กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านรัดปูน

1.นายสมใจ วงศ์ทอง ผู้ประสานงาน คนที่ 1
2.นายธนากร คิ้วนาง ผู้ประสานงาน คนที่ 2
3.ร.ต.ท.ชาญณรงค์ สวยงาม
4.นางสุจิน ศิหะวงศ์
5.นายปราโมทย์ ทองแท่นแก้ว

บ้านรัดปูน หมู่ที่ 2 ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาขยะมูลฝอย (ขยะมูลฝอย หมายถึง ขยะทั่วไปที่เกิดจากการอุปโภค บริโภค กิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ชุมชน ตลาด ร้านค้า และโรงงาน) ในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ซึ่งมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคและการแยกขยะจากต้นทาง
การจัดการขยะที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษและไม่เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม เช่น ปฏิกิริยาเรือนกระจกที่มีสาเหตุจาก ขยะเทกอง ที่ปล่อยก๊าซมีเทน ซัลเฟอร์กับคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา ปัญหาขยะในทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ในทะเล เป็นต้น
ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาของทุกคนในชุมชนซึ่งทุกคนเป็นผู้ผลิตขึ้นมา และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆทำให้สุขภาพอนามัยของคนในชุมชนไม่ดี ชุมชนบ้านรัดปูน มีประชากรจำนวน 663 คน232 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2566 : ที่ว่าการอำเภอกระแสสินธุ์) ทำให้มีปริมาณขยะที่เกิดจากการทิ้งและการคัดแยกไม่ถูกวิธีมีจำนวนมาก บริเวณข้างถนนมีการทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาสุขอนามัยกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น ปัญหาของกลิ่น ปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค คือ ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก แมลงวันพาหะนำโรคอุจจาระร่วง แมลงสาบพาหะนำโรคอุจจาระร่วง เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการขยะในชุมชนที่ถูกหลักสุขาภิบาล สามารถทำให้อัตราป่วยด้วยโรคดังกล่าวลดลงและหมดไปในอนาคต
ผู้จัดทําได้ตระหนักและให้ความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ “ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยมีการสร้างแกนนำครัวเรือนต้นแบบ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนต่อไป โดยเน้นการให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล การคัดแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนมีการจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี และเป็นครัวเรือนต้นแบบให้กับครัวเรือนอื่นๆ ในชุมชนได้

1.ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
2.ครัวเรือนต้นแบบ ร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ประเมินครัวเรือนสะอาดถูกหลักสุขาภิบาล

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครัวเรือนต้นแบบ 40
แกนนำชุมชน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 คัดเลือกแกนนำในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นต้น
1.2 จัดตั้งแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน
1.3 พัฒนาแกนนำ โดยประชุมค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน หาแนวทางแก้ไขและติดตามผลการดำเนินงาน จำนวน 2 ครั้ง
เป้าหมาย
- แกนนำชุมชน จำนวน 10 คน
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
2.1 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางและการจัดการขยะแบบ 3Rs แก่กลุ่มครัวเรือนแกนนำในชุมชน
2.3  ประเมินความรู้ก่อน – หลังอบรม
2.3 ส่งเสริมให้ครัวเรือนต้นแบบมีภาชนะรองรับขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล
2.4 ส่งเสริมให้มีจุดรวบรวมขยะ (ตะแกรงคัดแยกขยะ) ของชุมชน

เป้าหมาย
- ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 40 คน
- แกนนำชุมชน จำนวน 10 คน

งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตรเป็นเงิน 432 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ และเอกสารอบรม จำนวน 40 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
- ชุดอุปกรณ์สาธิต (ตะแกรงคัดแยกขยะ) จำนวน 1 ชุดๆละ 9,000 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
2.มีจุดรวบรวมขยะของชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18632.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
3.1 ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 ครัวเรือน เข้าร่วมประกวดครัวเรือนตัวอย่างการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล
3.2 จัดตั้งคณะกรรมการประกวดครัวเรือนตัวอย่างการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล
3.3 ครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ประเมินครัวเรือนต้นแบบ จะได้รับป้ายสัญลักษณ์ “หน้าบ้าน น่ามอง”
เป้าหมาย
- ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 40 ครัวเรือน

งบประมาณ
- ค่าป้ายสัญลักษณ์ “หน้าบ้าน น่ามอง” ป้ายอะคลิลิก ขนาด 20x50 cm. จำนวน 20 ป้ายๆละ 200 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิลรณรงค์เกี่ยวกับการคัดแยก และป้ายรณรงค์ไม่ทิ้งขยะบริเวณข้างถนน ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 3ป้ายๆละ 432 บาท เป็นเงิน 1,296 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ครัวเรือนต้นแบบในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
  • ครัวเรือนต้นแบบ ร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ประเมินครัวเรือนสะอาดถูกหลักสุขาภิบาล
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5296.00

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
5.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
5.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

งบประมาณ
- ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน 2 เล่ม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,628.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีครัวเรือนต้นแบบในชุมชน เป็นบ้านเรือนที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาลและปลอดขยะ
2. ชุมชนมีจุดรวบรวมขยะของชุมชน


>