กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลคอลอตันหยง

ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์มีโอกาสเสียชีวิตสูง รวมถึงยังมีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดทำงานไม่ดี มีภาวะเลือดออกในสมอง มีภาวะเลือดออกในลำไส้ ส่งผลให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด บางรายจะมีพัฒนาการล่าช้า หากทารกรายนั้นมีความพิการ ครอบครัว และภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแล รักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปี จากการทำวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร พบว่า ประมาณร้อยละ 50 - 60 ของการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรค หรือ ภาวะแทรกซ้อน ขณะตั้งครรภ์ บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์เหล่านั้น ยังขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอด ก่อนกำหนด จึงเข้ามารับการรักษาล่าช้าเป็นเหตุให้การยับยั้ง ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดไม่ประสบผลสำเร็จ
องค์การบริหารส่วนตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตําบล มีหน้าที่ต้องทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาลงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงอันตรายของภาวะคลอดก่อนกำหนดและตัดสินใจไปพบแพทย์โดยเร็ว ส่งผลให้สามารถรักษาภาวะคลอดก่อนกำหนดได้อย่างรวดเร็วต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงมีครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของการตั้งครรภ์การฝากครรภ์

 

30.00 40.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ทราบถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด สามารถดูแลตัวเองได้ ในขณะตั้งครรภ์

 

30.00 40.00
3 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์เข้าระบบการฝากครรภ์กับสถานบริการสาธารณสุข

 

5.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) เสนอโครงการเพื่อพิจารณา 2) แต่งตั้งคณะทำงาน 3) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนการดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 ตุลาคม 2566 ถึง 15 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อชี้แจงวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อชี้แจงวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อชี้แจงวางแผนการดำเนินงาน
1)  ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
2)  สำรวจและจัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ในตำบลคอลอตันหยง 3)  รณรงค์ประสัมพันธ์ รับสมัครหญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อชี้แจงวางแผนการดำเนินงาน 1  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 16 คน ๆละ 25 บาท=400.- รวม 400.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

กิจกรรมที่ 3 เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1)  ทำแบบทดสอบวัดความรู้ ก่อนและหลัง อบรม 2)  อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่สมัครเข้าร่วมโครงการและกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 คน
3)  กิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติวิธีการออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์ ด้วยการ โยคะ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ 4)  กิจกรรมให้ยืมเสื่อโยคะ เพื่อนำไปออกกำลังกาย โยคะ ที่บ้าน

กิจกรรมที่ 2 เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด 1  ค่าวิทยากร  จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท =3,000.- 2  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่จำนวน 35 คน ๆละ 25 บาท2 มื้อ    =1,750.- 3  ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆละ 50 บาท1 มื้อ= 1,750.- 3  ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1*2 เมตร =500.- 4  ค่าสมุด ปากกา แฟ้ม จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท =750 5  เสื่อโยคะ จำนวน 10 แผ่นๆละ 185 บาท= 1,850.- รวม 9,600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2567 ถึง 25 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเฝ้าระวังและรายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเฝ้าระวังและรายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเฝ้าระวังและรายงานผลการดำเนินงาน 1)  ติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่เข้าระบบ ให้เข้าระบบการฝากครรภ์ 2)  หากมีรายคลอดก่อนกำหนด ลงเยี่ยมบ้าน และติดตามการดูแลผู้ป่วย ขั้นสรุปผลการดำเนินโครงการ 1)  สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผู้บริหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงมีครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของการตั้งครรภ์การฝากครรภ์
2. หญิงตั้งครรภ์ทราบถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด สามารถดูแลตัวเองได้ในขณะตั้งครรภ์
3. หญิงตั้งครรภ์สามารถเข้าระบบการฝากครรภ์กับสถานบริการสาธารณสุข


>