กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ต่อยอดตำบลมหัศจรรย์ 2500 วัน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลหนองจิก

โรงพยาบาลหนองจิก ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิตตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2561-2564 มีแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพบริการในคลินิกฝากครรภ์ (ANC) คลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) ให้ความสำคัญกับชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายการร่วมลงทุนเป็นเจ้าของในการขับเคลื่อนงานโดยโดยใช้กลไกระดับพื้นที่และดำเนินการครบถ้วนทุกกิจกรรมสำคัญ (กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน) ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0-2 ปี และในปีงบประมาณ 2565 ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย ทำบันทึกข้อตกลงการบูรณาการความร่วมมือ การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตในกลุ่มเด็กปฐมวัย พ.ศ.2565-2569 (MOU 6 กระทรวง) โดยมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับพัฒนาและยกระดับการดูแลส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กในช่วง 1000 วันแรกของชีวิตต่อเนื่องไปจนถึงเด็กอายุ 5 ปี โดยผ่านกลไกตำบลมหัศจรรย์ 1000 วัน plus สู่ 2500 วัน ซึ่งเป็นกลไกเกิดจากความร่วมมือภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพ คุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดาจนถึงเด็กอายุ 5 ปี รวมถึงการส่งเสริมให้หญิงเจริญพันธุ์มีความพร้อมตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการส่งเสริมให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเด็กปฐมวัยเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ
จากการดำเนินงานของจังหวัดปัตตานี ได้ดำเนินโครงการ Smart Kids ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ปี 2565-2566 เด็กจังหวัดปัตตานีไม่ผ่านเกณฑ์ความครอบคลุมวัคซีนร้อยละ 38.01, 33.63 โภชนาการมีภาวะผอมร้อยละ 5.37, 5.86 ค่อนข้างผอม ร้อยละ 4.57, 4.70 ฟันผุในเด็กอายุครบ 3 ปี ร้อยละ 60, 61.05 และเด็กอายุ 6-12 เดือนตรวจคัดกรองพบภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 41.50, ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและให้ความช่วยเหลือทุกภาคส่วน เนื่องจากเด็กเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป ในการนี้โรงพยาบาลหนองจิกเห็นถึงความสำคัญของโครงการ Smart Kids ในระดับจังหวัดลงสู่พื้นที่อำเภอหนองจิก ได้ดำเนินโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2559-2566 พบว่า ภาพอำเภอหนองจิกใน ปี 2565,2566 เด็กยังไม่ผ่านเกณฑ์วัคซีนตามเป้าหมาย ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 57.83, 46.28 และเด็กฟันผุ ร้อยละ 40, 58.29 ซึ่งพื้นที่ตำบลตุยงอยู่ในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนตุยง โรงพยาบาลหนองจิก หมู่บ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน และมีสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยบ้านบางปลาหมอ 1 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 8 ตำบลตุยง เป็นการทำงานแบบเครือข่ายเพื่อให้เด็กในชุมชนตำบลตุยง ผ่านเกณฑ์ Smart Kids 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านภาวะโภชนาการ พัฒนาการ วัคซีน อนามัยช่องปากและฟัน และตรวจคัดกรองพบภาวะโลหิตจางในเด็ก (ซีด) กลุ่มอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี และกลุ่มอายุ 3-5 ปี ประกอบกับตัวชี้วัดของตำบลตุยงไม่ผ่านเกณฑ์ด้านวัคซีนความครอบคลุมร้อยละ 31.83, 27.74 เด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 39.9, 49.90 ในปี 2566 เพื่อดำเนินงานต่อยอดในโครงการตำบลมหัศจรรย์ จากกรมอนามัยได้ชี้แจงการดำเนินงานมหัศจรรย์ 2500 วัน จากเดิม 1000 วัน plus เพื่อให้หน่วยบริการสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายดำเนินงาน ส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยทุกคนให้ได้รับการดูแลอย่างครอบคลุมครบถ้วน เข้าถึงสวัสดิการทางสังคมอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ทอดทิ้งกลุ่มด้อยโอกาส ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนตุยงและโรงพยาบาลหนองจิก เห็นความสำคัญในการดำเนินงานดังกล่าวเพื่อให้ผ่านเกณฑ์เป้าหมายจึงได้สมัครเข้าร่วมและชักชวนภาคีเครือข่ายในพื้นที่ดำเนินงานตามแนวทางขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1000 วัน สู่ 2500 วัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผ่านเกณฑ์ Smart Kids 5 ด้าน
  1. ร้อยละ 85 ของเด็กอายุ 9,18,30,42 และ 60 เดือน มี พัฒนาการสมวัย
  2. ร้อยละ 5 ของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะโภชนาการผอม อ้วน เตี้ย
  3. ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
  4. ร้อยละ 20 ของเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองและพบภาวะโลหิตจาง
  5. ร้อยละ 50 ของเด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและวางแผนการรักษา
330.00 297.00
2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายผ่านเกณฑ์การประเมินในแต่ละองค์ประกอบระดับเบื้องต้นจากกรมอนามัย
  1. คลินิกฝากครรภ์ คลินิกสุขภาพเด็กดี ผ่านเกณฑ์การพัฒนางานในองค์ประกอบที่ 2
  2. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยผ่านเกณฑ์ในการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานในองค์ประกอบที่ 3
1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 330
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างความรู้ ความเข้าใจในงานมหัศจรรย์ 2500 วัน โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายในพื้นที่ตำบลตุยง เพื่อให้ความรู้เรื่อง การพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุขและงานบริการด้านคลินิกตามองค์ประกอบในแต่ละด้าน และจัดตั้งชมรมครอบครัวฯ จำนวน 2 ครั้ง    งบประมาณ     - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 50 คน x 60 บาท x 2 ครั้ง   เป็นเงิน 6,000 บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 2 ครั้ง   เป็นเงิน 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เครือข่ายมีองค์ความรู้ ความความใจในการปฏิบัติงาน
  • เครือข่ายสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ปกครองต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมองค์ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมองค์ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจใน Smart Kids 5 ด้านของเด็ก โดยจัดอบรมเครือข่ายผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กเรื่อง มหัศจรรย์ 2500 วัน จำนวน 1 ครั้ง - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่่ม จำนวน 50 คน x 60 บาท เป็นเงิน3,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองมีความรู้ที่ดีขึ้น
  2. ผู้ปกครองสามารถไปปฏิบัติได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองเด็กและให้บริการ Smart Kids 5 ด้าน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองเด็กและให้บริการ Smart Kids 5 ด้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองเด็กและให้บริการ Smart Kids 5 ด้าน     - คัดกรองภาวะโภชนาการและแปลผล
    - ให้บริการวัคซีนแก่เด็กในส่วนขาดตามสมุดบันทึกสุขภาพมารดาและเด็ก     - ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและตรวจพัฒนาการในเด็ก 5 กลุ่มวัย โดยเจ้าหน้าที่ในคลินิกเด็กสุขภาพดี ได้แก่ อายุ 9ด.,18ด.,30ด.,42ด. และ 60 เดือน
    -ให้ความรู้และตรวจอนามัยช่องปากและฟันในเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี งบประมาณ
    - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพในทั้ง 5 ด้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลและสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลและสรุปโครงการระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการและอาสาสมัครสาธารณสุขของตำบลตุยง งบประมาณ    - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม  จำนวน 15 คน x 60 บาท   เป็นเงิน  900 บาท    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 15 คน x 35 บาท x 2 มื้อ   เป็นเงิน  1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการและมีรายงานเป็นรูปเล่ม ส่งคณะกรรมการกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,450.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1. สร้างสร้างเครือข่ายเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในงานมหัศจรรย์ 2500 วัน
- ประชุมเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้เรื่อง การพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุขและงานบริการด้านคลินิก ตามองค์ประกอบในแต่ละด้าน และจัดตั้งชมรมครอบครัว
2. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจใน Smart Kids 5 ด้านของเด็ก
- ประชุมชี้แจงเครือข่ายผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กเรื่อง มหัศจรรย์ 2500 วัน
3. คัดกรองเด็กและให้บริการ Smart Kids 5 ด้าน
- คัดกรองภาวะโภชนาการและแปลผล - ให้บริการวัคซีนแก่เด็กในส่วนขาดตามสมุดบันทึกสุขภาพมารดาและเด็ก
- ตรวจพัฒนาการในเด็กอายุ 3-5 ปี - ตรวจอนามัยช่องปากและฟัน-ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง (ซีด)
4. สรุปและประเมินผลโครงการ โดยการประชุม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ตำบลตุยงดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินตำบลมหัศจรรย์ 2500 วัน จากกรมอนามัยในระดับเบื้องต้นและต่อเนื่อง
2. เด็กตำบลตุยงมีสุขภาพดี ปราศจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน


>