กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านนาโหนด

1.นายสุรศักดิ์ พิศพักตร์
2.นางทัศนีย์ พรหมเศรษฐ์
3.นางสาวเสาวภาคย์ไชยปุริวงศ์
4.นางวรรณดี จันทร์เทพ
5.นายผัน คงวงค์

หมู่ที่ 1, 3 ,6 และ 10 ต.นาโหนด อ.เมือง จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร ผ่านมาตรฐาน CLEAN FOOD GOOD TASTE) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขน้อยกว่า 90 %

กระทรวงสาธารณสุขดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและสนับสนุนเศรษฐกิจไทย “CLEAN FOOD GOOD TASTE” อาหารสะอาดรสชาติอร่อย โดยคณะ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านนาโหนดได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเป็นภารกิจที่สำคัญจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องใน ปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยได้รับป้ายรับรองมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร (อาหารสะอาดรสชาติอร่อย CLEAN FOOD GOOD TASTE) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของร้านอาหารและแผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ปัจจุบัน มีร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร จำนวน 33 ร้าน ที่ผ่านมาตรฐาน CLEAN FOOD GOOD TASTE) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขฉะนั้นปี 2567 จึงต้องดำเนินการต่อเนื่องและคงสภาพของร้านอาหารเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาโรคติดต่อที่เกิดจากน้ำและอาหารเป็นสื่อและผู้สัญจรที่ใช้ถนนเพชรเกษม ผ่านตำบลนาโหนด นิยมบริโภคอาหารจากสถานที่สะอาดและบรรยากาศดีและพึงพอใจรสชาติอาหารในราคาที่เหมาะสม ผู้ประกอบการ ฯ จึงต้องตระหนักและจำหน่ายอาหารที่ดีมีคุณภาพต่อไป

33.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และภาชนะบรรจุอาหารในร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และโรงอาหาร

ตัวอย่างอาหาร และภาชนะบรรจุอาหารในร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และโรงอาหาร ได้รับการตรวจ (ร้าน)

33.00 33.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร มีความตระหนักและจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ

ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร มีความตระหนักและจำหน่ายอาหารที่คุณภาพ(ร้าน)

33.00 33.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร 33

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจตัวอย่างอาหาร และภาชนะบรรจุอาหาร ในร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และโรงอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ตรวจตัวอย่างอาหาร และภาชนะบรรจุอาหาร ในร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และโรงอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจตัวอย่างอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร และมือผู้ประกอบการของร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
  • ตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียของร้านขายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารโดยใช้ชุดทดสอบภาชนะสัมผัสอาหารและมือ SI-2
  • ค่าชุดทดสอบ SI-2 จำนวน 7 กล่อง (บรรจุ 50 ขวด) กล่องละ 1,800 บาท เป็นเงิน 12,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จนท./ อสม.ออกตรวจร้าน จำนวน 7 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 2 วัน เป็นเงิน 700 บาท
  • ค่าอาหารเที่ยง จนท./ อสม.ออกตรวจร้าน จำนวน 7 คน x 50 บาท x 1 มื้อ x 2 วัน เป็นเงิน 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข33ร้าน (100%)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาหาร ภาชนะบรรจุอาหารในร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารและโรงอาหารได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 95
2.ผู้ประกอบการร้านขายของชำ ร้านขายอาหารสด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารมีความตระหนักและจำหน่ายอาหารที่คุณภาพ ไม่ตรวจพบสารปนเปื้อน ร้อยละ 95


>