กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

1. นางชนิศาไชยประดิษฐ
2.นางมยุรา เบญจมามาศ

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส- พื้นที่ หมู่ที่ 2,4,5,8 ตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆในคนไทยและอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ สำหรับกลุ่มเสี่ยงตามแนวทางเวชปฎิบัติทำให้ตรวจพบความผิดปกติและรักษาได้ตั้งแต่ในระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือมะเร็งระยะเริ่มแรก ซึ่งพบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างชัดเจน
สำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงมีนโยบายสนันสนุนให้ประชาชนอายุ 50-70 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการป่วยสูงได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ เพื่อให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและเพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาตร์ที่ 2 ของสำนักงาน โดยดำเนินการร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
จากรายงานสรุปผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ปีงบประมาณ 2566 พบว่า มีผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัสหมู่ที่ 2 ตรวจคัดกรอง จำนวน 488 ราย พบผลผิดปกติ จำนวน 5 ราย ร้อยละ 1.02 หมู่ที่ 4 ตรวจคัดกรอง จำนวน 88ราย ไม่พบผลผิดปกติ หมู่ที่ 5 ตรวจคัดกรอง จำนวน 184 ราย พบผลผิดปกติ จำนวน 12 ราย ร้อยละ 6.52 และ หมู่ที่ 8 คัดกรอง จำนวน 110 ราย พบผลผิดปกติ จำนวน 3 ราย ร้อยละ 2.72
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ปีงบประมาณ 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาและป้องกันภาวะเสี่ยงจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในกลุ่มประชากรสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มี อายุ 50-70 ปี

 

0.00
2 เพื่อสนับสนุนการส่งต่อ และการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 580
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม และผู้เกี่ยวข้อง 10 คน จำนวน 50 คน
    จำนวน 2 มื้อๆละ 3๕ บาท จำนวน 2 รุ่น                เป็นเงิน  7,000   บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท จำนวน 2 รุ่น 
                                                                                                     เป็นเงิน  8,000   บาท
  • ไวนิลประชาสัมพันธ์ (ติดในหมู่บ้าน) ขนาด 1 x 2 ม. จำนวน 5 แผ่นๆละ 500 บาท
                                                                                                     เป็นเงิน  2,500   บาท                   - ค่าสัมมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บาท x 2 วัน
                                                                                                     เป็นเงิน  7,200   บาท             รวมเป็นเงิน 24,700  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
    ๒. พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ๓. สามารถลดอัตรการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงระยะลุกลาม
  2. ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การตรวจคัดกรองด้วย FIT test

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การตรวจคัดกรองด้วย FIT test
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าค้นหาตรวจคัดกรองด้วย FIT test จำนวน 500 คน อัตราจ่าย 50 บาท/ราย                                                                  เป็นเงิน 25,000  บาท
    • ค่าวัสดุชุดตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง จำนวน 500 ชุดๆละ 27 บาท                                 เป็นเงิน 13,500  บาท         รวมเป็นเงิน 38,500  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
    ๒. พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ๓. สามารถลดอัตรการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงระยะลุกลาม
  2. ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
๒. พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
๓. สามารถลดอัตรการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงระยะลุกลาม
4. ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงเพิ่มขึ้น


>