กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขนุน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยห่างไกลโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขนุน

โรงเรียนบ้านขนุน

โรงเรียนบ้านขนุน

โรงเรียนบ้านขนุน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์’ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากร ซึ่งจากรายงานของระบบสถิติทางการทะเบียนแจกแจงข้อมูลให้เห็นว่า ในปี 2022 ประเทศไทยเข้าสู

 

50.00

โรงเรียนบ้านขนุน ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลาสภาพบริบทโดยทั่วไปของโรงเรียนบ้านขนุนมีเนื้อที่ 21 ไร่ อยู่ห่างจากอำเภอสิงหนคร ประมาณ 10 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดสงขลา ประมาณ 33 กิโลเมตร สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะหนาแน่น มีประชากรประมาณ 2,700 คน
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านขนุน ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3มีนักเรียนจำนวน 244 คน มีผู้อำนวยการ 1 คน ข้าราชการครู 12 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน นักการภารโรง 1 คน รวมบุคลากรจำนวน 17 คน ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง ก่อสร้าง และทำงานโรงงานคิดเป็นร้อยละ 40.00 ทำสวนและประมงคิดเป็นร้อยละ 60.00 นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 30.00นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 70.00 ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้เฉลี่ย ต่อครอบครัว ต่อปี60,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว5 คนคนในชุมชนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย นักเรียนมาจากสภาพพื้นฐานครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน พ่อแม่หย่าร้างหรือต้องทำงานรับจ้างที่อื่นจึงต้องพักอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายายที่มีอายุมาก การดูแลเอาใจใส่ด้านพฤติกรรมและการเรียนจึงไม่ดีเท่าที่ควรมีปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงที่ต่ำกว่าเกณฑ์เจ็บป่วยง่ายทำให้ขาดเรียนบ่อยสุขภาพของด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่ค่อยข้างแออัด เกิดโรคไข้เลือดออก และโรคอื่นๆ ตามมา
โรงเรียนได้ดำเนินการแก้ปัญหาด้านสุขภาพโดยการส่งเสริมการออกกำลังกาย ด้านภาวะทุพโภชนาการ การจัดอาหารที่มีคุณภาพ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ด้านโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถลดระดับปัญหาลงได้ระดับหนึ่งแต่ปัญหาเร่งด่วนโดยเฉพาะด้านสุขอนามัย ในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายไม่แข็งแรงเนื่องจากขาดการออกกำลังกาย การส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ถูกวิธี ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ร่างกายจะเจริญเติบโต มีสุขภาพที่สมบูรณ์ เมื่อได้รับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีเพื่อสร้างความพร้อมในการเรียนรู้ให้กับเด็กในวัยเรียน สุขภาพที่ดีย่อมเป็นฐานรากที่สำคัญในการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม
จากผลการดำเนินงานของโรงเรียนบ้านขนุนเกี่ยวกับด้านสุขภาพนักเรียน พบว่า ขาดความตระหนักในการดูแลเอาใจใส่สุขภาพ โดยเฉพาะ โรคไข้เลือดออกและปัญหาเยาวชนในชุมชนมีภาวะเสี่ยงการติดสารเสพติด ด้านการขาดการออกกำลังกายเนื่องจากใช้โทรศัพท์มือถือ ติดเกมออนไลน์ ส่งผลต่อการเรียน ดังนั้นโรงเรียนบ้านขนุน โดยคณะครู ผู้บริหารคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้นำชุมชนเห็นความสำคัญในการใส่ใจดูแลสุขภาพของนักเรียน คนในครอบครัว และชุมชนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ห่างไกลโรคขึ้นเพื่อให้ครูและบุคลากร ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีและเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง

นักเรียนร้อยละ 80  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง

50.00 70.00
2 2 เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

นักเรียน  ร้อยละ 80  มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ

50.00 70.00
3 3 เพื่อให้นักเรียนใส่ใจการออกกำลังกายและรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

นักเรียนร้อยละ 90 ใส่ใจการออกกำลังกายและรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. อบรมเสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. อบรมเสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้โรคภัยต่างๆ และการป้องกันโรค นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 140 คน

  • ค่าวิทยากร 2 คน จำนวน 2 ชม.ชั่วโมงละ 600บ. 600 x 2X 2 คน = 2,400  บาท
    • ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ มื้อละ 30 บ. เป็นเงิน 30 บ. x 140 คน = 4,200 บาท.
    • ค่าวัสดุ 30 บ.x  140 คน =   4,200 บ. เช่น วัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม
    • ค่าไวนิล 3*2 เมตร   =  900  บ. รวม 11,700 บาท *** หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความจำเป็น
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ โรคภัยต่างๆ และการป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยกีฬา นักเรียนชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3  การเล่นฟุตบอล  ฟุตซอล วอลเลย์บอล  และตะกร้อ

ค่าวิทยากรผู้นำออกกำลังกาย 10 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท  =  3,000 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์กีฬา ลูกวอลเลย์บอล จำนวน 15 ลูกๆ 900 บาท  = 13,500 บาท ลูกฟุตบอลเด็กอนุบาล จำนวน  6 ลูกๆ 300 บาท = 1,800 บาท รวม  18,300 บาท *** หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความจำเป็น

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีกิจกรรมทางกายด้วยกีฬา เพิ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
2. นักเรียนใส่ใจในการออกกำลังกายและรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3. นักเรียนมีสุขภาพที่ดีตามหลักสุขอนามัย


>