กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

กองสาธารสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. นายปฏิวัติเด่นอร่ามคาน
2. นายอับดุลเลาะสะละแม
3. นางสาวดาริยาขุนจันทร์

- โรงเรียน จำนวน 6 แห่ง(1) โรงเรียนบ้านตือระมิตรภาพที่ 172(2) โรงเรียนบ้านมือบา(3) โรงเรียนบ้านซรายอ(4) โรงเรียนบ้านกวาลอซีรา(5) โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซามา(6) โรงเรียนเกษมทรัพย์- วิทยาลัยการอาชีพสุไหงโกลก จำนวน 2 แห่ง- ศูนย์อบรมก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิด จำนวน 3 แห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือกออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหนะนำเชื้อสู่คน โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ซึม อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และตับโต ร่วมด้วยในผู้ป่วยบางรายอาจมีอการรุนแรงถึงกับมีเลือดออกในอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ช็อคและเสียชีวิตได้ ซึ่งโรคไข้เลือดออกนี้สามารถเป็นได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 2-10 ปี โดยพบว่ามีการระบาดได้เกือบตลอดทั่งปีเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาลแต่มักจะมีการระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ของทุกปี จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นที่ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากปัญหาหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีการป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 - ตุลาคม 2566 พบว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออกตามแพทย์วินิจฉัย จำนวนทั้งสิ้น 68 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 338.14 จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ในช่วง 2 ปีหลัง ช่วงปี 2565 -2566 อัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้น คืออัตราป่วยต้องไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกยังคงต้องมีการป้องกันและควบคุมอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการเตรียมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น โดยใช้มาตรการที่หลากหลาย ได้แก่ การกำจัดพาหนะนำโรคไม่ว่าจะเป็นการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือการพ่นหมอดควัน ปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกันไม่ให้ยุงกัด จึงจำเป็นต้องมีการเริ่มดำเนินการให้รวดเร็ว ให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค ซึ่งการควบคุมโรคนั้น จำเป็นจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง และอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ และประชาชน จึงจะควบคุมโรคได้
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่ามีอัตราการป่วยจำนวนหลายรายในแต่ละปี เมื่อเทียบดูจากสถติการเกิดโรค การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากมักพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมิถุนายน -สิงหาคม ของทุกปีในพื้นที่ตำบลปาเสมัส จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลปาเสมัสจึงได้จัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 95
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน /ศดม./ศพด. และศาสนสถาน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน /ศดม./ศพด. และศาสนสถาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างพ่นหมอกควัน ในโรงเรียน/ศดม./ศพด. และศาสนสถาน จำนวน 25 แห่ง        ทำการฉีดพ่น จำนวน 11 วัน ๆ ละ 300 บาท จำนวน 3 ครั้ง      เป็นเงิน     9,900   บาท
  • ค่าเชื้อเพลิงเบนซิล จำนวน 115 ลิตร                      เป็นเงิน   4,502.25  บาท
  • ค่าเชื้อเพลิงดีเซล จำนวน 330 ลิตร                  เป็นเงิน   9,880.20 บาท รวมเป็นเงิน  24,282.45 บาท  (สองหมื่นสี่พันสองร้อยแปดสิบสองบาทสี่สิบห้าสตางค์) หมายเหตุ : ค่าเชื้อเพลิงเบนซิล /ดีเซล ดูราคาตามปัจจุบัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 มีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
2 อัตราการป่วยด้วยโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรคลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24282.45

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และโดยรอบรัศมี 100 เมตร ร่วมกับสาธารณสุขในพื้นที่ (50 หลังคาเรือน)

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และโดยรอบรัศมี 100 เมตร ร่วมกับสาธารณสุขในพื้นที่ (50 หลังคาเรือน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างพ่นสารเคมี จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 300 บาท (ห่างกัน 7 วัน) จำนวน 50 หลังคาเรือน
      เป็นเงิน  30,000  บาท
  • ค่าเชื้อเพลิงเบนซิล จำนวน 50 ลิตร                  เป็นเงิน 1,957.50 บาท
  • ค่าเชื้อเพลิงดีเซล จำนวน 122 ลิตร                   เป็นเงิน 3,652.68 บาท
  • ค่าสเปรย์กำจัดยุง ขนาด 30 ml จำนวน 100 กระป๋องๆละ 102 บาท    เป็นเงิน 10,200 บาท
  • ค่าครีมโลชั่น ก.ย 15 ทากันยุง จำนวน 100 ขวดๆ ละ 65 บาท           เป็นเงิน 6,500 บาท
  • ค่าสารเคมีกำจัดยุง ขนาด 1 ลิตร จำนวน 5 ขวด ขวดละ 1,755 บาท    เป็นเงิน 8,775  บาท
  • ค่าทรายอะเบท ขนาด 50 กรัม ราคาถังละ 4,750 บาท จำนวน 1 ถัง      เป็นเงิน  4,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 มีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
2 อัตราการป่วยด้วยโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรคลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
65835.18

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 90,117.63 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 มีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
2 อัตราการป่วยด้วยโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรคลดลง


>