กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะแผลกดทับ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลแหลมโตนด

ม.1-ม.9 ต.แหลมโตนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับได้รับการดูแล

 

6.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

50.00

พื้นที่ตำบลแหลมโตนดมีประชากรทั้งหมด 3,487 คน จากการตรวจประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียงจำนวน 50 ราย ซึ่งผู้สูงอายุ มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและเป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียง จะส่งให้เกิดแผลกดทับ โดยผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 70 ปี เมื่อเกิดแผลกดทับจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 4-6 เท่า เมื่อผู้สูงอายุเกิดแผลกดทับจะทำให้แผลหายช้า เนื่องจากเซลล์ผิวหนังมีจำนวนลดลง หากอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผลไม่สะอาด ปราศจากเชื้อทำให้ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อและเสียชีวิตภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ชมรม อสม.ตำบลแหลมโตนด เล็งเห็นถึงความสำคัญการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่เกิดแผลกดทับ ให้มีอุปกรณ์สำหรับทำแผลอุปกรณ์ที่สะอาดและปราศจากเชื้อจึงได้จัดทำโครงการการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะแผลกดทับเพื่อให้บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงได้มีวัสดุ อุปกรณ์ทำแผลและได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดและป้องกันแผลติดเชื้อ

การติดเชื้อลดลง

0.00
2 เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์การทำแผลที่บ้านของผู้ป่วยที่มีภาวะแผลกดทับ เพื่อหมุนเวียนกันใช้ในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายได้รับอุปกรณ์ชุดทำแผลอย่างเพียงพอ

0.00
3 เพื่อลดการเข้ารับการรักษาซ้ำที่โรงพยาบาล

การเข้ารับการรักษาซ้ำที่โรงพยาบาลลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 3
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาอุปกรณ์ชุดทำแผล

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอุปกรณ์ชุดทำแผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอุปกรณ์ชุดทำแผล จำนวน 30 ชุด ชุดละ  450 บาท รวม เป็นเงิน  13,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 29 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีอุปกรณ์ทำแผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 2 สอนการทำแผลให้กับญาติผู้ดูแลคนไข้

ชื่อกิจกรรม
สอนการทำแผลให้กับญาติผู้ดูแลคนไข้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สาธิตการทำแผล
  • ฝึกปฎิบัติผู้ดูแล ในการดูแลบาดแผล
  • ประเมินผู้ดูแล ในการดูแลบาดแผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 8 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ญาติผู้ดูแล มีทักษะในการดูแลบาดแผลผู้ป่วย ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดการติดเชื้อ
2. ลดการเข้ารับการรักษาซ้ำที่โรงพยาบาล
3. ลดค่าใช้จ่ายและภาระแก่ครอบครัว


>