กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขยับกาย สบายชีวี ด้วยจังหวะตะลุงไลน์แดนซ์ ชุมชนบ้านคลองเตย 1

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กรรมการชุมชนบ้านคลองเตย 1

1. นางกัญญา ทองรักษา
2. นางสาวจาริณี บุญทัศโร
3. นางสาวพัชรชยาพร เจษสุวรรณาภัทร์
4. นางสาวสุจิน เทพบุตร
5. นางสาวดวงใจ ไชยมุณี

ลานกีฬาชุมชนบ้านคลองเตย 1 ซอย 11 คลองเตย ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่า BMI ตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

0.00
2 ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตที่ดี

 

0.00

ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการมีชมรม,กลุ่มออกกำลังกาย ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แอโรบิครำไม้พลอง โยคะ ฟุตบอลเซปัคตะกร้อ จังหวะตะลุงไลน์แดนซ์เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรงสุขภาพจิตดีส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งการออกกำลังกายแบบจังหวะตะลุงไลน์แดนซ์เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบันตั้งแต่ระดับชุมชนชนบทชุมชนเมืองซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินแต่ให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นการดูแลรักษาสุขภาพเป็นเบื้องต้นในการป้องกันโรคต่างๆ เป็นการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงปลอดโรค ห่างไกลจากยาเสพติด ใช้เวลาช่วงเย็นเป็นการพบปะกันของคนในชุมชนเพื่อร่วมกิจกรรมสันทนาการการออกกำลังกายร่วมกัน และเพิ่มความเข้มแข็ง ความสามัคคีให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่ง กรรมการชุมชนบ้านคลองเตย 1 จึงได้จัดทำโครงการขยับกาย สบายชีวี ด้วยจังหวะตะลุงไลน์แดนซ์ ชุมชนบ้านคลองเตย 1 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่า BMI ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่า BMI และรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดี

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตที่ดี (ตามแบบประเมินความสุขคนไทยของกรมสุขภาพจิต)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
  • ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ช่องทางต่างๆ เช่น กลุ่มไลน์ เว็บไซต์เทศบาล

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน x 35 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยจังหวะตะลุงไลน์แดนซ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยจังหวะตะลุงไลน์แดนซ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินค่าดัชนีมวลกาย (BMI) วัดรอบเอว ก่อนเข้าร่วมโครงการ
  • ประเมินสุขภาพจิตของผู้เข้าร่วม (ตามแบบประเมินความสุขคนไทย ของกรมสุขภาพจิต)
  • มอบสมุดบันทึกสุขภาพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อบันทึกข้อมูลสุขภาพ
  • อบรมให้ความรู้ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยจังหวะตะลุงไลน์แดนซ์

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 2 x 2 เมตร x 180 บาท เป็นเงิน 720 บาท
2. ค่าสมุดบันทึกสุขภาพ จำนวน 20 เล่ม x 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (รวมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง) จำนวน 25 คน x 35 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3795.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยจังหวะตะลุงไลน์แดนซ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยจังหวะตะลุงไลน์แดนซ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยจังหวะตะลุงไลน์แดนซ์ เป็นระยะเวลา 5 เดือน สัปดาห์ละ 3 วัน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนผู้นำออกกำลังกาย จำนวน 1 คน x 300 บาท/ครั้ง x 12 ครั้ง/เดือน x 5 เดือน เป็นเงิน 18,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามแผนโครงการพร้อมแบบรายงานส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ
    เทศบาลเมืองคอหงส์

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน x 35 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 350 บาท
2. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,495.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเพิ่มขึ้น
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น


>