กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนนำร่องส่งเสริมป้องกันทันตสาธารณสุข ในเขตเทศบาลตำบลคลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล

1. นางวีรียามาลินี
ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
เบอร์โทรศัพท์ 089-7323458
2. นางสาวมริณา แดงงาม
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข
เบอร์โทรศัพท์ 088 – 7854423
ที่อยู่ กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล

หมู่ที่ 1,2,5 และ 6 ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้รับบริการรักษาการเกิดโรคในช่องปาก ตั้งแต่ระยะแรก

 

42.35

ปัญหาสุขภาพช่องปาก เป็นปัญหาสำคัญในทุกกลุ่มวัย แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในประชาชน ในกลุ่มอายุต่างๆ อาทิ กลุ่มเด็กปฐมวัยเด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน และในวัยผู้สูงอายุ แล้วนั้นแต่ก็ยังเห็นได้ชัดว่า ปัญหาเรื่อง ทันตสุขภาพยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของประชาชนในทุกกลุ่มอายุ หากประชาชนมีโรคทางด้านทันตสุขภาพ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ก็จะส่งผลให้สูญเสียฟันและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในองค์รวม ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา เนื่องจากข้อจำกัดของจำนวนทันตบุคลากรทำให้ไม่สามารถติดตามดูแลสุขภาพช่องปากในระดับครัวเรือนได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยผู้นำสุขภาพในหมู่บ้านซึ่งมีความสำคัญและมีบทบาทในการเป็นผู้นำการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เป็นนักพัฒนา นักวิเคราะห์และวางแผนสุขภาพชุมชนได้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิต พร้อมกับเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการงานพัฒนาประชาชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ และองค์กรต่างๆ ในชุมชน เพื่อพาชุมชนไปสู่เป้าหมายสุขภาวะ ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน การดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านมานั้นไม่มีรูปแบบการดำเนินงานในการเป็นผู้นำด้านทันตสุขภาพที่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถขยายการดำเนินงานทันตสุขภาพสู่ระดับครัวเรือนและระดับหมู่บ้านได้ ในการนี้เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของประชาชนในชุมชน โดยภาคีเครือข่ายในหมู่บ้านมาเป็นแกนนำในการส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน จะต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาศักยภาพด้านทันตสุขภาพของภาคีเครือข่ายในหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลคลองขุด ให้มีทักษะและความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพช่องปากระดับครัวเรือน การเฝ้าระวังการเกิดโรคในช่องปาก และเผยแพร่ความรู้ด้านทันตสุขภาพต่อชุมชนได้ กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการชุมชน นำร่องส่งเสริมป้องกันทันตสาธารณสุข ในเขตเทศบาลคลองขุดขึ้น เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพช่องปากในระดับชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัยในชุมชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้รับบริการรักษาตั้งแต่ระยะแรกได้อย่างรวดเร็ว

42.35 30.15

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้แกนนำเครือข่ายด้านทันตสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้แกนนำเครือข่ายด้านทันตสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้       - อบรมให้ความรู้เรื่องทันตสาธารณสุข แยกเป็น 5 ฐาน         การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง       - สาธิตการดูรอยโรคในช่องปาก งบประมาณ
    กิจกรรมที่ ๑ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ แกนนำเครือข่ายด้านทันตสาธารณสุข ๑.  ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมประชุม และคณะทำงาน (กิจกรรมอบรม)
     จำนวน 50 คน x 70 บาท                         เป็นเงิน    3,500  บาท ๒. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุม และคณะทำงาน (กิจกรรมอบรม)   2 มื้อ
     จำนวน  50 คน x 30 บาท                        เป็นเงิน   3,000  บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง x 300 บาท      เป็นเงิน   1,8๐๐  บาท
4. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์  1.2 x 1.5 เมตร            เป็นเงิน    540     บาท 5. วัสดุอุปกรณ์การอบรม
- เอกสารการดูแลสุขภาพช่องปาก ชุดละ 25 บาท x 50 คน  เป็นเงิน 1,250 บาท
- ชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดการดูแลสุขภาพช่องปาก (แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน) ชุดละ 60 บาท x 50 คน
เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลทันตสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปดูแลคนในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13090.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้และคัดกรองสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้และคัดกรองสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้และคัดกรองสุขภาพช่องปาก       - แกนนำเครือข่ายด้านทันตสาธารณสุข ให้ความรู้ คัดกรองสุขภาพช่องปาก และคำแนะนำในชุมชนที่รับผิดชอบ งบประมาณ
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้และคัดกรองสุขภาพช่องปาก 1. คู่มือความรู้ด้านทันตสุขภาพแก่ประชาชน   จำนวน 100 เล่ม ๆละ 50 บาท   เป็นเงิน      5,000  บาท 2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ 2 มื้อ จำนวน  50 คน x 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 3. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ  จำนวน 50 คน x 70 บาท    เป็นเงิน    3,500  บาท                 รวมเงินในกิจกรรมที่ ๒ ทั้งสิ้น   เป็นเงิน      11,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลทันตสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปดูแลคนในชุมชนได้
  2. ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง
  3. ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้รับบริการรักษาตั้งแต่ระยะแรกได้อย่างรวดเร็ว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,590.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่าง ๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริงกิจกรรมสถานที่และเวลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลทันตสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปดูแลคนในชุมชนได้
2. ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง
3. ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้รับบริการรักษาตั้งแต่ระยะแรกได้อย่างรวดเร็ว


>