กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงแส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงแส

1.นางนฤตย์วรรณ ดวงภักดี
2.นางอำมร สังขะบุญญา
3.นางจินดา บงกฎ
4.นางสุวรรณา แสวงหา
5.นางสารภี ศรีไหม

เขตพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงแส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ซึ่งความรุนแรงของโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากสถิติระบาดวิทยาพบว่า ทั้งอัตราป่วยและอัตราตายยังสูงอยู่พบได้ทุกวัย ปัจจุบันไม่สามารถค้นคว้าวัคซีนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อควบคุมยุงพาหะให้มีจำนวนน้อยลง จนไม่เป็นปัญหาในการระบาดของ โรคไข้เลือดออก จำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการควบคุมอย่างทั่วถึง ให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบพร้อมๆกันอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างองค์กร ทั้งภาครัฐเอกชน องค์กรท้องถิ่น และประชาชนในชุมชน ให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดยุงลายจึงจะสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ คือ ภูมิต้านทานของประชาชน ชนิดของเชื้อไวรัส ความหนาแน่นและการเคลื่อนย้ายของประชากร สภาพภูมิอากาศ ชนิดของยุงพาหะ ความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่มีการแปรเปลี่ยนและมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างยิ่ง และยังมีส่วนทำให้รูปแบบการเกิดโรคมีความผันแปรไปในแต่ละปี

ข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของตำบลเชิงแส ย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2562 – 2566) พบรายงานผู้ป่วย 15, 0, 0 , 0 และ 43 ราย ตามลำดับ (ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต) ซึ่งในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงแสพบผู้ป่วย จำนวน 7 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ อายุ 5-14 ปี อาชีพที่มีผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน (ที่มา : งานระบาดวิทยา รพ.กระแสสินธุ์ ) จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งใน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 ตำบลเชิงแส ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรค เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน ผู้นำชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน/นักเรียน ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงแสลดลง
  2. แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง มีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันไข้เลือดออก
  3. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี
  4. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่า CI = 0
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 26

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดตั้งและประชุมทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดตั้งและประชุมทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.1. จัดตั้งทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำหมู่บ้าน
1.2 ประชุมติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ของคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและหาแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมาย
- คณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำหมู่บ้าน จำนวน 26 คน

งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานฯ จำนวน 26 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 650 บาท

รวมเป็นเงิน 650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง มีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
650.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
2.1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ พร้อมรณรงค์เผยแพร่ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในชุมชน
2.2 รณรงค์ให้ดำเนินกิจกรรม ( Big Cleaning) ในชุมชน
2.3 สำรวจค่า HI,CI โดยทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 3 เดือน

กลุ่มเป้าหมาย
- คณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำหมู่บ้าน จำนวน 26 คน
- ประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านเชิงแส

งบประมาณ - ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ป้ายไวนิล ขนาด 1.0 x 2.0 เมตร จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท

รวมเงิน600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก กรณีเกิดการระบาด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก กรณีเกิดการระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
3.1 จัดซื้อเคมีภัณฑ์/วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดยุงลาย
3.2 จัดซื้อปลาหางนกยูงเพื่อใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ให้แก่ อาสาสมัครที่สนใจรับเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อขยายพันธุ์
3.3 กรณีเกิดการระบาด ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคภายใน 24 ชั่วโมง โดยทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแต่ละหมู่บ้านร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเชิงแส โดยขอความร่วมมือทางเทศบาลตำบลเชิงแส ลงพ่นสารเคมี พร้อมลงสืบสวนโรค เพื่อควบคุมการระบาดของโรคในระยะรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้ง ภายใน 7 วัน

เป้าหมาย
- อาสาสมัครที่สนใจรับเลี้ยงปลาหางนกยูง จำนวน 36 คน
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่ ม.3 ตำบลเชิงแส

งบประมาณ
- สเปรย์ฉีดยุง จำนวน 12 กระป๋องๆ ละ 79 บาท เป็นเงิน 948 บาท
- ค่าพันธุ์ปลาหางนกยูง จำนวน 720 ตัวๆละ 3 บาท เป็นเงิน 2,160 บาท
- ค่าอาหารปลา จำนวน 3 ถุงๆละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท

รวมเงิน3,558บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน/นักเรียน ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงแสลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3558.00

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. จัดทำรายงานผลโครงการฉบับสมบูรณ์จำนวน 2 เล่ม

งบประมาณ
- ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ จำนวน 2 เล่ม ๆละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท

รวมเงิน200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,008.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและนักเรียนในเขตพื้นที่ ม.3 บ้านเชิงแสลดลง
2. มีแกนนำ เครือข่าย ทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำหมู่บ้าน
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก ตลอดจนตระหนักถึงภัยของโรคไข้เลือดออก และมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน


>