กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองจิก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารสะอาด ปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองจิก

ชมรมสุขาภิบาลอาหาร เทศบาลตำบลหนองจิก

1.นางนริสา บุญเทียม ประธานชมรมสุขาภิบาลอาหาร
2.นางนูรียะห์ กาซอ รองประธานชมรม
3.นางดารุณี ณ สงขลา กรรมการ
4.นายอิบรอฮิม ดอเลาะ กรรมการ
5.นางสาววนิดา หัดเก็บ กรรมการ

ณ อบรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองจิก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองจิก

 

80.00

ตามนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาดและนอกจากนี้อาหารยังเป็นหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาด และปราศจากสารปนเปื้อน เพราะประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบกิจการที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อน เชื้อโรคลงสู่อาหาร
ดังนั้น การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ จึงตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอาหารสะอาด ปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพ สำหรับผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้ที่สัมผัสอาหาร เพื่อเป็นการดูแลสภาพสุขาภิบาลของร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ควบคุมคุณภาพอาหารที่จำหน่ายให้สะอาด และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองจิก

การลงพื้นที่่ร้านอาหารในเขตพื้นที่เทศบาลเพื่อตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัย

80.00 100.00
2 เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของอาหาร ลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยของประชาชน

ลงพื้นที่ตรวจคุณภาพของร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารทุกร้านในเขตเทศบาล

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2024

กำหนดเสร็จ 28/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร ผู้ประกอบกิจการ/ผู้สัมผัสอาหาร เป็นเงิน 13,850 บาท

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร ผู้ประกอบกิจการ/ผู้สัมผัสอาหาร เป็นเงิน 13,850 บาท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 35 คน *35 บาท /จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน2,450 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 35 คนๆละ ๗๐ บาท เป็นเงิน2,450 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 400 บาท * 3 คน เป็นเงิน 7,200 บาท
  4. ค่าของที่ระลึกให้กับผู้ประกอบการ จำนวน 35 คน * 50 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มกราคม 2567 ถึง 8 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารร้านอาหาร มีความรู้และความเข้าใจในการดำเนินงานพัฒนาสถานที่จำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจร้านอาหารตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร และตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารด้วย SI-2 และรณรงค์ให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจร้านอาหารตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร และตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารด้วย SI-2 และรณรงค์ให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุ อุปกรณ์ โครงการฯ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระดาษทำเกียรติบัตร , อุปกรณ์สาธิตในการอบรม เป็นเงิน 6150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มกราคม 2567 ถึง 11 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในเขตพื้นที่ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 2.ร้านอาหารทุกร้านในเขตเทศบาลสะอาด ปลอดภัยมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในเขตพื้นที่ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
2. ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารร้านอาหาร มีความรู้และความเข้าใจในการดำเนินงานพัฒนาสถานที่จำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน


>