กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ สู่สุขภาพดีถ้วนหน้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคอหงส์

1. นายลัภย์ หนูประดิษฐ์
2. นายปรีชา อุนทรีจันทร์
3. นางพัทนัย แก้วแพง
4. นายเสนอ แน่นแผ่น
5. นายอิสะ ขวัญทอง

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุมีพัฒนาด้านสุขภาพกายที่เหมาะสม

 

0.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุมีพัฒนาด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

0.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
“สังคมสูงวัย” กลายเป็นสถานการณ์ทางสังคมที่ทราบกันดีว่า เราทุกคนล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง และต้องร่วมเดินไปด้วยกัน ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 และมีอัตราการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว และคาดว่าในปี 2583 จะมีประชากรผู้สูงอายุวัยปลาย หรือผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าตัว ด้วยความจริงที่ว่า คนยิ่งมีอายุมากขึ้น ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อ ความเจ็บป่วย และความพิการหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เพิ่มมากขึ้น จึงพอเห็นภาพได้ว่าในอนาคตเมื่อสังคมไทยสูงวัยมากขึ้น ความต้องการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุจะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว นอกจากนี้ สภาพการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในชนบท ผู้สูงอายุเปรียบเสมือนผู้ที่ถูกลืมจากสังคม ถูกทอดทิ้งให้จับเจ่าอยู่แต่ในบ้านอย่างเหงาหงอย เกิดทัศนเชิงลบต่อตนเอง คือรู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า ในขณะที่ผู้สูงอายุในเขตเมืองก็ต้องอยู่แบบต่างคนต่างอยู่ มีความผูกพันกันน้อย ทำให้ผู้สูงอายุต้องมีทักษะชีวิตบางประการ เพื่อช่วยให้สามารถเผชิญปัญหาและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาได้อย่างเหมาะสมประเทศไทยมีเป้าหมายทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การมีอายุยืนยาวและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การที่ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงในทุกช่วงวัย ทำให้มีอายุยืนยาว เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ซึ่งการมีอายุยืนยาวไม่เจ็บป่วยเป็นโรค เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเนื่องจากคุณภาพชีวิตประกอบด้วยสุขภาพในหลายด้านรวมกัน ได้แก่ 1.สุขภาพทางกาย (physical health) คือ มีสภาพร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีการพัฒนาที่เหมาะสมกับวัยสังเกตได้จากการที่บุคคลนั้นมีความสมบูรณ์แข็งแรง ระบบอวัยวะทุกส่วนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ร่างกายมีสมรรถภาพสูง สามารถทำงานได้นาน ๆ โดยไม่เหนื่อยง่าย การนอนและการพักผ่อนเป็นไปตามปกติ ผิวพรรณผุดผ่อง รูปร่างทรวดทรงสมส่วน เป็นต้น 2.สุขภาพทางจิต (mental health) คือ มีสภาพจิตปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้มีสุขภาพจิตดีย่อมมีผลมาจากสุขภาพกายดีด้วย หรือคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์”3.สุขภาพทางสังคม (social health) คือ การมีสภาพของความเป็นอยู่ หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน สามารถเข้ากับบุคคลและชุมชนได้ทุกสถานะอาชีพ ไม่เป็นคนถือตัว ไม่เป็นคนเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น เป็นที่เคารพรักและเป็นที่นับถือของคนทั่วไป และ 4.ภาวะสุขภาพโดยทั่วไป (general health) โดยองค์กรอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของ “สุขภาพ” ว่าไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรค แต่หมายถึงการมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับนิยามของคุณภาพชีวิตที่กล่าวว่า “คุณภาพชีวิต เป็นการรับรู้ความพึงพอใจและสถานะของบุคคลในการดำรงชีวิตในสังคม โดยจะสัมพันธ์กับเป้าหมายและความคาดหวังของตนเอง ภายใต้บริบทของวัฒนธรรมค่านิยม มาตรฐานของสังคม”
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการ “พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ สู่สุขภาพดีถ้วนหน้า” ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลด้านต่างๆ และมีความสุขในการดำเนินชีวิตในสังคม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการพัฒนาทางด้านสุขภาพกายที่เหมาะสมกับวัย

ผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีพัฒนาด้านสุขภาพกายที่เหมาะสม

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่เหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ

ผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีพัฒนาด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ปกติ

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะทางสังคม ความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผู้สูงอายุร้อยละ 80 อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2567
    (ผ่านช่องทางต่างๆ ของเทศบาลเมืองคอหงส์) (เครือข่ายอพม. , สตรี และประธานชุมชน )
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รวบรวมรายชื่อผู้สูงอายุที่สนใจเข้ารับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีถ้วนหน้า
  • ตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น และการซักประวัติจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเตรียมตัวเข้ารับการพัฒนาศักยภาพ
    ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองคอหงส์ (บ้านคลองเตย)
  • (โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ เทศบาลเมืองคอหงส์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสังคมสงเคราะห์กองสวัสดิการสังคม)
  • เจ้าหน้าที่จากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประเมินดัชนีความสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินดัชนีความสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประเมินดัชนีความสุขคนไทย กับผู้สูงอายุ ทุกราย เพื่อเปรียบเทียบภายหลังจบการพัฒนาศักยภาพ
  • โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ เทศบาลเมืองคอหงส์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุสู่สุขภาพดีถ้วนหน้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุสู่สุขภาพดีถ้วนหน้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุสู่สุขภาพดีถ้วนหน้า

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 100 คน x 100 บาท x 24 มื้อ เป็นเงิน 240,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 24 วัน เป็นเงิน 168,000 บาท
3. ค่าสมนาคุณวิทยากร ครั้งละ 3 ชั่วโมง จำนวน 20 ครั้ง x 3 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท
4. ค่าสมนาคุณวิทยากร ครั้งละ 3 ชั่วโมง จำนวน 4 ครั้ง x 3 ชั่วโมง x 1,200 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
5. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 2 ผืน ขนาด 2 x 3 เมตร x 180 บาท เป็นเงิน 2,160 บาท
6. ค่ากระเป๋าผ้าพร้อมสกรีนข้อความ จำนวน 100 ใบ x 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
470560.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 471,560.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ มีสุขภาพดีถ้วนหน้า และคุณภาพชีวิตที่ดี
2. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม


>