กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม

รพ.สต.บ้านพูด

ม.1 , ม.2 , ม.8 , ม.11 , ม.12และ ม.13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

20.00
2 ร้อยละของมารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

 

10.00
3 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

20.00
4 -ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัมไม่เกินร้อยละ 7

 

1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” ตำบลที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ
ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่ 1. 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ ช่วงที่ 2. 180 วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ช่วงที่ 3. 550 วัน อายุ 6 เดือน-2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน
จากการติดตามข้อมูลอนามัยแม่และเด็กเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านพูด ปี 2566 พบหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง 6 ราย ร้อยละ 11.11 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม 4 รายร้อยละ 7.41ในเด็ก 0- 5 ปี ไตรมาส 4 ปีงบประมาณ 2566ผลเด็กเตี้ย 57 คนร้อยละ 14.11 ค่อนข้างผอม 9 คนร้อยละ 4.66 และเด็กเริ่มอ้วนและอ้วน 3 คนร้อยละ 1.55มีพัฒนาการสมวัย ปี 2566 317 คน ร้อยละ 99.37 ข้อมูลจาก HDC ปี2566
ดังนั้น เพื่อเป็นเป็นการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง รพ.สต.บ้านพูด โดยกลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก จึงดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินการส่งเสริมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการขับเคลื่อน “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน” ภายใต้โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ซึ่งเป็นกลไกที่ มุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เด็ก ปฐมวัยมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ พัฒนาการสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมส่งต่อทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

-หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้งตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80

20.00 10.00
2 มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด  ตามเกณฑ์  ร้อยละ 90

10.00 5.00
3 เด็กแรกเกิด-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย -เด็กสูงดีสมส่วน ตามวัย

-เด็กแรกเกิด-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 86
-เด็กสูงดีสมส่วน ตามวัย ร้อยละ 68

20.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/10/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมร่วมกับหมอคนที่ 1 เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการจำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมร่วมกับหมอคนที่ 1 เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการจำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมหมอคนที่ 1 เพื่อให้มีศักยภาพในการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามมาตรฐาน
-ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆ ละ 20 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 9 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หมอคนที่1 ได้รับการอบรมครบทุกคน
  2. หมอคนที่1 มีศักยภาพในการดูแลติดตามงานแม่และเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางไลน์หมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ที่ประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน และที่ประชุม อสม
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. โครงการได้รับการประชาสัมพันธ์
  2. สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานได้ครอลคลุมมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ และผู้เลี้ยงดูเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ และผู้เลี้ยงดูเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมอบรมให้แก่หญิงตั้งครรภ์ และผู้ดูแลเด็ก จำนวน 50 คน เรื่องการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด การรู้จักสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กและการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน และให้ความรู้ ฝึกทักษะผู้เลี้ยงดูเด็กให้ส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามแนวทางคู่มือ DSPM (กิน กอด เล่น เล่า เฝ้าดูฟัน)และการติดตามประเมินภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตตามช่วงวัยทารกแรกเกิด-อายุ 5 ปี

  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆ ละ 20 บาท x 50 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 70 บาท x 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 2 คนๆ ละ 3 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวัสดุในการจัดอบรมจำนวน 50 ชุดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2567 ถึง 9 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้ความเข้าใจการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดเพิ่มมากขึ้น
  2. ผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็กได้รับความรู้และฝึกทักษะให้ส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กเพิ่มมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

กิจกรรมที่ 4 จ่ายนมกล่องให้แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกรายจำนวน 20 คน (ประมาณการ ในปี 2567)

ชื่อกิจกรรม
จ่ายนมกล่องให้แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกรายจำนวน 20 คน (ประมาณการ ในปี 2567)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อและจ่ายนมจืดแก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกรายจำนวน 20 คนๆ ละ 90 กล่องๆ ละ 15 บาท(ขนาด 250 มิลลิลิตร) เป็นเงิน 27,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกรายได้รับนมจืด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และติดตามการกินยาเม็ดเสริมไอโอดีน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และติดตามการกินยาเม็ดเสริมไอโอดีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดโดยหมอคนที่ 1
1. หมอคนที่ 1 ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ เพื่อการฝากครรภ์ให้ครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์ 2. หมอคนที่ 1 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ร่วมติดตามเยี่ยม และให้คำแนะนำแก่หญิงหลังคลอด และทารก จำนวน 3 ครั้งตามเกณฑ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน และติดตามการการได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมในเด็ก 0-5 ปี การชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง และการส่งเสริม ตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก และส่งต่อกรณีพัฒนาการล่าช้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในเด็ก 0-5 ปี การชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง และการส่งเสริม ตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก และส่งต่อกรณีพัฒนาการล่าช้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเยี่ยมติดตามประเมินภาวะโภชนาการ และพัมนาการ เด็ก 0-5 ปี
1. หมอคนที่ 1 ติดตาม ภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ทุก 3 เดือน และคืนข้อมูลแก่ชุมชน
2. เด็ก 0-5 ปี ที่พบว่าพัฒนาการล่าช้า ได้รับการติดตาม และส่งต่อโดยเจ้าหน้าที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพด้านการเจริญเติบโต และ พัฒนาการเด็ก ร้อยละ 80
  2. เด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการส่งต่อ
  3. เด็ก 0-5 ปี มีสุขภาพร่างกายที่เข็งแรง พัฒนาการสมวัย ต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการดำเนินงานและสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานและสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินผลงานตามกิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน
  2. สรุปผลงานโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการประเมินผลตามกิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน
  2. สรุปผลโครงการ
  3. นำผลที่ได้จากการดำเนินงานไปต่อยอดพัฒนาในปีถัดไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้งตามเกณฑ์
2. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดตามเกณฑ์
3. เด็กแรกเกิด-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 86 โภชนาการสมส่วน ตามวัย ร้อยละ 68
4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ และผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
5.เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย


>