กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเปียะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเปียะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลคลองเปียะ.

รพสต. คลองเปียะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
โรคเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาเป็นเพียงแค่การประคับประคองไมให้โรคลุกลามขึ้น และผู้ป่วยต้องรับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือส่วนใหญ่ต้องรักษาไปตลอดชีวิต ซึ่งนอกจากบั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิตแล้ว ยังเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของตัวผู้ป่วยเอง และส่งผลถึงเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมด้วย และหากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมโรคได้ ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงตามมา โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นภาวะวิกฤตในปัจจุบัน คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งปัจจัยสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรัง คือ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ไม่รับประทานผัก ผลไม้ไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายเกินไป และการใช้สารเสพติด เป็นต้น ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองเปียะ พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น อีกทั้งผลจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อันเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ก็พบว่าจำนวนประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวต้องกลายเป็นกลุ่มป่วย และการทำให้กลุ่มเสี่ยงกลับมาเป็นกลุ่มปกติ จึงได้มีการดำเนินงานกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโดยขยายไปในทุกหมู่บ้าน รวมไปถึงการพัฒนาและส่งเสริมให้มีกิจกรรมการออกกำลังกายในหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชผักสวนครัว หรือสมุนไพรไว้รับประทานเองในแต่ละครัวเรือน สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีการติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน ด้วยการคัดกรองโรคช้ำในกลุ่มประชาชนที่เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการสนับสนุนสื่อเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองเปียะ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโครงการที่จัดการความรู้โรคเรื้อรัง ที่มีประสิทธิภาพ ให้ผู้ป่วยมีความตระหนักเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการกับปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่ตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก เป็นการชะลอภาวะแทรกซ้อนและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ช่วยให้ผู้ที่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีในภาวะเจ็บป่วย และสามารถดำเนินชีวิตปัจจุบันอย่างเป็นปกติสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละ 60 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงโครงการและวางแผนการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานมีความเข้าใจในโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร 3 คนๆละ 2 ชม.ๆ ละ 600 บาทจำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 70 บาท วันละ 60 คน จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม วันละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท วันละ 60 คน จำนวน 2 วัน
    เป็นเงิน3,600 บาท
  4. ค่าวัสดุฝึกอบรม เป็นเงิน 3,600 บาท

- แฟ้มพลาสติก จำนวน 60 อันๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 900 บาท - สมุด จำนวน 60 เล่ม ๆละ 15 บาท เป็นเงิน 900 บาท -ปากกา จำนวน 60 อันๆละ 6 บาท เป็นเงิน 360 บาท 5. ป้ายขนาด 1.2x2 เมตร เป็นเงิน 360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคคลกลุ่มเสี่ยงได้ความรับความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13920.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม วันละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาท/คน/วัน ละ 60 คน จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลเบื้องต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
3. เกิดเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ


>