กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเชิงรุก ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่

เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีโอกาสเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง

หลักการและเหตุผล โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น"ภัยเงียบ"เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการและเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตาไต หลอดเลือดในประเทศไทยนั้นอุบัติการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่าง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชนจะประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วนและใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ ปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างเดียว จำนวน597ราย โรคเบาหวานอย่างเดียว 46ราย และโรคเบาวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง จำนวน240 ราย อีทั้งยังพบว่า มีผู้ป่วยที่เกิดเป็นโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 34 ราย และโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 10 รายจากข้อมูลดังกล่าว เพื่อค้นหาและป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ปี 2567ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดีและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมมีสุขภาพแข็งแรงและใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

1,200.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 80

1200.00 80.00
2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร้อยละ 100

0.00
3 ไม่มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ ร้อยละ 0

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
กลุ่มประชาชนทั่วไปอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยง 1,200

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองเชิงรุกค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองเชิงรุกค้นหาโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชาสัมพันธ์ลงคัดกรองเชิงรุกแก่ผู้นำชุมชน และประชาชนกลุ่มเป้าหมายทราบ
  2. เตรียมรายชื่อในการคัดกรองให้แก่ อสม.ในพื้นที่แต่ละหมู่
  3. ประชุมชี้แจงและทบทวนความรู้ก่อนลงปฏิบัติงานในเขตรับผิดชอบแต่ละหมู่
  4. ตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงและตรวจน้ำตาลในเลือดกลุ่มเป้าหมาย 5.ทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ที่ทำการคัดกรองแล้ว
    6.แจกสมุดบันทึกสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยที่ค้นพบและให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม รายละเอียดงบประมาณ
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการรณรงค์คัดกรองความดัน–เบาหวาน จำนวน1200 คนๆละ30 บาทเป็นเงิน36,000 บาท -ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 40 กล่อง (แบบ 50 test) ราคากล่องละ 750 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท -ค่าเข็มเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 10 กล่อง ราคากล่องละ 750 บาทเป็นเงิน7,500 บาท -เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 2,500บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -เครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 3,000 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าทำป้ายปิงปองจราจร 7 สี แยกกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ขนาด 1.2*2.4เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท
    -คู่มือเล่มเล็กบันทึกสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 250 เล่ม เล่มละ 30 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
    -สายวัดรอบเอวBMI 3 อัน อันละ 150บาท เป็นเงิน 450 บาท -เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 1,500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน อย่างน้อยร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
88900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยจากการคัดกรอง 2.ชี้แจงการทำงานกีบทีมเจ้าหน้าที่และอสม.แต่ละหมู๋ในการติดตามปรับเปลี่ยนสุขภาพ 3.ลงให้ความรู้และเน้นการปรับพฤติกรรมอาหาร การออกกำลังกาย ในการปรับเปลี่ยนสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยโดยบันทึกลงในสมุดบันทึกสุขภาพ 4.ลงติดตามโดยการวัดความดันโลหิตและตรวจเจาะน้ำตาลปลายนิ้วซ้ำในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย 5.ส่งต่อไปรักษาตามขั้นตอนในกลุ่มที่มีคว่มเสียสูงที่จะเป็นโรคความันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยได้รับการติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 100 ไม่เกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบา่หวานรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 88,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>