชาชนได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะน้ำท่วม ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,313
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การมอบชุดยาสามัญประจำบ้านแก่ครัวเรือนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังเพื่อบรรเทาโรคจากน้ำท่วม

ชื่อกิจกรรม
1. การมอบชุดยาสามัญประจำบ้านแก่ครัวเรือนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังเพื่อบรรเทาโรคจากน้ำท่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย 1.ยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 1,313 ชุดๆละ 100 บาท   เป็นเงิน 131,300 บาท ยาสามัญประจำบ้าน 1 ชุด ประกอบด้วย   - ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก. 10 เม็ด   - ผงน้ำตาลเกลือแร่ (แก้ท้องร่วง) 1 ซอง   - ยาเม็ดแก้แพ้ลดน้ำมูกคลอร์เฟนิรามีน 10 เม็ด   - ยาธาตุน้ำแดง 180 มล. 1 ขวด   - น้ำยาโพวิโดน – ไอโอดีน 15 มล. 1 ขวด   - พลาสเตอร์ยา 2 ชิ้น   - สำลี 5 กรัม 1 ห่อ   - ยาน้ำกัดเท้า 15 กรัม 1 หลอด

รวมเป็นเงิน 131,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังได้รับชุดยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาโรคจากน้ำท่วมทุกครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
131300.00

กิจกรรมที่ 2 2. ทีมลงเยี่ยมเยียนเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจของครัวเรือนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม

ชื่อกิจกรรม
2. ทีมลงเยี่ยมเยียนเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจของครัวเรือนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย 1.ค่าป้ายกิจกรรมโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 ม. เป็นเงิน 430 บาท 2.ค่าน้ำดื่มขวดละ 10 บาท จำนวน 10 ขวดต่อครั้ง จำนวน 10 ครั้ง   เป็นเงิน 1,000 บาท 3.กางเกงยางพร้อมรองเท้าบูท จำนวน 10 ชุดๆละ 790 บาท   เป็นเงิน 7,900 บาท

รวมเป็นเงิน 9,330 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมได้รับการเยี่ยมเยียนเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9330.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 140,630.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพที่ตามมาจากน้ำท่วม
2. ประชาชนในพื้นที่ไม่เป็นโรคที่เกิดจากน้ำท่วม
3. ประชาชนได้รับยาสามัญประจำบ้านที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะน้ำท่วม จำนวน 1,313 ครัวเรือน


>