กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านพูด ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านพูด ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเฉลิม

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านพูด

1. นายอ่าซาน หมัดอาดัม
2. นส.กรรณิการ์ ราป้อม
3. นางจรัส สะแหละ
4. นางอารี ถานีโกด
5. นายอับดลเหลาะห์ เหล็มปาน
6. นางก้อติหยะ ยาชะรัด

หมู่ที่ 1, 2, 8, 11, 12 และหมู่ที่ 13 ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

 

15.00
2 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

 

20.00
3 กลุ่มเสี่ยงที่มีค่า BMI เกิน (อ้วน)

 

10.00

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ รพ.สต.บ้านพูดก็ได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย จะเห็นได้ว่าจาการตรวจคัดกรองในปี 2566 ที่ผ่านมา พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 14.04 (273 ราย)กลุ่มส่งสัยป่วย ร้อยละ 0.46 (9 ราย) และมีผู้ป่วยรายใหม่ 490.88 ต่อแสนประชากร (ป่่วย 28 ราย) ส่วนโรคความดันโลหิตสูง พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 6.21 (111 ราย) กลุ่มสงสัยป่วย ร้อยละ 0.17 (3 ราย)และพบผู้ป่วยรายใหม่ 613.60 ต่อแสนประชากร (35 ราย) ในปี 2566 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคเหล่านี้ ก็มาจาก พฤติกรรมส่วนบุคคลต่างๆ เช่น การกิน และการใช้ชีวิตในแต่ละวัน
ดังนั้น ทาง อสม.ของ รพ.สต.บ้านพูด ร่วมกับเจ้าหน้ารพ.สต.บ้านพูดเพื่อดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ขึ้น เพื่อลดจำนวนผู้ป่วย และผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน รวมถึงป่วยตาย ให้ลดลง และประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง และเหมาะสม
  • กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานสามารถกลับสู่กลุ่มปกติได้
6.00 1.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงสามารถกลับสู่กลุ่มปกติได้

20.00 10.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่มีค่า BMI เกิน (อ้วน) ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง และเหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงที่มีค่า BMI เกิน มีค่า BMI ที่ลดลง

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง ทั้ง 3 ด้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง ทั้ง 3 ด้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจากการคัดกรอง
  2. จัดทำทะเบียนกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง
  3. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงค่า BMI
             - ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และค่า BMI  สูง
  2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวัง และการดูแลที่เหมาะสม เพื่อลดการเกิดโรคจาก NCD ได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหากลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดหากลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการประชุมชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พร้อมกับหาอาสาสมัครที่ สมัครใจเข้าร่วมโครงการตามเงื่อนไขที่กำหนดของโครงการ โดยกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 256 คน เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 94 ราย และกลุ่มเสี่ยง ค่า BMI เกิน จำนวน150 ราย รวมทั้งสิ้น 503 ราย โดยกระจายอยู่ใน 6 หมู่บ้าน ของตำบลคลองเฉลิม (โดยแยกดำเนินการรายหมู่)

  • ค่าน้ำดื่มในการประชุม กลุ่มเสี่ยง ทั้ง 3 กลุ่ม จำนวน 500 คนๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 20 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงทั้ง 3 กลุ่ม เข้าร่วม กิจกรรมร้อยละ 80
  2. กลุ่มเสี่ยงได้รับทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5030.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย จำนวน 5 กลุ่มๆ ละ 20 คน มีพี่เลี้ยง 3 คน โดยทำกิจกรรมดังนี้

1.กิจกรรมกลุ่มย่อยทำความเข้าใจในกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องดำเนินการตามโครงการ เช่น การประเมินภาวะสุขภาพเริ่มต้น โดยใช้สมุดบันทึก ค่ารอบเอว น้ำหนัก ส่วนสูง ต้นแขน ต้นขา การจัดตั้งกลุ่มไลน์ในการสื่อสาร ข้อกำหนดต่างๆ พร้อมทั้งให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหาร และการออกกำลังกาย ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ชี้แจงการพบและการติดตามกลุ่มย่อยๆ

  • ค่าสมุดบันทึก ภาวะสุขภาพ จำนวน 100 เล่มๆ ละ 30 บาทรวมเป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

2.เจาะเลือดเพื่อดูค่าไขมันในเลือด ใช้เป็นข้อมูลเบื้อต้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แบ่งค่าไขมันออกเป็น 3 กลุ่ม ปกติ เสี่ยง เสี่ยงสูง โดยจะทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้ง 3 กลุ่ม และคนที่ไขมันในเลือดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงเกินกว่าค่าที่กำหนด ก็จะส่งตัวพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาตามแนวทางการรักษา คู่ขนานไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

  • ค่าเจาะไขมันในเลือด จำนวน 100 คนๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน 20,000 บาท
  • ค่าน้ำดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

3.พบกลุ่มย่อย ในการให้ความรู้ ให้กำลังใจ และติดตามความคืบหน้า จำนวน 100 คนๆ ละ 6 ครั้ง

  • ค่าน้ำดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 6 ครั้งๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

4.เจาะเลือดซ้ำในรายที่ มีค่าไขมันในเลือดเกินกว่ากำหนด และได้เข้าร่วมกิจกรรม ครบทั้ง 6 ครั้ง จำนวน 50 คน

  • ค่าเจาะไขมันในเลือด จำนวน 50 คนๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน 10,000 บาท

5.ประเมินภาวะสุขภาพหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประมาณ 6 เดือน จำนวน 100 คน

  • ค่าน้ำดื่มจำนวน 100 คนๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    ***** ทุกรายการสามารถตั๋วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมทุกราย
  2. กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการเจาะไขมันในเลือดทุกราย
  3. กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น เปลี่ยนจากกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กลุ่มปกติได้
  4. กลุ่มที่มีค่าไขมันผิดปกติได้รับการวินิจฉัย และรักษาตามแนวทางการรักษาและยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลงานงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลงานงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุป การดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม และสรุปผลโครงการ       - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการสรุปผลงานโครงการที่ได้ดำเนินงาน
  2. สามารถนำผลการดำเนินงานที่ผ่านมาใช้ในการแก้ไข และปรับปรุง เพื่อการดำเนินงานในครั้งต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>