กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเชิงปฏิบัติการชะลอไตเสื่อมผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

หลักการและเหตุผล โรคไตวายเรื้อรัง ในระยะแรกมักไม่พบอาการผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไต มักตรวจพบเมื่อโรคดำเนินไปมากแล้ว หรือเมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage renal disease: ESRD) ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง หรืการผ่าตัดไต ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ จากการศึกษาในประเทศไทย พบว่า ความชุกของโรคไตวายเรื้อรังตั้งระยะที่ 3 ขึ้นไป มีประมาณร้อยละ 2.9จากประชากรทั้งประเทศประมาณ 70 ล้านคน หรืออยู่ในช่วง 2 ล้าน ถึง 9 ล้านกว่าคนสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรัง เกิดจากโรคเบาหวานร้อยละ 36.3 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 23.3 ภาวะทางเดินปัสสาวะอุดกั้น ร้อยละ 4.79 และโรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ ร้อยละ 2.43 และมีเพียงผู้ป่วยร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง จากข้อมูลสถานะสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ ปี 2566 มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 46 ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 597และผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตร่มกัน จำนวน 240 ราย ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนทางไต stage 1 – 5 จำนวน 27 รายคิดเป็นร้อยละ 3.05ของผู้ป่วยทั้งหมด และมีภาวะแทรกซ้อนทางไต stage 3 ขึ้นไป จำนวน 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 85 ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต และคิดเป็นร้อยละ 2.6 ของผู้ป่วยทั้งหมด หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางไตเพิ่มมากขึ้น ย่อมส่งผลต่อภาระค่ารักษาพยาบาล ทั้งส่วนภาครัฐ ผู้ป่วย และครอบครัวได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว โรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงจัดทำโครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยในผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมการรับประทานโซเดียม น้ำตาลและโปรตีนให้ถูกต้อง

75.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงมีความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สามารถควยคุมระดับความดันโลหิตได้ดีร้อยละ 25 ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีร้อยละ 25

0.00
2 เพื่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเรียนรู้นวัตกรรมอาหารหวานอาหารเค็ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดูแลตนเอง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้เรียนรู้นวัตกรรมและตรวจวัดความเค็มและความหวานจากอาหาร ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไตวายเรื้อรังรายใหม่ในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ไม่มีอัตราการเกิดผู้ป่วยไตวายเรื้อรังรายใหม่

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 75

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เตรียมกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวาน 2.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และอสม. พร้อมทบทวนความรู้ก่อนลงปฏิบัติงาน 3.ดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 4.จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามฐานนวัตกรรมลดหวาน ลดเค็ม และฐานจิ้มจุ่ม อาหาร ลดหวาน ลดเค็ม 5.ติดตามกลุ่มเสี่ยงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6.ส่งต่อในรายที่ผิดปกติพร้อมติดตามผลการรักษา รายการงบประมาณ -ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม 75 คน * 70บาทเป็นเงิน 5,250 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม 75 คน * 30บาท * 2 มื้อเป็นเงิน 4,500 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร ช่วงเช้า อบรมให้ความรู้ 1 ท่าน จำนวน 3 ชม. ชม.ละ600 บาทเป็นเงิน 1800บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร ช่วงบ่าย อบรมเชิงปฏิบัติการ 2 ท่านแบ่งตามฐาน 2 ฐาน ฐานละ 2 ชม.ชม.ละ 600 บาทเป็นเงิน 2400บาท
-ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.22.5 เมตร เป็นเงิน 450 บาท -ค่าวัสดุ อุปกรณ์ นวัตกรรมลดหวาน ลดเค็ม จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 1,800 บาท ประกอบด้วย 1.ฟิวเจอร์บอร์ดขนาดใหญ่ 2 แผ่น แผ่นละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท 2. ค่าวัสดุอาหารชุดสาธิต1 ชุด เป็นเงิน 1,065 บาท 3. สายรัดอุปกรณ์ชุดอาหาร 3 แพ็คเล็ก แพ็คละ 25 บาท เป็นเงิน 75 บาท 4. ถุงซิบล๊อค ขนาด 1320 ซม. จำนวน 1 แพ็ค แพ็คละ 40 บาท
5. เทปกาวผ้า ขนาด1.5 นิ้ว จำนวน 5 ม้วน ม้วนละ 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท 6. สติกเกอร์ตีเส้นเลเซอร์คละสี จำนวน 4 ม้วน ม้วนละ 30 บาท เป็นเงิน 120 บาท
-เครื่องมือตรวจความเค็มในอาหาร จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 1800 บาทเป็นเงิน3,600บาท -เครื่องมือตรวจความหวานในอาหาร จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 1800 บาทเป็นเงิน 1,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวาน มีพฤติกรรมปรับเปลี่ยนที่เหมาะสม
  2. ไม่เกิดโรคไตวานเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>