กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลศรีสาคร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาภาวะอุทุกภัย เทศบาลตำบลศรีสาคร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลศรีสาคร

ศูนย์ดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลศรีสาคร

๑…นายนิโซ๊ะ นิเยะ……
๒…นายอารักษ์ หะยีดารียอ……
๓…นายอดุล อดุลภักดี……
๔…นายมะซูรี เจ๊ะเอ๊ะ……..
๕…นายซู มะหลี……..

เทศบาลตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

 

16.00

ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ จ.นราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้เกิดอุทุกภัยทั้ง 13 อำเภอของจังหวัด โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า มีประชาชนได้รับผลกระทบ 28,049 ครัวเรือน หรือคิดเป็นประชาชน 109,545 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธ.ค. 2566 เวลา 18.00 น.) และสร้างความเสียหายแก่โรงเรียน มัสยิด วัด สถานที่ราชการหลายแห่ง ข้อมูลของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) แจ้งปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงของวันที่ 25 ธ.ค. จากระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติที่ร่วมกันทั้ง 52 หน่วยงาน พบว่าใน จ.นราธิวาส มีฝนตกหนักมากทุกพื้นที่ โดยเฉพาะ อ.รือเสาะ และ อ.ศรีสาคร มีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 651 มม. ซึ่ง สสน. ระบุว่า อาจจะเป็นปริมาณฝนที่ตกสูงสุดที่พบในไทย ตั้งแต่ปี 2489
เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมตลอดจนโครงการป้องกันและแก้ปัญหาโรคหรือสุขภาพที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำลดแล้วจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือ กองทุนสุขภาพตำบลตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ10(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะอุทกภัยในพื้นที่
สำหรับในพื้นที่ เทศบาลเทศบาลตำบลมีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคน้ำกัดเท้า หรือ บ่อนำ้บริโภคถูกนำ้ท่วมส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำดื่ม ตลอดจนการระบาดของโรคฉี่หนู หรือ โรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องดำเนินโครงการเผชิญและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(ร้อยละ)

16.00 16.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/12/2023

กำหนดเสร็จ 27/01/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาเวชภัณฑ์สำหรับใช้เพื่อบรรเทาปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอุทกภัย

ชื่อกิจกรรม
จัดหาเวชภัณฑ์สำหรับใช้เพื่อบรรเทาปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอุทกภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจผลกระทบด้านสุขภาพจากอุทกภัย
  2. จัดหาเวชภัณฑ์สำหรับใช้เพื่อบรรเทาปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอุทกภัย
  3. ลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนที่ประสบอุทกภัยและมอบยาสามัญประจำบ้าน
  4. ติดตามประเมินผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 ธันวาคม 2566 ถึง 27 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอุทกภัยลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนไม่เกิดโรคจากน้ำท่วม
2. ประชาชนได้รับการดูแลเบื้องต้นทางสุขภาพภายหลังจากน้ำท่วม


>