กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสามีร่วมใจใส่ใจดูแลลดภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

รพ.สต.โล๊ะจูด

พื้นที่เขตรับผิดชอบเทศบาลตำบลโล๊ะจูด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ (Antepartum Depression) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง โดยมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ มีผู้หญิงตั้งครรภ์จำนวนร้อยละ 14- 23 ประสบกับภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์ และมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ทั้งอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงและอาการ ครรภ์เป็นพิษและมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดการป้องกันจึงถือเป็นด่านแรกในการรับมือกับโรคซึมเศร้าซึ่งทำได้โดยให้ความรู้กับหญิงตั้งครรภ์สามีและบุคคลในครอบครัวเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการมีบุตร และการเตรียมตัวทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์สังคม และเศรษฐกิจภายในครอบครัวเพื่อรองรับบุตรที่จะเกิดมา โดยเฉพาะบิดาควรจะเอาใจใส่มารดาหลังคลอดมากขึ้น
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดมีภาวะซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ68ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก และจากการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด ได้เห็นความสำคัญของโรคซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์ จึงได้จัดทำโครงการสามีร่วมใจใส่ใจดูแลภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์ขึ้นเพื่อให้เกิดสุขภาพกายและใจที่ดีของมารดาและทารก ส่งผลให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1..เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า แก่ หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติ

1.มีไวนิลประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องภาวะภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์ 2.หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติที่เข้าร่วมโครงการทุกราย ได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า

80.00 100.00
2 2.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสามีในการลดภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์

สามีของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการทุกรายมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์

25.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สามีและญาติหญิงตั้งครรภ์ 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า แก่ หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า แก่ หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1เมตรx2 เมตร จำนวน 1 แผ่น = 500บาท

-ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โรคซึมเศร้า ขนาด 1เมตรx2 เมตรจำนวน 4 แผ่น = 2,000บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25x2x60 = 3,000 บาท

-ค่าอาหาร 50x60 = 3,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติที่เข้าร่วมโครงการทุกราย ได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า
2.หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสามีในการลดภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสามีในการลดภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงินจำนวน 1,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามีของหญิงตั้งครรภ์มีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์มากกว่าร้อยละ80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพจิตที่ดีลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย


>