กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพและศาสนาสร้างสุขภาพ บ้านมาปะ ตำบลระแว้งอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ปี 2567 "

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพและศาสนาสร้างสุขภาพ บ้านมาปะ ตำบลระแว้งอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ปี 2567 "

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

มัสยิดบ้านมาปะ

นายซาการียา ดุลซามะ

มัสยิดบ้านมาปะหมู่ 3 ตำบลระแว้ง อำเภอ ยะรัง จังหวัด ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

 

80.00
2 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

90.00
3 กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ โดยใช้ศาสนานำการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชนเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการแก้ไ

 

90.00

กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ โดยใช้ศาสนานำการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชนเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมัสยิดเป็นศูนย์รวมด้านวิถีชีวิตของมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ มัสยิดเป็นศูนย์รวมของวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชน
มุสลิมจะมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับมัสยิดจนกระทั่งช่วงสุดท้ายของชีวิตบทบาทของมัสยิดนอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้ว มัสยิดยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมของชุมชน เป็นศาลสถิตยุติธรรมเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยคดีความชั้นต้นในชุมชน เป็นสถานที่ประชุมปรึกษาปัญหาและทางออกในเรื่องราวด้านต่างๆ ของชุมชน การจัดกิจกรรมงานบุญงานกุศลทั้งการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวคือการแต่งงาน กิจกรรมในวิถีชุมชนต่างๆ ตลอดจนเมื่อถึงสุดท้ายของชีวิตสถานที่แห่งนี้จะเป็นที่สุดท้ายที่เขา (ศพ) จะได้รับการละหมาดขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าก่อนที่ร่างจะถูกฝังในกูโบ (สุสาน) ที่อยู่ใกล้ๆกับมัสยิด บทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งของมัสยิด คือการบริการการศึกษาแก่สมาชิกในชุมชนทั้งระดับพื้นฐานและวิทยาการอิสลามขั้นสูง และการจัดการเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ทัศนะอิสลาม วิชาความรู้ที่ดีงามเป็นประโยชน์ให้กับส่วนบุคคล ครอบครัว และการพัฒนาสังคมเป็นสิ่งจำเป็นที่มุสลิมทุกคนต้องไขว่คว้าและเรียนรู้ มัสยิดจึงเป็นสถานที่ส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชน
อิสลามได้กำหนดให้ผู้ที่จะปฏิบัติศาสนกิจนั้นต้องทำการชำระร่างกายให้สะอาด และจำเป็นที่จะต้องชำระมลทินทั้งสองอย่างคือทั้งภายนอกและภายในให้หมดไปมิฉะนั้นการปฏิบัติศาสนกิจของเราก็จะใช้ไม่ได้ ดังคำสอนที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ทรางกล่าวไว้ว่า “ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา” องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การปฏิบัติศาสนกิจที่สมบูรณ์ก็คือการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติศาสนกิจได้มีน้ำใช้ที่สะอาด มีการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลถูกหลักสุขาภิบาลที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนหรือทำความสกปรกแก่ผู้ปฏิบัติศาสนกิจ ในการแก้ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชนได้ระดับหนึ่ง
ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับแกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา คณะกรรมการมัสยิด และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระแว้ง ได้วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำโครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพและศาสนาสร้างสุขภาพตำบลระแว้ง เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของชุมชนโดยให้ประชาชน แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา และ อสม. มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อประชาชนเป็นเจ้าของสุขภาพอย่างแท้จริง โดยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของมุสลิม โดยใช้หลักศาสนา เพราะการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม ขึ้นอยู่กับปฏิบัติตนของประชาชน ดังนั้นการปลูกฝังจิตสำนึกผ่านสถานที่ที่สำคัญให้ประชาชนได้ร่วมดูแลรักษาซึ่งตรงกับคำสอนของอิสลามที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ทรงกล่าวว่า “ผู้ใดผูกพันอยู่กับมัสยิด อัลเลาะห์ ศุบหฯ จะทรงผูกพันอยู่กับเขา”
ตำบลระแว้งได้จัดทำโครงการดังกล่าวนี้ขึ้นเพื่อพัฒนามัสยิดให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมวิถีชีวิตมุสลิมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติอิสลาม เรื่อง สุขภาพ ความสะอาด การศรัทธา การมีส่วนร่วม นำไปสู่การพัฒนาชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1เพื่อพัฒนาให้มัสยิดเป็นศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ 2.2 เพื่อส่งเสริมให้มีการดูแลสุขภาพ โดยเครือข่ายสุขภาพในชุมชน 2.3 เพื่อสร้างระบบการดูแลความสะอาดอย่างยั่งยืน

มัสยิดผ่านเกณฑ์การประเมิน มัสยิด ส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 100 มีการคัดแยกขยะ ที่ถูกต้อง ร้อยละ80 ประชาชนมีการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. บรรยายให้ความรู้เรื่องเกณฑ์ มัสยิดส่งเสริมสุขภาพ 2. ให้ความรู้เรื่องโรคที่พบบ่อย และการเฝ้าระวังโรคที่ส่งผลต่อสุขภาพ 3. ตรวจสุขภาพผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ประชาชน ในพื้นที่ จำนวน 50 คน 4. กิจกรรมตรวจประเมินมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ 5. กิจกรรม Big Cleaning day

ชื่อกิจกรรม
1. บรรยายให้ความรู้เรื่องเกณฑ์ มัสยิดส่งเสริมสุขภาพ 2. ให้ความรู้เรื่องโรคที่พบบ่อย และการเฝ้าระวังโรคที่ส่งผลต่อสุขภาพ 3. ตรวจสุขภาพผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ประชาชน ในพื้นที่ จำนวน 50 คน 4. กิจกรรมตรวจประเมินมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ 5. กิจกรรม Big Cleaning day
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.ระแว้ง จำนวน 18,800 บาท รายละเอียดดังนี้ กิจกรรมอบรมให้ความรู้
- ค่าวิทยากร 1 คน x 6 ชั่วโมง  x 600 บาท          เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน ในการอบรม
   จำนวน 50 คน x 70 บาท x 1 มื้อ              เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
                 จำนวน 50 คน x 30 บาท x 2 มื้อ              เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อการอบรม                    เป็นเงิน 1000 บาท กิจกรรมตรวจสุขภาพผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ประชาชน จำนวน 50 คน     -- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 50 คน x 30 บาท x 1 มื้อ             เป็นเงิน 1,500 บาท -  ค่าตอบแทน เจ้าหน้าที่ วิทยากร ตรวจสุขภาพ จำนวน 2 คน * 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท -  ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ปรับภูมิทัศน์ จัดทำลานสุขภาพ เพื่ออีบาดัติ      เป็นเงิน 5,000 บาท
          เป็นเงิน 18,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีมัสยิดต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพ เน้นสภาพแวดล้อมที่ถูกสุลักษณะ


>