กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ลดขยะอินทรีย์ ลดโรค (ทำน้ำหมักชีวภาพ และน้ำยาเอนกประสงค์)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กลุ่มพัฒนาสตรีเทศบาลเมืองคอหงส์

1. นางกนกวรรณ วีระเดชะ
2. นางสุคนธ์ นิลสุวรรณ
3. นางธภัทร ไชยทอง
4. นางสุพรรณี เม่งช่วย
5. นางนวรัตน์ สมบูรณ์

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะของครัวเรือน

 

0.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรู้และการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพ และน้ำยาเอนกประสงค์

 

0.00

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากสารเคมีปนเปื้อนในสภาวะแวดล้อม และแหล่งน้ำ ส่งผลต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพ หากได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกายในปริมาณมากๆ จะเห็นได้จากประชาชนในระดับครัวเรือน หรือเกษตรได้เริ่มมาให้ความสำคัญกับการดำรงชีวิตที่เป็นที่มิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำน้ำหมักชีวภาพและน้ำยาเอนกประสงค์ กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทำในระดับครัวเรือนและชุมชนที่สนใจ แต่ยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องกระบวนการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษาและการตรวจคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำน้ำหมักชีวภาพและน้ำยาเอนกประสงค์

ดังนั้น กลุ่มพัฒนาสตรีเทศบาลเมืองคอหงส์ จึงมีแนวคิดที่จะนำวัสดุที่เหลือใช้จากเศษอาหาร เปลือกผลไม้ เช่น เปลือกส้ม เปลือกสับปะรด แตงโมและเศษผักต่างๆ นำมาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย แก้ไขปัญหาขยะอินทรีย์ที่ส่งกลิ่นเหม็น เรียนรู้วิธีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี การเอาจุลินทรีย์ EM มาช่วยในการเร่งปฏิกิริยาย่อยสลายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เหลือใช้เป็นน้ำจุลินทรีย์ หรือน้ำหมักชีวภาพ เพื่อไปทำการล้างท่อลดปัญหาการส่งกลิ่นเหม็นทดแทนการใช้สารเคมี ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับนโยบายระดับชาติที่มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม และลดปัญหาขยะในครัวเรือน จึงหันมาใช้สิ่งต่างๆ ในธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวมาทดลอง และประยุกต์ใช้ประโยชน์มากขึ้นจึงได้จัดทำโครงการ ลดขยะอินทรีย์ ลดโรค (ทำน้ำหมักชีวภาพ และน้ำยาเอนกประสงค์) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการขยะครัวเรือน และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพ น้ำยาเอนกประสงค์ ตลอดจนการนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในการทำน้ำหมักชีวภาพและน้ำยาเอนกประสงค์ ตลอดจนการนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
2 เพื่อนำวัสดุเหลือใช้จากครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ

ช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
  • ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ช่องทางต่างๆ เช่น กลุ่มไลน์ เว็บไซต์เทศบาล

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 คน x 35 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 175 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
175.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก และการทำน้ำหมักชีวภาพ และน้ำยาเอนกประสงค์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก และการทำน้ำหมักชีวภาพ และน้ำยาเอนกประสงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก และการทำน้ำหมักชีวภาพ
    และน้ำยาเอนกประสงค์ จำนวน 30 ครัวเรือน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (รวมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง) จำนวน 40 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,800 บาท
3. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม (รวมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง) จำนวน 40 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
4. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 3 เมตร x 180 บาท เป็นเงิน 540 บาท
5. ค่าถังพร้อมฝาสำหรับสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ ขนาด 20 ลิตร จำนวน 1 ถัง x 100 บาท เป็นเงิน 100 บาท
6. ค่าถังพร้อมฝาสำหรับการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ขนาด 20 ลิตร จำนวน 31 ถัง x 100 บาท เป็นเงิน 3,100 บาท
7. ค่าน้ำตาลทรายแดง จำนวน 31 กิโลกรัม x 30 บาท เป็นเงิน 930 บาท
8. ค่า N70 จำนวน 16 กิโลกรัม x 85 บาท เป็นเงิน 1,360 บาท
9.ค่าเกลือแกง จำนวน 31 ถุง x 15 บาท เป็นเงิน 465 บาท
10. ค่าน้ำหมัก/น้ำด่าง จำนวน 31 ชุด x 100 บาท เป็นเงิน 3,100 บาท
11. ค่าน้ำยากลิ่นแต่ง จำนวน 31 ชุด x 40 บาท เป็นเงิน 1,240 บาท
12. ค่าสีผสมอาหาร จำนวน 31 ชุด x 30 บาท เป็นเงิน 930 บาท
13. ค่าไม้กวนน้ำยา จำนวน 31 อัน x 180 บาท เป็นเงิน 5,580 บาท
14. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28745.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,920.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อนำวัสดุเหลือใช้จากครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ
2. เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในการทำน้ำหมักชีวภาพ
3. เพื่อลดปัญหามลพิษทาง และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง


>