กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

รพ.สต.ปุโละปุโย

1.นายมะกอเซ็ง เจะแต (ประธาน)
2.นายมุสตากีม ดอนิ
3.นายซูเปียน มะมิง
4.นางสาวนูรฮายาตี มัณฑนาพร
5.นายอาสมาน อาบูวะ

รพ.สต.ปุโละปุโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เสียชีวิตจากการใช้รถจักรยานยนต์

 

1.00

ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุฉุกเฉินในทุกประเภท เช่น อุบัติเหตุทางถนน การจมน้ำ สัตว์มีพิษกัดต่อย ฯลฯ ซึ่งในปี พ.ศ.2565 ตำบลปุโละปุโยมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาลหนองจิกทั้งหมด 38 ราย แบ่งเป็นอุบัติเหตุทางถนนจำนวน 24 ราย ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย
จำนวน 7 ราย เหตุจมน้ำจำนวน 2 ราย และมีเหตุการณ์ที่เกิดการหายใจติดขัดเนื่องจากสิ่งแปลกปลอมหรืออาหารติดคอจำนวน 5 ราย ซึ่งทุกเหตุการณ์ประชาชนทั่วไปสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นและช่วยเหลือฟื้นคืนชีพเพื่อลดการสูญเสียแก่ชีวิตและการบาดเจ็บก่อนนำส่งโรงพยาบาลได้ แต่จากการบันทึกข้อมูลทุกเหตุการณ์ประชาชนในที่เกิดเหตุไม่สามารถปฐมพยาบาลและช่วยเหลือฟื้นคืนชีพได้เลย อีกทั้งการเข้าถึงการบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินเป็นไปด้วยยากและล่าช้า
สาเหตุที่ประชาชนในที่เกิดเหตุนั้นๆไม่สามารถปฐมพยาบาลและช่วยเหลือฟื้นคืนชีพได้ เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่มีความรู้หรือทักษะในการช่วยเหลือ ไม่กล้าที่จะช่วยเหลือ อีกทั้งประชาชนยังมองถึงการช่วยเหลือเป็นหน้าที่ของครอบครัวหรือญาติของผู้ประสบเหตุเท่านั้น ปัญหาทางกายภาพที่ขาดแคลนด้านอุปกรณ์ในการช่วยเหลือ และยังไม่มีทีมงานหรือหน่วยงานที่ให้ความรู้และฝึกทักษะการปฐมพยาบาลให้กับประชาชนอย่างสม่ำเสมอ
จากสาเหตุดังกล่าวเมื่อประชาชนในที่เกิดเหตุไม่กล้าที่จะปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือให้ผู้ประสบเหตุ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ทั้งเสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บขั้นรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสังคมได้เมื่อผู้ที่มีความสามารถหรือทักษะการช่วยเหลือไม่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ อาจทำให้เกิดความไม่พอใจของญาติผู้ประสบเหตุ ผลกระทบทางเศรษฐกิจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ช่วยเหลือปฐมพยาบาลผิดวิธี
จากปัญหาดังกล่าวทางผู้รับผิดชอบโครงการเล็งเห็นความสำคัญในการให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพิ่มความมั่นใจในการช่วยเหลือ ลดความสูญเสียเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งยังมีการจัดตั้งทีมเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉินในพื้นที่เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน จึงได้จัดโครงการ“การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและช่วยเหลือ ฟื้นคืนชีพ ตำบลปุโละปุโย”นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นและมีทักษะการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย 2. เกิดทีมเฝ้าระวังด้านการแพทย์ฉุกเฉินระดับหมู่บ้าน 3. ผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน ได้รับการปฐมพยาบาลหรือช่วยเหลือฟื้นคืนชีพจากทีมก่อนนำส่งโรงพยาบาล

ผลลัพธ์ 1) มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและช่วยเหลือฟื้นคืนชีพได้ ตัวชี้วัด - ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและช่วยเหลือฟื้นคืนชีพตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ผลลัพธ์ 2) เกิดกลไกการเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉินในพื้นที่ ตัวชี้วัด - มีทีมเฝ้าระวังด้านการแพทย์ฉุกเฉินระดับหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ทีม ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน/จนท.สาธารณสุข /อสม. - มีสถานที่สำหรับทีมเฝ้าระวังด้านการแพทย์ฉุกเฉินระดับหมู่บ้าน มีการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน ผลลัพธ์ 3) ผู้ประสบเหตุฉุกเฉินได้รับการปฐมพยาบาลหรือช่วยเหลือฟื้นคืนชีพก่อนนำส่งโรงพยาบาล - ผู้ประสบเหตุฉุกเฉินร้อยละ 80 ได้รับการปฐมพยาบาลหรือช่วยเหลือฟื้นคืนชีพก่อนนำส่งโรงพยาบาล - ไม่มีผู้เสียชีวิตจากการช่วยเหลือของทีมเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉิน

0.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์

จำนวนผู้เสียชีวิตจากการใช้รถจักรยานยนต์

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนตำบลปุโละปุโย 1

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.ปุโละปุโย ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ปุโละปุโยและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงโครงการและแต่งตั้งคณะกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.ปุโละปุโย ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ปุโละปุโยและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงโครงการและแต่งตั้งคณะกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าอบรม

ชื่อกิจกรรม
2.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปุโละปุโย

ชื่อกิจกรรม
3.จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปุโละปุโย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 4.อบรมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโยแบ่งเป็น 5 รุ่น จัดกิจกรรมอบรมและฝึกทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย (รุ่นที่ 1 ) จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
4.อบรมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโยแบ่งเป็น 5 รุ่น จัดกิจกรรมอบรมและฝึกทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย (รุ่นที่ 1 ) จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวิทยากรฝึกภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50 บาท x จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25 บาท x จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 เล่มๆละ 100บาท x 50 คน เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 13,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

กิจกรรมที่ 5 จัดกิจกรรมอบรมและฝึกทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย(รุ่นที่ 2 ) จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมและฝึกทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย(รุ่นที่ 2 ) จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวิทยากรฝึกภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50 บาท x จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25 บาท x จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 เล่มๆละ 100บาท x 50 คน เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 13,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

กิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมอบรมและฝึกทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย (รุ่นที่ 3 )จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมและฝึกทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย (รุ่นที่ 3 )จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวิทยากรฝึกภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50 บาท x จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25 บาท x จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 เล่มๆละ 100บาท x 50 คน เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 13,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

กิจกรรมที่ 7 จัดกิจกรรมอบรมและฝึกทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย(รุ่นที่ 4 )จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมและฝึกทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย(รุ่นที่ 4 )จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวิทยากรฝึกภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50 บาท x จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25 บาท x จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 เล่มๆละ 100บาท x 50 คน เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 13,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

กิจกรรมที่ 8 จัดกิจกรรมอบรมและฝึกทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย (รุ่นที่ 5 ) จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมและฝึกทักษะการช่วยชีวิตเบื้องต้นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลปุโละปุโย (รุ่นที่ 5 ) จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวิทยากรฝึกภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50 บาท x จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25 บาท x จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 เล่มๆละ 100บาท x 50 คน เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 13,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

กิจกรรมที่ 9 จัดซื้อจัดทำป้ายไวนิล วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนจัดเตรียมสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อจัดทำป้ายไวนิล วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนจัดเตรียมสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 720 บาท
  • ค่าวัสดุใช้ในการอบรมเป็นเงิน 6,280 บาท รวมเป็นเงิน 7,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 10 ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีทีมช่วยเหลือฟื้นคืนชีพในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 75,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นและมีทักษะการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย
2. เกิดทีมเฝ้าระวังด้านการแพทย์ฉุกเฉินระดับหมู่บ้าน
3. ผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน ได้รับการปฐมพยาบาลหรือช่วยเหลือฟื้นคืนชีพจากทีมก่อนนำส่งโรงพยาบาล


>