กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

รพ.สต.ระแว้ง

นางสาวมายีดะห์วาโมง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระแว้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต เป็นโอกาสทองในการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด ช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปีเป็นวัยที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้น ร่างกายจึงมีความต้องการพลังงานและ สารอาหารค่อนข้างสูง การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆอย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้เด็ก มีร่างกายแข็งแรง โดยผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูจะต้องรู้ ตั้งแต่เรื่องพัฒนาการด้านการกินของลูก หลักการจัดอาหารในแต่ละช่วงวัย และพฤติกรรมโภชนาการที่ยังเป็นปัญหาในเด็กปฐมวัย นอกจากจะเลี้ยงดูเด็กให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนเพื่อให้เจริญเติบโตพร้อมทั้งมีพัฒนาการเป็นไปตามวัยแล้ว เด็กควรได้รับการฝึกให้รู้จักเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด
ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กปลูกฝังให้บุตร หลานมีพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกต้องจะช่วยให้เด็ก ได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และจะส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโต มีโภชนาการสมวัย จากข้อมูลโภชนาการเด็กเล็ก 0-5ปี ในพื้นที่ ตำบลระแว้งมีเด็กเล็กจำนวน 370 คน พบว่าเด็กเหล่านี้มีภาวะสูงดี/สมส่วนจำนวน 257 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.46 และมีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ (ผอม)จำนวน113 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.54
จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระแว้งจึงได้จัดทำโครงการการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและมีภาวะโภชนาการสมวัย ภายใต้การมีส่วนร่วมของครบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

 

53.00 1.00
2 เพื่อให้เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไข

 

53.00 1.00

1. เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 50 คน
2. เพื่อให้เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไข

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 3
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง หากชำรุดจัดหาทดแทน
  2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็ก ทุก ๓ เดือน
  3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู
  4. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
  5. เชิญพ่อแม่เด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สต มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)

- ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม - วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก - ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง - วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง - การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก 6. ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ร่วมแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย 6.1 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) - กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 6.2 ที่บ้าน - พ่อแม่ กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติมกรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 7. จัดหานม ปลากระป๋องและไข่เพิ่มเติม สำหรับให้เด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม
8. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3 เดือน และแนะนำพ่อแม่ให้ดำเนินการต่อเนื่อง
9. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลระแว้ง

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลระแว้งจำนวน 37,770 บาทรายละเอียดดังนี้ 1 ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก (หากชำรุด) จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน1,390 บาท 2 ค่าที่วัดส่วนสูง (หากชำรุด) จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน390 บาท
3 ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน750 บาท 4 ค่าจัดอบรม 1 วัน รายละเอียดดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 53 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน2,650บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 53 คน ๆ ละ 15 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน1,590บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน3,600บาท

5 ค่าอาหารเสริม - นมกล่องจำนวน 50 คน ๆ ละ 13 บาท/มื้อ จำนวน 16 มื้อเป็นเงิน 14,400บาท - ปลากระป๋อง จำนวน 50 คน ๆ ละ 23 บาท/มื้อ จำนวน 8 มื้อเป็นเงิน9,000บาท - ไข่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 5 บาท/มื้อ จำนวน 16 มื้อเป็นเงิน4,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37770.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,770.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ


>