กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพฟันดี ชีวิตมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงเรียนบ้านน้ำดำ

๑.นางสาวจรีย์ วงษ์สวัสดิ์
๒.นายสุเพียร สาเล็ง
๓.นางรูฮานี งามแสงนุรักษ์
๔.นางสาวนาบีละห์ โดยหมะ
๕.นางสาวนูรุลอีมาน มณีหิยา

โรงเรียนบ้านน้ำดำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

70.00

ในปัจจุบันปัญหาด้านทันตสุขภาพมีแนวโน้มการเกิดโรคในช่องปากมากขึ้นซึ่งสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กขาดการเอาใจใส่ดูแลช่องปากและฟันของเด็ก การดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดปัญหาฟันผุตามมา นักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำดำ จำนวนมากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างถูกวิธี อันเป็นสาเหตุของโรคฟันผุ นักเรียนส่วนใหญ่ก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีป้องกันฟันผุและการแปรงฟันอย่างถูกวิธีด้วย จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางโรงเรียนจึงดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและการแปรงฟันอย่างถูกวิธีให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี เพิ่มประสิทธิภาพในการแปรงฟัน และให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากเพื่อลดภาวะการเกิดโรคฟันผุในโรงเรียน ตลอดจนให้นักเรียนได้แปรงฟันหลังรับประทานอาหารเที่ยงที่โรงเรียนทุกวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนมีความรู้ เข้าใจในหลักการแปรงฟันที่ถูกวิธี

นักเรียนมีความรู้ เข้าใจในหลักการแปรงฟันที่ถูกวิธี

70.00 75.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย

นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย

70.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฎิบัติให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันอย่างถูกวิธีในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฎิบัติให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันอย่างถูกวิธีในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2.จัดเตรียมการอบรมนักเรียน โดยจัดทำแผนให้ความรู้ 3.จัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์และเอกสารในการให้ความรู้
4.จัดทำป้ายไวนิลเรื่องการแปรงฟัน/ป้ายการอบรม
4.จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่มีประโยชน์ ประโยชน์ของฟันน้ำนม โรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ
5.ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม

รายละเอียดการใช้งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีจำนวน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ตามรายละเอียด ดังนี้ 1.ค่าวิทยกร 600 บาท x 3 ชั่วโมง x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท ค่าชุดโมเดลฟันจำลอง ชุดละ 1,500 บาท x 3 ชุด เป็นเงิน 4,500 บาท 2.ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1.2 x 3 เมตร เป็นเงิน 720 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 199 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 11,940 บาท 4.ค่าแฟ้มใส่เอกสาร ชิ้นละ 8 บาท x 199 คน เป็นเงิน 1,592 บาท 5.ค่าดินสอ เล่มละ 2 บาท x 199 คน เป็นเงิน 398 บาท 6.ค่าสมุด เล่มละ 4 บาท x 199 คน เป็นเงิน 796 บาท 7.ค่ายางลบ ชิ้นละ 5 บาท x 48 คน เป็นเงิน 240 บาท 8. ค่าแปรงสีฟัน อันละ 26 บาท x 199 คน เป็นเงิน 5,174 บาท 9. ค่ายาสีฟัน หลอดละ 15 บาท x 199 คน เป็นเงิน 2,985 บาท 10. ค่าแก้วน้ำสแตนเลส ใบละ 20 บาท x 199 คน เป็นเงิน 3,980 บาท 11. ค่าผ้าขนหนูเช็ดหน้า ผืนละ 20 บาท x 199 คน เป็นเงิน 3,980 บาท 12. ค่ากระดาษ A4 รีมละ 100 บาท x 3 รีม เป็นเงิน 300 บาท 13. เม็ดสีย้อมฟัน อันละ 8 บาท x 199 คน เป็นเงิน 1592 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ เข้าใจในหลักการแปรงฟันที่ถูกวิธี มีสุขนิสัยที่ดีและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39997.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกนิสัยรักการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ฝึกนิสัยรักการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรม "ฝึกนิสัยรักการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร" โดยตัวแทนนักเรียนเปิดเพลงแปรงฟันให้นักเรียนทุกคนแปรงฟันหลังอาหารกลางวันพร้อมกัน แบ่งเป็นช่วงชั้นเพื่อเว้นระยะห่าง 2.หัวหน้าห้องเรียน ผู้ได้รับมอบหมายตรวจอุปกรณ์การแปรงฟันของนักเรียนทุกคน จัดทำบันทึกการแปรงฟันของนักเรียนทุกคน ทุกชั้นเรียน 3.ครูประจำชั้นตรวจฟันและบันทึกการแปรงฟันของฟันของนักเรียน ให้คำปรึกษาและแนะนำการแปรงฟันที่ถูกต้อง/ดูแลเก็บรักษาแปรงสีฟัน แก้วน้ำ ยาสีฟัน และผ้าเช็ดหน้าให้สะอาดเหมาะสมกับการใช้งานอย่างต่อเนื่อง 4.นักเรียนทุกคนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนทุกวัน โดยแปรงฟันตามขั้นตอน "เพลงแปรงฟัน" 5.ทดสอบประสิทธิภาพการแปรงฟันในวัยเรียน 6.ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนทุกคนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน 2.นักเรียนทุกคนมีสุขภาพช่องปากที่ดีและฟันไม่ผุ 3.นักเรียนทุกคนมีนิสัยรักการแปรงฟัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,997.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรู้ เข้าใจในหลักการแปรงฟันที่ถูกวิธี
2.นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


>