กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ คนรุ่นใหม่ ใส่ใจโรคซึมเศร้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองคอหงส์

1. นายธีระยุทธิ์ หีมโต๊ะ
2. นายวรวัฒน์ ไชยโรจน์
3. นางสาวชลิตา ถาวร
4. นางสาวจิราลักษณ์ มรรคคงคา
5. นายณรงค์สิทธิ์ ศรีสมภาร

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เยาวชนมีโรคซึมเศร้าและความเครียดมากขึ้น

 

0.00
2 เยาวชนไม่เห็นคุณค่าในตนเองและไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

 

0.00
3 เยาวชนขาดการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ

 

0.00
4 เยาวชนมีการฆ่าตัวตายมากขึ้น

 

0.00

ปัจจุบันปัญหาโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนของประเทศไทย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน ปัญหาภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สำคัญของประเทศ และเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อตัววัยรุ่น ครอบครัวและสังคม จากสถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความซึมเศร้าและความเครียดเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง ทุกเวลา ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การที่มีความเครียดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพซึ่งในกลุ่มเยาวชนมีความเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม ครอบครัวและเศรษฐกิจ ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ส่งผลให้มีความเครียด วิตกกังวล ทำให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวังเบื่อหน่าย ความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเองลดลง มีภาวะซึมเศร้า ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางบุคลิกภาพส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิดการตัดสินใจ และการนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตายซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของวัยรุ่นในประเทศไทย ดังนั้นทางสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองคอหงส์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจึงได้จัดทำโครงการ คนรุ่นใหม่ ใส่ใจโรคซึมเศร้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้า เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในเด็กและเยาวชน

ผู้เข้าร่วมอบรม เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และการป้องกันภาวะซึมเศร้าได้ รวมทั้งสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีภาวะซึมเศร้า สามารถใช้ความรู้ในการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่กลุ่มเสี่ยง ในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน ได้ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจคัดกรองวัดระดับความซึมเศร้าและความเครียดก่อนเข้าร่วมโครงการ
  • จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้สถานการณ์ความเครียดและปัญหาซึมเศร้าในปัจจุบัน สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า
  • วิธีสังเกตอาการแสดงภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
  • กลยุทธ์ และวิธีการป้องกันรักษาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
  • คัดกรองกลุ่มเสี่ยงในเยาวชน
  • สรุปและรายการผลการดำเนินงานโครงการ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน x 600 บาท x 10 ชั่วโมง เป็นเงิน 12,000 บาท
2. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร x 180 บาท เป็นเงิน 540 บาท
3. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท
4. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 80 คน x 100 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 16,000 บาท
5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 35 บาท x 4 มื้อ เป็นเงิน 11,200 บาท
6. ค่ากระเป๋าผ้าพร้อมสกรีนข้อความ จำนวน 80 ใบ x 100 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48740.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,740.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
2. เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้าได้
3. เยาวชนมีบริการด้านสุขภาพที่ดีขึ้นและลดภาวะโรคซึมเศร้าได้น้อยลง
4. เยาวชนลดการฆ่าตัวตาย


>